17 ธ.ค. 2019 เวลา 12:55 • ความคิดเห็น
🚗ขับรถอย่างไรไม่ให้หลงทาง...
⚓️เทคนิคการเป็น GPS ให้ตนเอง
❇️ แม้ว่าในปัจจุบันเราจะมี GPS เป็นเครื่องมือหลักที่สามารถนำทางเราไปได้ในทุกๆ ที่ แต่ในบางช่วงเวลาที่เราอาจไม่สามารถใช้มันได้เช่น คนที่ใช้แอปจากโทรศัพท์ หากบังเอิญแบตหมดหรือไปอยู่ในที่ที่ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต เราจะทำเช่นไร ????
❇️ คุณเชื่อไหมว่าตัวเรานี่ล่ะก็มีความสามารถจะเป็น GPS ที่ดีให้กับตัวเองได้ วันนี้จะมาแนะนำเทคนิคที่ผมใช้ มาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่าน หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
❇️ ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System คือ ระบบการระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่าทุกคนคงได้ใช้ GPS กันเป็นประจำมาอย่างสม่ำเสมออยู่แล้วในเวลาที่ต้องเดินทางไปไหนมาไหน
❇️ แต่เราลองคิดดูเล่นๆ ว่าหากไม่มี GPS ล่ะ แล้วเราจะเดินทางไปยังจุดมุ่งหมายของเราอย่างไรดี
❇️ ในฐานะที่ผมเองเป็นนักเดินทางตัวยงมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ไม่ใช่เพราะเที่ยวบ่อยหรอกนะครับ มีแค่แอบไปบ้างในบางเวลา (อิอิ) แต่การทำงานของผมเป็นงานที่ต้องเดินทางโดยรถยนต์อยู่เป็นประจำ GPS ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ได้ติดตัวมาจากการเดินทางเมื่อหลายปีก่อนที่ GPS ยังไม่เฟื่องฟู นั่นก็คือการค้นหาและจดจำเส้นทางให้ได้
มาปลุกสมองให้เป็น GPS กัน
❇️ วันนี้เลยอยากมาแชร์เทคนิคที่ผมใช้ในการจดจำทางให้เพื่อนๆ ชาว Blockdit ได้ลองสังเกต เผื่อในยามที่ไม่ได้พึ่งพา GPS ก็ยังสามารถเดินทางได้อย่างมั่นใจ อีกทั้งยังเป็นการช่วยปลุกสมองของเราให้มีความแอคทีฟ และฝึกความจำได้อีกด้วย
❇️ และอีกไม่กี่วันก็จะเข้าสู่เทศกาลปีใหม่แล้ว ซึ่งทุกคนต้องออกเดินทางไปท่องเที่ยวหรือกลับบ้านกันแน่ๆ อาจลองเอาเทคนิคของผมไปใช้กันดูครับ ว่าแต่มีอะไรบ้าง เรามาดูกันครับ
1. การสังเกตจากเลขถนน
❇️ ถนนในแต่ละสายที่เราสัญจรไปในทุกที่ต่างก็มีชื่อเรียกทุกเส้นทางอยู่แล้ว อาทิเช่น ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนแสงชูโต ถนนสืบศิริ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา ถนนมาลัยแมน ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี.......และอื่นๆ อีกมากมาย
❇️ แต่ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าของพื้นที่ หรือคนที่เดินทางบ่อยจริงๆ การจำชื่อถนนยาวๆ แบบนี้ก็คงสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้เราไม่น้อย ดังนั้นแทนที่เราจะต้องจำชื่อถนนยาวๆ ก็เปลี่ยนมาจำเลขถนนดูน่าจะง่ายกว่า
❇️ เลขถนนหรือหมายเลขทางหลวงแต่ละสาย สามารถดูได้จากหลายๆ จุด แต่ที่เห็นได้ชัดเจนและบ่อยที่สุดก็คือตามป้ายบอกเส้นทาง ซึ่งจะบอกเลขถนนไว้พร้อมกับจุดหมายปลายทางที่เราสามารถใช้ถนนสัญจรไปถึงได้เสมอ ยกเว้นเส้นทางที่ไม่ใช่ทางหลัก เช่น ถนนในหมู่บ้าน จะไม่มีหมายเลขถนนประจำเส้นทางนั้น
ป้ายตามถนนซึ่งบอกเส้นทาง
❇️ แต่ในบางจุดที่อยู่ตามข้างทาง อาจบอกแต่หมายเลขถนนเอาไว้ โดยไม่ได้เขียนบอกชื่อสถานที่เอาไว้
หลักกิโลเมตร
❇️ บนหลักกิโลเมตรที่อยู่ข้างทางเป็นอีกจุดหนึ่งที่เราสามารถสังเกตหมายเลขถนนได้เช่นกัน
❇️ หากใครที่ใช้ GPS ในการนำทางก็จะสามารถสังเกตเห็นได้ว่า มีเลขถนนโชว์อยู่ด้วย ซึ่งเลขถนนที่โชว์ใน GPS จะตรงกับป้ายที่บอกทาง
❇️ ผมขอยกตัวอย่างหมายเลขถนนกับชื่อถนนซึ่งเราน่าจะเคยได้ใช้สัญจรกันอยู่บ้างครับ เนื่องจากเป็น 4 ทางหลวงสายหลักของประเทศ
✅ ทางหลวงหมาย 1 หรือถนนพหลโยธิน เส้นทางสู่ภาคเหนือ
✅ ทางหลวงหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพ เส้นทางสู่ภาคอีสาน
✅ ทางหลวงหมายเลข 3 หรือถนนสุขุมวิท เส้นทางสู่ภาคตะวันออก
✅ ทางหลวงหมายเลข 4 หรือถนนเพชรเกษม เส้นทางสู่ภาคใต้
2. สังเกตจากชื่อแยกต่างๆ
❇️ นอกจากเลขถนนที่ทำให้เราสามารถจดจำเส้นทางได้ง่ายขึ้นแล้ว อีกจุดที่น่าจะเป็นตัวช่วยให้เราสังเกตได้ง่ายเหมือนเป็น Landmark ของถนนสายนั้นๆ ก็คือชื่อทางแยก ไม่ว่าจะเป็น 3 แยก, 4 แยก หรือ 5 แยก
❇️ หากเป็นเส้นทางในกรุงเทพ เราอาจคุ้นเคยกับชื่อแยกกันได้ไม่ยาก เช่น แยกลาดพร้าว แยกเกษตร แยกราชประสงค์ แยกรัชโยธิน แยกหลักสี่.....
ป้ายชื่อทางแยก
❇️ เส้นทางตามต่างจังหวัด ที่เป็นทางแยกหลักๆ ก็ล้วนมีชื่อแยกอยู่ด้วยเช่นกัน หากเราหมั่นสังเกตก็จะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ช่วยให้เราจดจำเส้นทางได้ดีขึ้น และหากมีใครสอบถามเส้นทาง เราก็จะสามารถบอกได้ชัดเจนมากขึ้น
3. สังเกตจากสถานที่สำคัญ หรือ Landmark บนเส้นทางนั้น
❇️ นอกจากเลขถนนหรือชื่อแยก อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถจดจำเส้นทางได้นั่นก็คือ จุดหลักๆ หรือสถานที่สำคัญๆ บนเส้นทางนั้นๆ ที่เราพอจอจดจำได้ เช่นหากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ติดถนน อันนี้เป็นจุดเด่นมากๆ ที่เราสังเกตได้ง่าย
❇️ยกตัวอย่างเช่น หากใครต้องการใช้เส้นทางขึ้นไปเที่ยวแถว อ. สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ก็อาจจะจดจำได้ว่าระหว่างเส้นทางหลักที่ผ่านไป เราจะผ่านเมืองมัลลิกา น้ำตกไทรโยคน้อย เป็นต้น ซึ่งหากเราตั้งใจใช้เส้นทางนี้ แต่ถ้าไม่ผ่านสถานที่ดีงกล่าว ก็อาจเป็นไปได้ว่าเรากำลังไปผิดทาง
แลนด์มาร์คที่เที่ยว ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดสังเกตได้ดี
❇️ นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ร้านอาหารที่มีชื่อเสียง หรือร้านกาแฟ ก็เป็นจุดที่ช่วยให้เราจดจำได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นเส้นทางไปสังขละบุรี จะผ่านร้านอาหารคีรีมันตรา
ร้านอาหารที่ดังๆ ช่วยเป็นแลนด์มาร์คในการจดจำ
❇️ หากเราใช้ GPS ก็จะมีการปักหมุด Location ของสถานที่เหล่านี้ไว้เช่นกัน
จุด Landmark ที่ใช้สังเกตใน Google Map
❇️ นอกจากที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟ สถานที่อื่นๆ เช่น สถานที่ราชการ วัด โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน หรืออาจเป็นบ้านที่อยู่อาศัยที่อาจมีลักษณะโดดเด่นในท้องที่นั้นๆ ก็ใช้เป็นจุดสังเกตของเราได้ดีเหมือนกัน
4. การสังเกตตำแหน่งจากหลักกิโลเมตร
❇️ หากใครที่เป็นนักบอกเส้นทางให้กับคนอื่นๆ ผมเชื่อได้ว่าตำแห่งของหลักกิโลเมตรเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้การสื่อสารในการบอกเส้นทางง่ายมากยิ่งขึ้น ผมยกตัวอย่างรูปนี้ครับ
สิ่งต่างๆ ที่หลักกิโลเมตรสามารถบอกได้
❇️ ในรูปด้านบน หากเราเห็นหลักกิโลนี้เราจะสามารถบอกได้หลายอย่างคือ
✅ ข้อ 1: ถนนเส้นที่คือทางหลวงหมายเลข 3018 ซึ่งเราสามารถใช้สัญจรไปยัง อ.สองห้อง และ อ.พล ได้
✅ ข้อ 2: บริเวณคือหลักกิโลเมตรที่ 5 หมายความว่า ตำแหน่งที่เราอยู่คือเราผ่านจุดเริ่มต้นของทางหลวงหมายเลข 3018 มาแล้ว 5 กม.
✅ ข้อ 3: จากตำแหน่งนี้ เราต้องเดินทางไปอีก 21 กม. จะถึง อ.สองห้อง
✅ ข้อ 4: จากตำแหน่งนี้ เราต้องเดินทางไปอีก 11 กม. จะถึง อ.พล
❇️ หากเรานัดกันกับเพื่อน หรือกรณีรถอาจจะเสีย และในบริเวณนั่นไม่มีจุดสังเกตหลักๆ อะไรเลย เราก็ใช้ตรงนี้เป็นจุดบอกตำแหน่งได้ เช่น “ตอนนี้เราจอดอยูที่ กม. 5” เราบอกแค่นี้ คนที่เรานัดก็สามารถสังเกตเส้นทางเพื่อติดตามเรามาได้สะดวกขึ้น
ชื่อสถานที่ที่สอดคล้องกับตำแหน่งถนน
❇️ในบางครั้ง ตำแหน่งของหลักกิโลเมตร ยังถูกนำมาใช้ตั้งชื่อให้จดจำง่ายๆ ของสถานที่สำคัญในพื้นที่อีกด้วย
❇️ สำคัญที่สุดในการเดินทาง คือเมาไม่ขับ ง่วงไม่ขับ ขับไม่โทร ใส่ใจเพื่อนร่วมทาง เดินทางปลอดภัยครับ
❇️ ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.google.com
❇️ แอดมินหวังว่าข้อมูลที่นำมาแชร์วันนี้ คงจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ บางไม่มากก็น้อยนะครับ ฝากกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ และแสดงความคิดเห็นเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ ขอบคุณมากๆ ครับ ❤️❤️❤️
# Happy Life 😊
# 17/12/2562

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา