30 ธ.ค. 2019 เวลา 02:42 • ถ่ายภาพ
สิ่งที่มือใหม่ต้องรู้และเข้าใจก่อนเริ่มต้นการถ่ายภาพ
2
ถ้าใครกำลังคิดจะเริ่มต้นถ่ายภาพ หรือ มีเพื่อนที่คิดจะเริ่มต้นถ่ายภาพ พื้นฐานสำคัญที่คุณต้องมี และ ต้องรู้จักตัวเอง คือสิ่งที่พวกเราจะบอกในบทความนี้
ลองสำรวจตัวเอง ดูว่ายังขาดสิ่งเหล่านี้ไหม ถ้าขาดพวกเราแนะนำเติมให้เต็มนะครับ แล้วคุณจะเป็นคนที่พร้อมสำหรับการเริ่มต้นถ่ายภาพที่สุด
สิ่งที่มือใหม่ต้องรู้และเข้าใจก่อนเริ่มต้นการถ่ายภาพ
1. รู้จักแสงให้มากที่สุด (Lighting)
รู้จักแสงให้มากที่สุด (Lighting)
เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ผมอยากให้มือใหม่ทุกคนเข้าใจ รู้จักมันให้ทะลุปรุโปร่ง แล้วคุณจะกลายเป็นคนที่สร้างสรรค์ภาพได้ทุกที่ทุกเวลา
สิ่งที่ผมพูดถึงนี้ คือ เรื่องของแสง ไม่มีแสงก็ไม่เกิดภาพ นี่คือธรรมชาติของภาพถ่าย คุณต้องรู้จักแสงให้ดีที่สุด เช่น แสงมีกี่แบบ แหล่งกำเนิดแสงมีอะไรบ้าง ทิศทางของแสงมีกี่แบบ การใช้อุปกรณ์กำเนิดแสงต่าง ๆ อุณภูมิของแสงมีลักษณะยังไง ฯลฯ
พอคุณรู้จักแสง และ ใช้งานแสงต่าง ๆ เป็น คุณจะสังเกตุภาพถ่ายที่เห็นอยู่รอบตัวคุณเป็น และ ถ่ายออกมาได้แบบนั้น ฝึกสังเกตุแสง เรียนรู้มันนะครับ
2. รู้จักสำรวจและสังเกตุเหตุการณ์รอบตัว (Observation & Notice)
รู้จักสำรวจและสังเกตุเหตุการณ์รอบตัว (Observation & Notice)
คุณต้องรู้จักมองสิ่งรอบตัวคุณอยู่สม่ำเสมอ เพราะ สิ่งที่คุณจะถ่ายอยู่รอบตัวคุณ ในที่นี้รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวเพื่อให้คุณเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับกับสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ด้วย
ที่คุณต้องทำแบบนี้เพราะว่าคุณจะได้เข้าใจ และ กลมกลืนกับสิ่งเหล่านั้น แล้วคุณอาจจะได้เห็นอะไรแปลกใหม่ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อนก็เป็นได้ แล้วคุณอาจจะได้ภาพที่น่าสนใจ และ สมบูรณ์ที่สุดมาอยู่ในกล้องของคุณ
3. รู้จักการรอและจับจังหวะที่ดีที่สุด (Wait a best moment)
รู้จักการรอและจับจังหวะที่ดีที่สุด (Wait a best moment)
ทักษะนี้เป็นทักษะทุกคนที่กำลังเริ่มต้นควรมีเป็นพื้นฐานเลย การรอคอย จังหวะที่ดี คือ สิ่งที่จะทำให้เราถ่ายทอดสิ่งที่เราคิดออกมาได้ชัดที่สุด ถ้าคุณใจร้อน ภาพที่ได้มาก็จะไม่สมบูรณ์ที่สุด ใจเย็น และ รอคอย
หากภาพนั้นเกิดจากสถานการณ์ฉับพลัน คุณก็ต้องพร้อมที่จะถ่ายมัน ซึ่งการเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ ก็เป็นสิ่งที่คุณควรมีเช่นกัน หากสไตล์ภาพของคุณเป็นแบบถ่าย Candid ถ่าย Street ถ่ายภาพข่าว เป็นต้น
4. การถ่ายทอดเรื่องราวในหัวให้ออกมาเป็นภาพ (Story telling)
การถ่ายทอดเรื่องราวในหัวให้ออกมาเป็นภาพ (Story telling)
ภาพที่ดีต้องเล่าเรื่อง และ ถ่ายทอดสิ่งที่ผู้ถ่ายคิดทั้งหมดออกมาให้คนอื่น ๆ เห็นได้ ทักษะที่ต้องมีเลย คือ การถ่ายทอด Final image ในหัวของเราเอาออกมาถ่ายทอดในรูปแบบของภาพ โดย Final image นั้นเกิดจากสิ่งที่เราสังเกตุ มองเห็น ประมวลผลว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้าควรเป็นแบบไหน จงเล่าภาพเหล่านั้นออกมา
บางคนใช้การเล่าเรื่องราว สิ่งเขาคิดออกมาโดยการจัดฉาก หรือ ออกแบบขึ้นมา บางคนรอเวลาที่มันจะเกิดขึ้น อยู่ที่คุณแล้วว่าจะให้ออกมาแบบไหน
5. ทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ตนเองมีให้ดีที่สุด (Device Expertisment)
ทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ตนเองมีให้ดีที่สุด (Device Expertisment)
สิ่งนี้คือสิ่งที่ต้องใช้เวลา อย่าใจร้อน ลองสมมติว่ากล้อง คือ คนเหมือนเรา กว่าเราจะทำความรู้จักใครซักคนจนรู้จักคน ๆ นั้นทั้งหมด ยังต้องใช้เวลานาน บางคนเป็นเดือน บางคนเป็นปี จงค่อย ๆ เรียนรู้ทำความรู้จักกล้องของคุณ ฝึกฝนใช้ไปเรื่อย ๆ ลองใช้โหมดนี้บ้างในการถ่ายภาพ ลองกดปุ่มนั้นดูมันจะเกิดผลยังไง
เมื่อคุณใช้งานกล้องคุณ และ รู้จักมันอย่างเต็มที่คุณจะรู้ข้อจำกัดที่กล้องคุณทำได้ แล้วคุณจะรู้ว่าสถานการณ์ไหนถ่ายได้ ถ่ายไม่ได้ ภาพแบบไหนอุปกรณ์เราเอาอยู่
6. รู้จักการจัดวางองค์ประกอบของภาพ (Composition)
รู้จักการจัดวางองค์ประกอบของภาพ (Composition)
การจัดวางองค์ประกอบภาพ เป็นทักษะที่ต่อยอดมาจากทักษะการสังเกตุสิ่งรอบตัว เมื่อเรารู้แล้วว่าเราจะถ่ายอะไร ที่ไหน อย่างไร การจัดองค์ประกอบภาพนี่แหละ คือ รูปแบบการนำเสนอเรื่องราวเหล่านั้น ในมุมมองของเราให้ดูน่าสนใจมากขึ้น เช่น กฎ 3 ส่วน , ตาราง 9 ช่อง , การสะท้อนภาพ , การสมมาตร , การสร้าง Pattern , การสร้างกรอบภาพ ฯลฯ
7. รู้จักแก้ไข และ ปรับแต่งภาพ (Editing & Processing images)
รู้จักแก้ไข และ ปรับแต่งภาพ (Editing & Processing images)
ภาพทุกภาพที่เราถ่ายมันมักจะไม่สมบูรณ์ เมื่อเวลาผ่านไป ลองคิดดูนะครับ ภาพที่คุณถ่าย ณ เวลาหนึ่ง ตอนคุณถ่าย คุณภูมิใจมาก แสงตรง มุมภาพดี Perfect สุด ๆ แต่พอเรากลับมาที่บ้านมานั่งดูรูปอีกที ทำไมคุณถึงยังปรับแต่งภาพ ในคอม หรือ ในแอพฯ แต่งภาพอีก
เพราะฉะนั้นทักษะการแก้ไข ปรับแต่งภาพ เป็นเรื่องจำเป็นมาก แม้ว่าคุณถ่ายภาพไม่เก่ง แต่งแก้ไขเก่ง คุณก็จะได้ภาพที่สมบูรณ์พอ ๆ กัน
โปรแกมแก้ไข/แต่งภาพที่คุณจำเป็นต้องใช้งานเป็น อย่างน้อย ๆ 1 โปรแกรม เช่น Photoshop , Lightroom , Snapseed , VSCO ฯลฯ
8. หาเอกลักษณ์ภาพของตนเองให้เจอ (My Character images)
หาเอกลักษณ์ภาพของตนเองให้เจอ (My Character images)
ภาพของเราก็ต้องเป็นเราเท่านั้นที่ถ่ายได้ จริงไหม ! ภาพทุกภาพที่คุณเห็นมันมีกลิ่นอายความเป็นตัวเองของผู้ถ่ายอยู่ จงหามันให้พบแล้วภาพของคุณจะไม่เหมือนใคร
ซึ่งวิธีที่จะหาให้เจอ มันมักจะไม่ง่าย ลองสังเกตุจาก สิ่งที่ตนเองชอบถ่าย เวลาถ่ายแล้วยิ้ม มีความสุขกับมัน มุมภาพที่ใช้ แสงที่ใช้ ค่า Setting ของอุปกรณ์ ท่าทางของแบบ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ประกอบเป็นเอกลักษณ์ภาพของคุณ จดจำมันและฝึกฝนจนชำนาญ
9. ศึกษาหาความรู้ และ เทคนิคใหม่ ๆ อยู่เสมอ (Don't stop Learning)
2
ศึกษาหาความรู้ และ เทคนิคใหม่ ๆ อยู่เสมอ (Don't stop Learning)
การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด หากตัวคุณคิดว่ารู้ทุกอย่างหมดแล้ว นั่นคือ ความล้มเหลวที่สุด ไม่ว่าคุณจะรู้จักพื้นฐานดีแค่ไหน รู้เทคนิคมากมายเพียงใด ในทุก ๆ วันมักจะมีเรื่องใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพราะฉะนั้น การถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ ก็เช่นกัน
1
จงสนุกไปกับมันและพัฒนาทักษะของตนเองต่อไป แล้วเราจะเป็นดาบที่แหลมคมพร้อมสำหรับฟาดฟันกับศัตรูอยู่เสมอ
หากเพื่อน ๆ มีคำถามสงสัยตรงไหนทิ้งคอมเมนต์ถามกันเข้ามาได้เลยนะครับ ผมจะเข้ามาตอบให้แน่นอนครับ
ถ้าหากบทความนี้พอจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ฝากกดแชร์และติดตามเป็นกำลังให้พวกเราด้วยนะครับ
แล้วเรื่องกล้องและการถ่ายภาพจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป " Camera So Easy เรื่องกล้องเรื่องง่าย "
โฆษณา