3 ม.ค. 2020 เวลา 05:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ญี่ปุ่นร่วมมือกับนาซ่า เตรียมส่ง"นักบินอวกาศญี่ปุ่น" ไป "ดวงจันทร์"
ล่าสุด อีกไม่นานนับจากนี้ ญี่ปุ่นกำลังจะกลายเป็นประเทศที่สองของโลก ที่มีนักบินอวกาศเหยียบดวงจันทร์
ประเภทบทความ : บทความด้านอวกาศและดาราศาสตร์
ญี่ปุ่นร่วมมือกับนาซ่า เพื่อส่ง"นักบินอวกาศญี่ปุ่น" ไปยังดวงจันทร์
นี่ถือเป็นมิติใหม่ด้านอวกาศของญี่ปุ่น ที่เตรียมส่งนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ ภายใต้ความร่วมมือและสนับสนุนจากองค์การนาซ่า
ซึ่งจะทำให้ญี่ปุ่นยกระดับตัวเองขึ้นมาเคียงบ่าเคียงไหล่กับสองมหาอำนาจด้านอวกาศแห่งเอเซียอย่าง จีนและอินเดีย ซึ่งมีความก้าวหน้าด้านการสำรวจอวกาศเป็นอย่างมาก ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา
สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า จิม ไบรเดนสไตน์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) เสนอว่าจะใช้จรวดสหรัฐส่งนักบินอวกาศญี่ปุ่นไปยังดวงจันทร์
จิม ไบรเดนสไตน์ ได้เสนอในระหว่างการเยือนญี่ปุ่นอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือนกันยายน 2019 ซึ่งเขาได้พบกับผู้นำอุตสาหกรรมอวกาศรวมถึงหัวหน้าคณะกรรมการนโยบายอวกาศของญี่ปุ่น
เขาได้ให้กำลังใจผู้ร่วมประชุมเพื่อพิจารณาอนาคตที่นักบินอวกาศญี่ปุ่นจะได้เข้าร่วมกับนักบินอวกาศอเมริกาในการสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์
ทางนาซ่ามีแผนที่จะส่งนักบินอวกาศกลับสู่ดวงจันทร์อีกครั้งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ อาร์ทิมิส ในปี 2024 ก่อนที่จะไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ในการพิชิตดาวอังคารในปี 2030 โดยใช้สถานีอวกาศวิจัยในวงโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ลูน่าร์เกตเวย์" เป็นจุดเริ่มต้น
จนถึงขณะนี้มีเพียงประเทศเดียวในโลกที่มีนักบินอวกาศบนดวงจันทร์คือสหรัฐอเมริกาจากโครงการอะพอลโล
ประธานาธิบดีทรัมป์มุ่งมั่นที่จะส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ทุกปีโดยจะเป็นนักบินอวกาศชายและหญิงคู่แรกในปี 2024
แม้ว่าทางสหรัฐจะไม่กำหนดเวลาว่านักบินอวกาศญี่ปุ่นบนดวงจันทร์คนแรกจะเดินทางเมื่อไหร่ แต่คาดการณ์กันว่าในภารกิจที่ 2 ในปี 2025 เป็นต้นไปอาจจะมีความชัดเจน
สำนักงานองค์การวิจัยอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) 📷 wikipedia
ในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ ได้พบกับประธานาธิบดีทรัมป์เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกันในการสำรวจอวกาศ
4 เดือนต่อมา องค์การนาซาและสำนักงานสำรวจอวกาศของญี่ปุ่นประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการภายใต้โครงการ "อาร์ทิมิส"
โดยญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือสหรัฐในการสร้างเกตเวย์ ซึ่งจะเป็นสถานีอวกาศใหม่ที่จัดตั้งขึ้นบริเวณใกล้เคียงของดวงจันทร์
การเคลื่อนไหวนี้เป็นการลดบทบาทความทะเยอทะยานทางอวกาศของจีนซึ่งปัจจุบันจีนกำลังวาวแผนที่จะใช้ดวงจันทร์เป็นด่านหน้าเชิงกลยุทธ์ในด้านอวกาศ ซึ่งจีนวางแผนจะสร้างฐานดวงจันทร์ของตัวเองภายในปี 2030
ซึ่งหากโครงการนี้เป็นจริงจะทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ 2 ในประวัติศาสตร์ด้านอวกาศ ต่อจากสหรัฐอเมริกาที่ มีนักบินอวกาศ เหยียบดวงจันทร์
Toyota moon rover ยานสำรวจพื้นที่ดวงจันทร์ จากองค์การอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) 📷 toyota
สหรัฐเชื่อว่าดวงจันทร์จะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ในอนาคตอันใกล้ทั้งในแง่ของเศรษฐศาสตร์และความมั่นคง
ภารกิจของสหรัฐในรอบนี้ต่างจากภารกิจโครงการอะพอลโลในช่วงปี 1962 ถึง 1972 ซึ่งจะเป็นการลงจอดโดยมีสถานที่ตั้งในการสร้างสถานีฐานดวงจันทร์ที่จะช่วยให้นักบินอวกาศสามารถอยู่ต่อเนื่อง
แผนการส่งนักบินอวกาศไปลงบนพื้นผิวดวงจันทร์คาดว่าญี่ปุ่นจะต้องใช้งบประมาณมากขึ้นซึ่งจะต้องใช้เงินราวถึง 213 พันล้านเยนภายในงบประมาณปี 2024
ซึ่งปัจจุบันญี่ปุ่นมีงบประมาณประจำปีสำหรับกิจกรรมด้านอวกาศอยู่ที่ 35 พันล้านถึง 40 ล้านเยน (322 - 368 ล้านดอลลาร์) ตามรายงานในเดือนตุลาคม 2019
1
Hayabusa2 ความสำเร็จในภาระกิจติดตามดาวหางของญี่ปุ่น 📷 thaiware
ซึ่งตามแผนการที่วางไว้เดิม ญี่ปุ่นมีแผนที่จะส่งนักบินอวกาศไปดวงจันทร์ภายในปี 2030 แต่การร่วมมือกับอเมริกาอาจเป็นการย่นระยะเวลาสำหรับภารกิจนี้
ปัจจุบันภารกิจสำรวจอวกาศของอินเดียและจีนได้ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และโครงการนี้จะทำให้ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเคียงบ่าเคียงไหล่เป็นอีกประเทศชั้นนำในเอเชียที่ถือว่ามีศักยภาพด้านการสำรวจอวกาศในระดับสูง
ฮิโรชิ ยามากาวะประธาน JAXA และประธานนาซ่าจิม ไบรเดนสไตน์ลงนามในแถลงการณ์ร่วม 24 ก.ย.2019 📷 NASA  
ติดตาม สาระอัปเดต เพิ่มเติมได้ทาง
➡️ Twitter
➡️ Facebook
➡️ Youtube
➡️ Instagram
➡️ Blockdit
➡️ Tik Tok
➡️ Line
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา