5 ม.ค. 2020 เวลา 12:01 • การศึกษา
🧐 เก็บไว้ทุกสิ่ง ทิ้งไม่ได้สักอย่าง... คุณกำลังเป็นโรคจิต Hoarding Disorder หรือเปล่า ?
1
เคยไหมคะ ซื้ออะไรมาก็ตาม พอจะทิ้งแล้วเกิดรู้สึกเสียดายขึ้นมา ตัดใจทิ้งไม่ได้เลยสักอย่าง
1
👉🏻 " กล่องนี่น่าเสียดายจัง น่าจะเก็บไว้ใส่ของได้นะ ถุงใบนี้ก็สวยดีนะ ไม่ทิ้งดีกว่า เผื่อในอนาคตไว้ใช้ใส่ของต่อได้ เก็บๆยัดๆไว้แถวนี้ก่อนดีกว่า..."
ไม่ว่าอะไรก็ทิ้งไม่ได้สักอย่าง เพราะคิดว่าสักวันหนึ่งคงได้หยิบขึ้นมาใช้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้วผ่านไปอีก ผ่านไปจนลืมว่ามีของชิ้นนั้นอยู่
1
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ของที่ไม่ได้ใช้มีเยอะเกินไป รก ระเกะระกะเต็มบ้าน ตรงโน้นก็เจอ ตรงนี้ก็มี ไม่เป็นที่เป็นทาง จนเบียดเบียนพื้นที่ของคนในบ้าน
ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นกับคุณ คุณกำลังเข้าข่ายโรค Hoarding Disorder แล้วล่ะค่า 😲
เก็บใจไว้ในลิ้นชัก คงไม่เจอแล้วรักแท้ 😜 แฮร่ นี่มันเพลง 🎵
Hoarding Disorder หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
"โ ร ค ช อ บ เ ก็ บ ส ะ ส ม ข อ ง เ ก่ า "
คนที่ป่วยเป็นโรคนี้ จะรู้สึกอยากเก็บของทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ ตัดใจทิ้งอะไรไม่ได้สักอย่าง รักพี่เสียดายน้อง รักลุงเสียดายป้า รักย่าเสียดายปู่ อยู่แบบนั้น ท่าทางจะรักเยอะนะคะเนี่ย 😂
และแรงจูงใจที่ทำให้อยากเก็บของทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไว้ ก็เพราะคิดว่าของเหล่านั้นยังมีประโยชน์ น่าจะสามารถเก็บไว้ใช้งานในอนาคตได้ ทั้งที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าในอนาคตจะมีโอกาสได้ใช้มันจริงๆหรือเปล่า
1
🧐 คนทั่วไปก็ชอบเก็บของที่คิดว่าน่าจะได้ใช้ประโยชน์อีกเอาไว้ไม่ใช่เหรอ ไม่เห็นจะแปลก?
1
👉🏻 สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้ว่าคนนี้ป่วย แตกต่างจากคนปกติแน่ๆ คือ เขามักจะมีปัญหาในการแยกกลุ่มของสิ่งของออกจากกันค่ะ
เขาจะเก็บทุกสิ่งทุกอย่างไว้ปนกัน ไม่มีการจัดระเบียบสิ่งของไว้เป็นหมวดหมู่ จนในที่สุดนึกขึ้นได้อีกทีก็รกบ้าน หรือกินพื้นที่ใช้สอยในบ้านไปหมดแล้ว
เก็บไว้จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง และคนอื่นๆในครอบครัว บางอย่างยังส่งกลิ่นเหม็นรบกวนไปถึงบ้านข้างๆ อีกด้วย 😰
ซึ่งแตกต่างจากคนทั่วไป ที่จะเก็บสิ่งของไว้เป็นหมวดหมู่เป็นระเบียบมากกว่า และตัดสินใจได้ว่า สิ่งไหนควรจะต้องทิ้งไปบ้าง และสิ่งไหนควรจะเก็บไว้ใช้ต่อ
👉🏻 ข้อง่ายๆที่สังเกตได้คือ " คนปกติ จะเก็บไว้แค่จำนวนที่พอเหมาะ อะไรที่พอจะทิ้งได้ก็ทิ้ง " ไม่ปล่อยให้เบียดเบียนพื้นที่ใช้สอยอื่นๆภายในบ้านมากเกินไปนั่นเองค่ะ 😊
จริงๆโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่มาที่ไปแน่ชัดนะคะ แต่บางผลวิจัยบอกว่า พันธุกรรมก็อาจจะมีส่วนค่ะ เพราะนิสัยแบบนี้มักจะถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้
แต่ส่วนตัวเนิ้ตคิดว่า อาจจะมีผลมาจากการปลูกฝังนิสัยรักการเก็บมาตั้งแต่ตอนเด็กๆก็ได้นะคะ
และอีกหนึ่งปัจจัยที่กำลังอยู่ในช่วงวิจัยเช่นกันก็คือ ความบกพร่องทางสมองบางส่วน ซึ่งถ้าพบว่าสมมติฐานเรื่องนี้จริง ก็จะสามารถนะบุชี้ชัดได้ว่า คนๆนั้น ป่วยเป็นโรค Hoarding Disorder แน่นอน
สำหรับสิ่งของที่คนที่เป็น Hoarding Disorder ชอบเก็บไว้ ก็มักจะเป็นสิ่งของทั่วไปค่ะ ซึ่งมักจะไม่ได้มีค่าหรือมีราคาอะไรด้วยซ้ำ
ตัวอย่างเช่น หนังสือที่อ่านแล้ว นิตยสารต่างๆ เสื้อผ้าที่ใส่ไม่ได้แล้ว ขวดพลาสติก ขวดน้ำ ถุงพลาสติก ที่ใช้แล้ว เป็นต้น
ดูจากตัวอย่างที่ยกมาแล้ว ทำไมรู้สึกเหมือนว่าตัวเองจะป่วยนะ 55555
1
หนังสือที่เก็บๆไว้ ตัดใจทิ้งไม่ได้สักเล่มเลยจริงๆ 😂😂😂
🧐 แนวทางการรักษา
โรคนี้ถ้าเกิดจากความบกพร่องทางสมองก็สามารถรักษาได้ด้วยยาค่ะ คือต้องได้รับยาที่จะช่วยปรับสารเคมีในสมองเกี่ยวกับวิธีคิด
และอีกวิธีคือรักษาได้ด้วยการบำบัด พฤติกรรมและความคิด เนื่องจากคนที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาในเรื่องของการแยกประเภท และมีความผิดปกติทางด้านความคิดค่ะ
ที่สำคัญมากที่สุด ครอบครัวและคนรอบข้างต้องอยู่เคียงข้างและให้กำลังใจมากๆด้วยนะคะ การว่ากล่าวหรือตำหนินี่ควรงดเลยค่า
1
สิ่งที่ควรทำคืออธิบายเหตุผลและปรับแนวคิดเกี่ยวกับการแยกของที่ควรทิ้งหรือควรเก็บ เชื่อว่าไม่นานคนที่เป็นโรคนี้จะสามารถกลับมาเป็นปกติได้แน่นอนค่า
สำหรับคนที่คิดว่าตัวเองเป็นโรคนี้อยู่ อยากบอกว่าคุณมีเพื่อนอีกเยอะค่ะ หนึ่งในนั้นคือเนิ้ตเอง
😂😂😂😂😂😂
🙏🏻 ขอบคุณข้อมูลจาก :
รายการพบหมอรามา ช่วง Big Story “
วันที่ 10 มีนาคม 2560
โดย ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
#เนิ้ต #พยาบาลวิชาชีพอิสระ💉
โฆษณา