13 ม.ค. 2020 เวลา 04:20 • ธุรกิจ
5 กลยุทธิ์การตลาด เจาะกลุ่มลูกค้า Gen Z
Gen Z คือคนที่เกิดช่วง 1997 – 2010s นั่นหมายความว่าคน Gen Z ที่อายุเยอะที่สุด ณ ตอนนี้ คืออายุ 23 ปี เรียนจบแล้ว ทำงานแล้ว มีเงินเป็นของตัวเองแล้ว แน่นอนว่าเมื่อคนเปลี่ยน ตลาดก็เปลี่ยน มาดูกันว่าถ้าจะเจาะกลุ่มลูกค้า Gen Z กลยุทธ์การตลาดใดสำคัญที่สุด
1. เน้นขายประสบการณ์ (ที่จะได้รับ) มากกว่าตัวสินค้า
.
คน Gen Z ไม่ชอบการ Hard Sells คนกลุ่มนี้โตมากับอินเตอร์เน็ต รู้ว่าอะไรคือการตลาด รู้ว่าอะไรคือการพยายามขายของ ฉะนั้นการจะมานำเสนอว่าสินค้าเราดีอย่างไรคงใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แต่สิ่งที่ทำได้คือการบอกว่าสินค้าเราจะให้ประสบการณ์อะไรบ้าง
.
เช่น Brandy Melville บริษัทขายเสื้อผ้าจากอิตาลี ที่ไปดังตลาดแตกที่แคลิฟอร์เนีย เพราะไม่เน้นการขายเสื้อผ้าแบบคอลเลคชั่น แต่เน้นการโปรโมทเสื้อผ้ากับการไปทะเล จนทำให้คนติดภาพว่าถ้าไปทะเล (หรือพักผ่อนชิลๆ) ต้อง Brandy Melville
2. เน้นวิดีโอ เอะอะอะไร เอาวิดีโอไว้ก่อน
.
เคยสังเกตไหมครับว่าพักหลังๆ แพลตฟอร์มสำหรับวิดีโอได้รับความนิยมเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น YouTube, Tiktok หรือ Instagram story โดยก่อนนี้ Google ได้จัดทำผลสำรวจ และพบว่า YouTube เป็นแพลตฟอร์มที่คน Gen Z นิยมใช้มากที่สุดถึง 80% ซึ่งนอกจากพฤติกรรมการใช้ของคน Gen Z เองแล้ว ความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ยังทำให้วีดีโอได้รับความนิยมสูงกว่าเนื้อหาประเภทอื่นๆ ด้วย
.
เช่น Red Bull ร่วมมือกับ Vloggers ดังๆ ทั่วโลก จัดทำวิดีโอท่องเที่ยวเชิง extreme เช่น ปีนผา ล่องแก่ง เพื่อโปรโมต Red Bull ผ่านวิดีโอ แถมยังสอดคล้องกับกลยุทธ์การตลาดในข้อที่ 1 ที่เน้นการนำเสนอประสบการณ์ด้วย
3. Influencers ยังมี แต่ต้องเป็น Micro Influences
.
แบรนด์แอมบาสเดอร์ หรือ Influences ระดับท็อปๆ ใช้กับคน Gen Z ไม่ค่อยได้ เพราะรู้สึกเข้าไม่ถึง อยู่ไกลกัน ขาดประสบการณ์ร่วม ต่างกับ Influencers ระดับ micro ที่คน Gen Z รู้สึกเข้าถึงและแชร์ประสบการณ์ร่วมได้ โดย Micro influencers ที่ว่านี้ คือ Influencers ที่มีผู้ติดตามในช่วง 1,000-10,000 คน และอาจจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จากการทดลองใช้ Micro influencer กับ Gen Z พบว่าได้ยอด Engagement เพิ่มขึ้นถึง 60%
.
เช่น แบรนด์เครื่องสำอาง e.l.f ที่เน้นการใช้ Micro influencers ในแต่ละประเทศในการโปรโมตสินค้า โดยมีการจัดแคมเปญให้เหล่า Micro influencers มาลองสินค้าร่วมกัน เกิดการบอกต่อและการแชร์ประสบการณ์ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง
1
4. มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ามากขึ้น
.
ผลการศึกษาพบว่าคน Gen Z จำนวน 76% อยากให้แบรนด์สินค้ามาตอบเวลาที่รีวิวสินค้าให้ ไม่ว่าจะเป็นรีวิวดีหรือตำหนิก็ตาม โดย 41% บอกว่าก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้าอะไร จะชอบอ่านรีวิวก่อนประมาณ 5 ที่ และถ้าเห็นว่าแบรนด์นั้นๆ มีปฎิสัมพันธ์กับลูกค้า ก็จะรู้สึกด้านบวกมากขึ้น รู้สึกว่าแบรนด์ไม่ทิ้งลูกค้า และเข้าถึงได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นการตอบโต้เหมือนมนุษย์จริงๆ ไม่ใช่ตอบแบบโรบอต หรือขอไปที แบบก็อบวางๆ
.
เช่น ASOS มีแอคเค้าพิเศษบน Twitter ชื่อ ASOS Here to Help สำหรับแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า เวลามีคนมาบนทวิตเตอร์ ทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดีขึ้น
1
5. Privacy มอบความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
.
คน Gen Z ให้ความสำคัญกับ Privacy หรือความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างมาก ผลการสำรวจโดย IBM พบว่าคน Gen Z ส่วนใหญ่รู้สึกไม่สบายใจหากจะต้องแชร์ข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์ แต่ถ้าแบรนด์นั้นสร้างความมั่นใจได้ว่าข้อมูลจะปลอดภัย และไม่มีการเอาไปใช้ที่ไหนต่อ คน Gen Z จะรู้สึกสบายใจ และพร้อมที่จะแชร์ถึง 61%
.
ฉะนั้นแล้ว หากมีการเก็บข้อมูลใดๆ จากคน Gen Z ต้องแสดงถึงความโปร่งใส เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคน Gen Z ด้วย
รูปประกอบ: Mediakix
โฆษณา