14 ม.ค. 2020 เวลา 01:00
ปี 64 ไทยจะไม่ใช่แค่ “สังคมสูงวัย” แต่จะเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์”
โดยคำว่า “สังคมสูงวัย” กับ “สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์” นี้ไม่ใช่การเล่นคำ แต่เป็นการบ่งบอกว่าประเทศไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุเกินกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ แต่ก่อนที่เราจะไปดูตัวเลขสถิติต่างๆ เราไปดูกันก่อนว่า “ผู้สูงอายุ” ในที่นี้ หมายถึงใครบ้าง
3
“ผู้สูงอายุ” ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ หมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ในบางประเทศที่เจริญแล้ว อาจมองว่าคนที่อายุ 60 ปียังไม่ใช่ผู้สูงอายุ เพราะยังมีความสามารถและยังทำงานได้ จึงเริ่มนับคนที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูงอายุแทน
ส่วนในประเทศไทยของเรานั้น ยังยึดที่อายุ 60 ปี ตาม พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ ปี 2546 มาตรา 3 ที่ระบุว่าผู้สูงอายุ คือบุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย
ย้อนกลับไปข้างต้นที่เราพูดกันถึงเรื่อง “สังคมสูงวัย” เมื่อเราพูดถึงคำนี้ เราจะหมายถึงสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุ (หรือคนที่อายุ 60+) เทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ
โดยเราสามารถแบ่งสังคมสูงวัยออกได้เป็น 3 ระดับดังนี้
1. สังคมสูงวัย
(มีคนอายุ 60+ เกิน 10% ของประชากรทั้งหมด หรือ ถ้าใช้เกณฑ์อายุ 65+ คือมีสัดส่วนมากกว่า 7% ของประชากรทั้งหมด)
2. สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์
(มีคนอายุ 60+ เกิน 20% ของประชากรทั้งหมด หรือ ถ้าใช้เกณฑ์อายุ 65+ คือมีสัดส่วนมากกว่า 14% ของประชากรทั้งหมด)
3. สังคมสูงวัยระดับสุดยอด
(มีคนอายุ 60+ เกิน 28% ของประชากรทั้งหมด หรือ ถ้าใช้เกณฑ์อายุ 65+ คือมีสัดส่วนมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด)
ปัจจุบัน ตัวเลขสถิติประชากรศาสตร์ของไทยระบุว่าประเทศไทยเป็น “สังคมสูงวัย” ด้วยสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 16% และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2564 หรือปีหน้าที่จะถึงนี้ ไทยจะก้าวเข้าสู่ “สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์” และในอีก 10 ปีหลังจากนี้ หรือในปี 2574 ไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด”
อันที่จริงไม่ใช่เฉพาะที่ไทยเท่านั้น ทั่วโลกก็มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน นั่นจึงทำให้บางประเทศขยับเกณฑ์อายุเป็น 65+ ปี เพราะเกี่ยวเนื่องกับจำนวนแรงงานในตลาด รวมถึงการจัดการสวัสดิการของรัฐด้วย
เมื่อพิจารณาสาเหตุ พบว่ามาจากสองสาเหตุใหญ่ๆ นั่นคือ
1. เทคโนโลยีทำให้คนมีอายุยืนขึ้น
(แม้สังคมจะรู้สึกว่าคนอายุสั้นลงด้วยโรคต่างๆ แต่ในความเป็นจริง คนมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น โดยผลการศึกษาจาก Thailand Development Research Institute หรือ TDRI ระบุว่าคนไทยมีอายุเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.4 เดือนต่อปี โดยเมื่อปี 2560 มีคนไทยอายุเกิน 100 ปีมากถึง 9,041 คน
1
2. คนรุ่นใหม่ๆ มีครอบครัวและมีลูกช้าลงและน้อยลง
แล้วเพื่อนๆ ผู้อ่านคิดว่า การเข้าสู่สังคมสูงวัยเช่นนี้ จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง และเราต้องปรับตัวอะไร
สำหรับใครที่ใช้ Facebook สามารถติดตามเราเพิ่มเติมได้อีกหนึ่งช่องทางที่ >>> https://www.facebook.com/TheCOLUMNISTth/
โฆษณา