19 ม.ค. 2020 เวลา 09:53 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Industry 4.0 ธุรกิจ Digital กำลังทำลายธุรกิจแบบเดิม ๆ - Chapter 1
หากไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของธุรกิจในยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม 4.0 นี้แล้วล่ะก็ ธุรกิจของคุณอาจไม่ได้ไปต่อ....ซีรี่นี้นำเสนอเรื่องราวของธุรกิจรูปแบบใหม่ (Digital Business) ที่เข้ามาแย่งชิงตลาดจากธุรกิจแบบเดิม ๆ
Industry 4.0 หรือ อุตสาหกรรม 4.0 การผลิตยุคดิจิทัล
- การเปลี่ยนแปลงการผลิตทางอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ ที่ทำให้เทคโนโลยีพัฒนาอย่างก้าวกระโดด คือการผลิตที่มีส่งผ่านข้อมูลดิจิทัลจากต้นแบบ ดีไซน์ไปถึงกระบวนการผลิตได้ทั้งระบบ ด้วยระบบการสื่อสารที่รวดเร็วในปัจจุบัน เช่น 4G 5G ดังนั้นผู้ผลิตสามารถที่จะปรับเปลี่ยนการผลิต แบบ ชนิด ได้ตามความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว
ขอบคุณภาพจาก https://www.theeleader.com
การปฎิวัติอุตสาหกรรมแต่ละครั้งเกิดขึ้นจากอะไร ?
การปฎิวัติอุตสาหกรรม 1.0
- การค้นพบเครื่องจักรไอน้ำเครื่องแรกของโลก ทดแทนการใช้แรงงานคน สัตว์ ระบบการผลิตก็เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรไอน้ำ เกิดการผลิตรถไฟ เรือกลไฟ เกิดธุรกิจการเดินทางและการพัฒนาจากในเมืองไปสู่ชนบท
การปฎิวัติอุตสาหกรรม 2.0
- การค้นพบไฟฟ้าครั้งแรกของโลก ทดแทนการใช้เครื่องจักรไอน้ำ ลดการใช้ถ่านหิน สามารถทำผลผลิตได้เยอะกว่าเดิมมาก ระบบการผลิตจึงเปลี่ยนเป็นระบบโรงงาน มีการผลิตสินค้าคราวละมากๆ สินค้ามีคุณภาพ ราคาไม่แพง ทำให้เกิดกระแสบริโภคนิยมไปทั่วโลก
การปฎิวัติอุตสาหกรรม 3.0
- อินเทอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตประจำวันมากขึ้น โรงงานต่างๆ เปลี่ยนสายการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ โดยการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์แทนที่แรงงานมนุษย์มากขึ้น ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง ลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error)
การปฎิวัติอุตสาหกรรม 4.0
- ปรับเปลี่ยนโลกของการผลิตเข้ากับการเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ Internet of Things (IoT) ทุกขั้นตอนของระบบการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ จะถูกกำหนดตามความต้องการของผู้บริโภคแต่ละรายโดยตรง ให้ง่ายกว่านั้นคือ จะสามารถผลิตของหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภคแต่ละราย เป็นจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว
ขอบคุณภาพจาก https://www.bangkokbanksme.com
ประเด็นที่ 1 Digital Disruption
- ในทางธุรกิจ Pain Point คือจุดที่ผู้บริโภครู้สึกว่า "ยังไม่พอใจ" หรือยังไม่มีสินค้าและบริการใดมาตอบสนองความต้องการได้ดีกว่าที่มีในปัจจุบัน กล่าวคือ ธุรกิจแบบเดิมยังมี "ข้อบกพร่อง"
- Pain Point นั้นแก้ไขได้โดยการลงทุนเพื่อค้นหาความต้องการที่ลึกลงไปของผู้บริโภค (Consumer Insight) แล้วนำมาพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดียิ่งขึ้น แต่นั่นก็ยังเป็นวิธีแก้ไขแบบเก่า ซึ่งแพ้ - ชนะกันที่ความใหญ่ของทุน
- ระบบดิจิทัลได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงกติกาเหล่านี้ไป เนื่องจากเทคโนโลยี วิถีชีวิต และความต้องการของมนุษย์ที่เปลี่ยนไป ก่อให้เกิดธุรกิจในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ธุรกิจแพลตฟอร์ม (Platform Business) ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคไม่ว่าจะรายเล็กรายใหญ่ ธุรกิจแพลตฟอร์มนั้นนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคและผู้เล่นหน้าใหม่ได้เป็นผู้นำเสนอบริการอีกด้วย
ขอบคุณภาพจาก https://www.posttoday.com/
มวยคู่ที่ 1 : ค้าปลีก vs E-Commerce
พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน
- คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ยต่อวัน : 10 ชม. 5 นาที
ระยะเวลาและกิจกรรมที่ใช้บนอินเตอร์เน็ตเฉลี่ยต่อวัน
- Socail media : 3 ชม. 30 นาที
- รับชมวิดีโอ สตรีมมิ่ง : 2 ชม. 35 นาที
- ใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อพูดคุย : 2 ชม.
- เล่นเกมออนไลน์ : 1 ชม. 51 นาที
- อ่านบทความออนไลน์ 1 ชม. 31 นาที
(Gen Y ครองแชมป์ 4 ปีซ้อน ใช้งานอินเตอร์เน็ตมากที่สุด)
ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าในชีวิตประจำวัน เราถูกเชื่อมโยงเข้ากับดิจิทัลในทุก ๆ เรื่อง การเข้ามาของเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ ในยุคก่อนนั้นห้างค้าปลีกดที่มีหลายสาขาจะถือว่ามีความได้เปรียบ และอีกเรื่องก็คือทำเลทอง แต่ในปัจจุบันจำนวนสาขาและที่ตั้งไม่ได้ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเหมือนในสมัยก่อน การเข้าถึงข้อมูลสามารถทำได้ผ่านอินเตอร์เน็ต การส่งสินค้าที่รวดเร็ว ราคา โปรโมชั่น และความหลากหลายของสินค้า จึงเข้ามาเป็นตัวชี้วัดความได้เปรียบแทนที่
ขอบคุณภาพจาก https://www.thumbsup.in.th/
หน้าร้านไม่พอ เลยต้องมี E-Commerce
- พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน การซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น การทำตลาดแค่หน้าร้านไม่อาจตอบสนองความต้องการได้เพียงพอต่อไป ธุรกิจหลายประเภทจึงต้องปรับตัว กำจัดขีดกำจัดทางพื้นที่ (Space) ให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทุกที่ รวดเร็ว สะดวก และราคาเป้นที่พึงพอใจมากที่สุด
- จากข้อมูลของสำนักงานพัมนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDTA) พบว่า ธุรกรรม E-retail ของไทยปี 2015 มีมูลค่าเพียง 340,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 1% ของธุรกิจ Retail ในไทยทั้งหมด ถ้าเปรียบเทียบกับ 2 ยักษ์ใหญ่ของตลาดอย่างจีน พบว่า ธุรกิจ E-Retail ในปี 2016 มีมูลค่ากว่า 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 14.9% ของยอดขายธุรกิจ Retail ในประเทศจีน ส่วนสหรัฐอเมริกา มีมูลค่ายอดขายธุรกิจ E-Retail สูงกว่า 4.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 8% ของธุรกิจ Retail ในสหรัฐอเมริกา
ขอบคุณภาพจาก https://kasikornbank.com/
ขอบคุณภาพจาก etda.or.th
- จะเห็นได้ว่าจากปี 2015 มาจนถึงปัจจุบัน ตลาด E-commerce ทั้งไทยและต่างประเทศเติบโตอย่างมาก การทำการตลาดทางออนไลน์ในปี 2560 สูงถึง 69.92% ที่นิยมมากที่สุดคือ Facebook ทั้งในรูปแบบของการ Boost Post และ Boost Ads เพื่อเข้าถึงลูกค้าและตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
- Big Data นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเข้ามาพัฒนาธุรกิจ มีการนำเอา Big Data มาวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ ให้ตรงความต้องการ และยังใช้เพื่อวางแผนด้านการตลาดมากถึง 92.85% ใช้วิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การจำหน่ายถึง 85.71%
ข้อสังเกตุ : ในขณะที่ร้านค้าปลีกทะยอยกันปิดตัวซึ่งเราเห็นได้ตามข่าวทั่วไป แต่ธุรกิจ E-commerce กลับมีการเติบโตอย่างมหาศาลและต่อเนื่อง
โปรดติดตามตอนต่อไป
Reference : หนังสือ Digital Transform in action
โฆษณา