19 ม.ค. 2020 เวลา 13:00 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
ซีรี่ย์ : ชั้นหนังแผ่น {ม้วนฟิล์มที่ 3.1}
เสรีภาพในโลกของ เดอะ เมทริกซ์ (The Matrix) Part 1
...
ในปี ค.ศ.1999 พี่น้องวาชอวสกี ได้แก่ ลอเรนซ์ วาชอวสกี (Laurence Wachowski) และแอนดรูว์ พอล วาชอวสกี (Andrew Paul Wachowski) ได้สร้างชุดภาพยนตร์ไตรภาคที่มีความทะเยอทะยานระดับตำนานอย่าง ‘เดอะ เมทริกซ์ (The Matrix)’
...
Matrix (1999) คือ DVD แผ่นแรกในชีวิตของเด็กชายหมูแว่น ได้มาด้วยการอ้อนพนักงานขายให้แถมมาพร้อมกับเครื่องเล่น DVD
ในภาคแรกที่นอกจากจะสร้างปรากฏการณ์รับรายได้ถล่มทลายไปกว่า 463 ล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลกแล้ว (จากทุนสร้าง 63 ล้านเหรียญ)
...
ยังอุดมไปด้วยฉากจำมากมาย ที่แม้มันจะผ่านมาร่วม 21 ปีแล้วก็ตามที (นับจากภาคแรก)
...
ท่านกกระเรียนเหินหาวของทรีนีตี้
ฉากกระโดดข้ามตึก
การหลบกระสุน
ทั้งยังเขย่างานด้าน Visual Effects และเทคนิคการถ่ายทำอื่นๆ อีกมากมายที่จับเข้ามาใส่ในหนัง ซึ่งหนึ่งในนั้นมีชื่อๆ หนึ่ง ที่ทุกคนต่างเรียกกันว่า ‘Bullet Time’ (คือ เทคนิค Visual Effects ที่ลดความเร็วของเวลาลง แต่มีการหมุนและเคลื่อนไหวตามมุมกล้องด้วยความเร็วปกติ จนทำให้เราสามารถเห็นบริเวณรอบฉากได้) เช่น ฉากหลบกระสุนในตำนาน
...
นอกจากงานด้าน Visual Effects แล้ว ยังว่ากันว่าตัวบทภาพยนตร์ยังแอบแฝงไปด้วยหลักปรัชญา, ตำนาน, ความเชื่อทางศาสนา รวมถึงดิจิตอลเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างกลมกลืน เช่น
...
นีโอ ผู้ได้รับสมญานามว่า ‘ผู้ปลดปล่อย (The One)’ ที่สามารถอ้างอิงกับหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ได้ ‘พระเยซูคริสต์ ผู้ทรงเป็นพระผู้ปลดปล่อยของมนุษยชาติเพราะพระองค์ทรงช่วยคนทั้งปวงให้รอดจากพันธนาการ.....’
...
สำหรับชาวไซออน นีโอเป็นมากกว่าฮีโร่ เพราะนีโอแทบจะเป็นทุกสิ่งอย่างสำหรับพวกเขา ไม่ใช่เพียงรูปธรรม แต่ยังเป็นนามธรรมอย่าง ความหวังและความศรัทธา อีกด้วย
หากบทความนี้ ผมจะทำการแกะประเด็นทุกอย่างที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์ไตรภาคชุดนี้ ผมคงน็อคสลบเหมือด สาวสวยต้องวิ่งเอายาดมมาให้ดม พร้อมเอายาหม่องมาทาถูๆ ช่วยผมหน่อยแล้วล่ะครับ
...
ฉะนั้นบทความนี้ผมจะขอมาบรรยายถึงเรื่องๆ หนึ่ง ที่เราจะได้ยินมาตลอดผ่านบทสนทนาของตัวละคร
...
บางประโยคเถรตรงเข้าใจง่าย แต่บางบทสนทนากลับต้องอาศัยการตีความ เพราะมันแฝงความเป็นปรัชญาอยู่ในนั้น
...
คำๆ นี้ เราจะได้ยินทั้งจากฝ่ายพระเอก หรือแม้กระทั่งฝั่งตัวร้าย...คำๆ นั้นมีชื่อว่า ‘เสรีภาพ (Freedom)’
...
อะไรคือ ‘เมทริกซ์ (Matrix)’ ?
...
ช่วงต้นศตวรรษที่ 21
...
มนุษยชาติร่วมกันเฉลิมฉลองกับการรังสรรค์นวัตกรรมที่มีชื่อว่า AI (Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์) ที่สามารถขยายเผ่าพันธุ์จักรกลได้
...
วันหนึ่ง โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าฝั่งไหนเป็นฝ่ายเริ่มโจมตีก่อน สงครามระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรก็เริ่มต้นขึ้นเสียแล้ว
...
1
มนุษย์คิดได้ว่าเหล่า AI ต้องพึ่งพาพลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนชีวิต (เช่นเดียวกับสัตว์เลือดเย็น เพราะสัตว์เหล่านี้ต้องการแสงอาทิตย์ เพื่อมากระตุ้นให้อุณหภูมิของร่างกายให้สูงเพียงพอที่จะทำกิจกรรมประจำวัน นั้นคือเหตุผลที่เราเห็นจระเข้ขึ้นมาอาบแดด)
...
มนุษย์จึงจัดการเผาทำลายท้องฟ้า (คือการสร้างเมฆหมอกปกคลุมท้องฟ้า เพื่อไม่ให้แสงจากดวงอาทิตย์ส่องมาถึงพื้นโลก) แต่นั้นกลับกลายเป็นการเร่งหายนะมาสู่เผ่าพันธุ์ตัวเองแทน
...
เธอเห็นท้องฟ้านั้นไหม
เมื่อแสงอาทิตย์ไม่อาจสาดส่องมาถึงเบื้องล่างได้ ระบบนิเวศธรรมชาติเกิดการเสียสมดุล ต้นไม้ต่างพากันล้มตาย พื้นดินอันอุดมสมบูรณ์กลายเป็นทะเลทราย
...
แต่เครื่องจักรหาได้ดับสูญตามไปไม่ เมื่อพวกมันปรับตัวและค้นพบว่า ร่างกายของมนุษย์สามารถให้กำเนิดกระแสชีวไฟฟ้าที่มากกว่าแบตเตอรี่ถึง 120 โวลล์ได้
...
ใช่ครับ...พวกมันเปลี่ยนมนุษย์ให้เป็นแหล่งพลังงานใหม่ของพวกมัน
...
มนุษย์กลายเป็นถ่านไฟฉายสำหรับเหล่าเครื่องจักร
พวกมันจับมนุษย์มาเสียบปลั๊กให้จิตเข้าสู่เมทริกซ์ ซึ่งเป็นโลกแห่งความฝันที่เครื่องจักรสร้างขึ้นมาให้แด่เหล่าถ่านไฟฉายของพวกมัน ส่วนกายหยาบจะคอยให้พลังงานแก่เหล่าเครื่องจักรต่อไป
...
มนุษย์ที่ถูกเสียบปลั๊กให้เป็นแหล่งพลังงานของเครื่องจักร และจิตของมนุษย์ผู้นั้นจะมีชีวิตอยู่ในโลกแห่งเมทริกซ์
ภาพยนตร์ชุดเดอะ เมทริกซ์ ได้แบ่งโลกออกมาเป็น 2 ใบ อันได้แก่
...
1. โลกแห่งความเป็นจริงที่แตกดับสลาย มนุษย์อยู่กันด้วยความหวาดกลัวเครื่องจักร แต่พวกเขายังอาศัยความหวังในการขับเคลื่อนชีวิตต่อไป
...
ความหวังที่จะเอาชนะเหล่าเครื่องจักรในอนาคต เพียงแค่พวกเขาต้องรอการมาเกิดของ ‘ผู้ปลดปล่อย (The One)’ เท่านั้น
...
มอร์เฟียซ กัปตันยานเนบูเคิดเนซซาร์ (แสดงโดย ลอว์เรนซ์ ฟิชเบิร์น) เขาคือหนึ่งในคนที่มีความศรัทธาอย่างแรงกล้าถึงการมีอยู่ของผู้ปลดปล่อย
...
มอร์เฟียซ (คนกลาง)
เขาไม่เพียงแค่ศรัทธา แต่เขายังทุ่มเทเกือบทั้งชีวิตในการค้นหาพระเจ้าของเขา และเขาก็ได้พบเจอกับบุรุษหน้าหยกผู้หนึ่งมีนามว่า ‘ธอมัส เอ.แอนเดอร์สัน’ ที่มีฉากเป็นหน้าเป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับบริษัทซอฟท์แวร์ชื่อดัง แต่ฉากหลังคือเขานักล้วงข้อมูลที่มีโค้ดเนมว่า ‘นีโอ’ (แสดงโดย คีอานู รีฟส์) ในโลกอีกใบหนึ่ง
...
ธอมัส เอ.แอนเดอร์สัน หรือนีโอ
2. โลกแห่งเมทริกซ์ โลกที่ยังไม่มีการแตกดับสลาย มนุษย์ยังคงใช้ชีวิตได้ตามปกติ สภาพบ้านเมืองยังเหมือนเดิม ไม่ต้องดิ้นรนหลบซ่อนหรือหนีเครื่องจักร เพียงแต่มันเป็นโลกที่เครื่องจักรสร้างขึ้นมา เพื่อให้มนุษย์อยู่ภายใต้การควบคุมของมัน
...
มอร์เฟียร์ จูงใจให้นีโอทำการถอดปลั๊กตัวเอง แล้วออกมาเผชิญหน้ากับโลกแห่งความเป็นจริง
...
โลกที่เขาจะต้องแบกความหวัง ความศรัทธา และชีวิตของชาวไซออน (เมืองสุดท้ายของมนุษยชาติ) เอาไว้บนบ่า ในฐานะผู้ปลดปล่อยมนุษยชาติให้เป็นอิสระจากเครื่องจักร
...
ไซออน เมืองแห่งสุดท้ายของมนุษยชาติ
ประโยคที่ฝังหัวผมตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ยินจวบจนปัจจุบัน มาวันนี้ผมได้รู้ที่มาของประโยคดังกล่าวเเล้ว
อะไรคือ ความไม่มีเสรีภาพ?
...
“ลำพังเพียงการตัดสินใจทำโดยสมัครใจ ไม่เกี่ยวโดยตรงกับการมีเสรีภาพ” จอห์น ล็อค (John Locke) นักปรัชญาชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17
...
คำพูดของ จอห์น ล็อค ที่อ่านดูแล้วชวนงงงวนและไม่ชวนให้น่าทำความเข้าใจเลยสักนิดนี้ ผมคาดว่าคือหนึ่งในแรงบันดาลใจที่ทำให้พี่น้องวาชอวสกีสร้างโลกแห่งเมทริกซ์นี้ขึ้นมา
...
โลกที่ดูเหมือนจะมีเสรีภาพ แต่แท้จริงแล้วมันไม่มี?
...
“มนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรี เราจึงไม่สามารถมีเสรีภาพได้จริง” คือแนวคิดของกลุ่มนักปรัชญาที่มีชื่อว่า ‘กลุ่มแนวคิดปรัชญาเหตุวิสัย’
...
ในมุมมองของนักปรัชญากลุ่มนี้คือ “ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น รวมถึงการกระทำต่างๆ ของเราล้วนมีสาเหตุที่ได้มีการกำหนดไว้แล้ว ว่าจะต้องเกิดเป็นผลนี้ขึ้นมาอย่างแน่นอน”
...
1
กลุ่มแนวคิดปรัชญาเหตุวิสัยนี้ เชื่อเหลือเกินว่าสิ่งมีชีวิตทุกประเภทบนโลก ล้วนถูกสิ่งที่เรียกว่า ‘โลกธรรมชาติ’ สร้างและใส่ระบบหรือโปรแกรมเส้นทางอนาคตเอาไว้หมดแล้ว
...
2
ในบทสนทนาระหว่างเทพพยากรณ์กับนีโอในภาค Reloaded ขยายความพลังอำนาจของโลกธรรมชาติไว้ได้อย่างชัดเจน
...
“เห็นนกนั้นไหม ณ จุดๆ หนึ่งจะมีโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อปกครองมัน โปรแกรมหนึ่งถูกเขียนขึ้นเพื่อดูแลต้นไม้ พระอาทิตย์ขึ้นและตก...มันมีโปรแกรมวิ่งพล่านอยู่ที่นี่ แต่ละโปรแกรมต่างทำหน้าที่ ทำในสิ่งที่กำหนดให้ทำ”
...
เทพพยากรณ์ หรือดิโอราเคิล
เช่น นกกระเรียนเทากระหม่อมแดง ต้องอพยพไปยังแหล่งทำรังวางไข่ในเขตภูมิอากาศกึ่งอาร์กติกและอาร์กติก ไม่ว่าจะเดินทางจะเป็นระยะไม่กี่กิโลเมตรหรือไปไกลค่อนโลกก็ตาม
...
หรือปลาแซลมอนว่ายทวนกระแสน้ำในช่วงฤดูกาลวางไข่ ยอมฝ่าฟันพยันตรายหลายอย่าง เพื่อขยายเผ่าพันธุ์ตัวเอง เป็นต้น
...
พวกมันล้วนแต่ถูกโลกธรรมชาติ วางระบบใส่โปรแกรมให้ทั้งสิ้น
...
มนุษย์เองก็เช่นกัน กลุ่มแนวคิดปรัชญาเหตุวิสัยให้เหตุผลแบบรวบยอดว่า "มนุษย์เองก็ถูกโปรแกรมล่วงหน้าเอาไว้แล้ว"
...
ธรรมชาติออกแบบรูปร่างหน้าตาให้กับเรา กำหนดเพศ รวมถึงอุปนิสัยโดยรวมของเรา (ผ่านสภาพสังคมรอบตัวเราอีกทีนึง)
...
เมื่อธรรมชาติกำหนดอุปนิสัยให้กับเรา อุปนิสัยของเรานี่แหละที่จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของเราอีกทีหนึ่ง เช่น หากเรามีอุปนิสัยเป็นคนขี้กังวล อนาคตเราก็จะผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือเรามีอุปนิสัยไม่ย่อท้อ อนาคตเราจะเป็นที่ผู้ประสบความสำเร็จ เป็นต้น
...
ตัวตนของเราจึงเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่ง ที่ทำได้เพียงวิ่งบนเส้นทางที่หลงคิดไปว่ามันเป็นเส้นทางที่เราสร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง แต่แท้จริงแล้วมันเป็นเส้นทางที่โลกธรรมชาติสร้างขึ้นมาให้กับเราแล้วล่วงหน้าต่างหาก พวกเขาเรียกมันว่า “ภายใต้กฎเหตุและผลของธรรมชาติ”
...
1
เมโรวินเจี้ยน น่าจะเป็นตัวละครที่เป็นตัวแทนของนักปรัชญากลุ่มแนวคิดปรัชญาเหตุวิสัยได้เป็นอย่างดี เพราะเขาสนแค่ความเป็นเหตุเป็นผลของธรรมชาติเท่านั้น
โลกแห่งเมทริกซ์ = โลกธรรมชาติ
...
ภาพนี้คือสัญลักษณ์ที่ผมเดาว่าพี่น้องวาชอวสกีต้องการสื่อให้คนดูเห็นว่า มนุษย์เองก็ถูกธรรมชาติวางระบบไว้แล้วทุกคน...และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นภายในโลกแห่งเมทริกซ์
ย้อนกลับมาที่โลกแห่งเมทริกซ์ เหล่าดวงจิตของมนุษย์ที่ยังไม่ถูกถอดปลั๊ก แม้ร่างกายจะถูกจองจำให้เป็นแบตเตอร์รี่กับเครื่องจักร แต่จิตของพวกเขากลับมีอิสรภาพในการที่จะทำอะไรก็ได้ตามความสมัครใจภายในโลกเมทริกซ์นี้
...
จะออกไปเที่ยว ดูหนัง กระโดดร่ม หรืออะไรก็แล้วแต่ภายใต้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับทั่วไปเฉกเช่นเดียวกับที่มนุษย์ด้วยกันเอง
...
กำหนดขึ้นมาเพื่อสร้างระเบียบให้กับรัฐ และข้อแม้ที่สำคัญที่สุดถึงที่สุดก็คือ ‘ห้ามมนุษย์ออกจากเมทริกซ์’
...
ชาวไซออนเอง (มนุษย์ที่ถอดปลั๊กแล้ว) ก็สามารถเข้ามาในโลกใบนี้ได้ตามความสมัครใจ จะเข้าตอนไหน เวลาใดก็ได้เช่นกัน
...
ชาวไซออนเข้าสู่โลกเมทริกซ์ได้ โดยการเชื่อมต่อกับเครื่องคอนสตรัคท์
เมื่อพวกเขาเข้ามาในโลกของเมทริกซ์แล้ว พวกเขาก็ยังสามารถทำอะไรก็ได้ตามใจเหมือนกัน เพียงแต่พวกเขาห้ามถูกระบบตรวจเจอ
...
เพราะสำหรับโลกแห่งเมทริกซ์ ชาวไซออนเปรียบเสมือน ‘ไวรัสคอมพิวเตอร์’ ที่จะต้องถูกกักกันและกำจัดทิ้ง
...
หากระบบตรวจพบเจอชาวไซออนไม่ว่าจะหน้าไหนก็ตาม ก็จะส่งโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีชื่อว่า ‘เอเจนท์ (สายลับ)’ มาเพื่อทำลายให้ได้ ก่อนที่ชาวไซออนผู้นั้นจะหนีกลับออกไปสู่โลกแห่งความเป็นจริง (ซึ่งท้ายสุดก็อยู่ภายใต้กฎพื้นฐานที่ว่าห้ามมนุษย์ออกจากเมทริกซ์นั้นเอง)
...
เอเจนท์ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสประจำเมทริกซ์
โลกแห่งเมทริกซ์ ก็คือการสื่อถึงคำพูดของ จอห์น ล็อค ที่ผมได้เขียนเอาไว้ข้างต้นว่า
...
“ลำพังเพียงการตัดสินใจทำโดยสมัครใจ ไม่เกี่ยวโดยตรงกับการมีเสรีภาพ”
...
กล่าวคือ แม้มนุษย์จะสมัครใจเข้าไปอยู่ในโลกแห่งเมทริกซ์ และแม้มนุษย์จะสามารถทำอะไรก็ได้ภายในนั้นก็ตาม แต่การที่เมทริกซ์ห้ามไม่ให้ผู้ใดออกมานั้น ก็คือการไม่มีเสรีภาพอยู่ดีนั้นเอง
...
โลกของเมทริกซ์ จึงเป็นโลกที่สะท้อนในมุมที่ว่ามนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ในภาวะเสมือน (เสมือนว่าจะมีเสรีภาพ) ตลอดจนกระทั่งก็ไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างเป็นตัวของตัวเองจริงๆ (เพราะเชื่อว่าถูกระบบหรือโปรแกรมออกแบบมาให้เป็นอีกทีนึง) จึงนำไปสู่ ‘ความจริงที่ว่างเปล่า’
...
ข้อมูลแทรก
...
‘ความจริงที่ว่างเปล่า’ คือ ความจริงที่เราไม่จำเป็นต้องมาตั้งคำถามใดๆ เพราะคำตอบที่ได้คือคำตอบที่ตายตัว ไม่มีเหตุอะไรที่จะทำให้ความจริงในข้อนี้เปลี่ยนแปลงไปได้ เช่น
...
หากผมตั้งคำถามว่า “คนเราชอบชีวิตที่มีความสุขใช่หรือไม่?”
...
แน่นอนว่าคำตอบที่ได้กลับมา 100% ก็คือ ‘ใช่’
...
เพราะสำหรับชาวไซออน เมทริกซ์คือโลกที่เต็มไปด้วยระบบหรือโปรแกรม ที่คอยวิ่งควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างภายในนั้น
...
แม้กระทั่งตึกและถนนก็มีระบบหรือโปรแกรมเช่นกัน ภายในโลกแห่งเมทริกซ์นี้
ฉะนั้น ‘ระบบหรือโปรแกรม’ จึงเป็นสิ่งที่พรากเสรีภาพของมนุษย์ ไม่ว่ามนุษย์ที่เข้าไปจะสามารถทำอะไรก็ได้ตามใจภายในนั้น แต่นั้นมันก็ไม่ใช่เสรีภาพในความคิดของชาวไซออน (และกลุ่มแนวคิดปรัชญาเหตุวิสัย) อยู่ดีนั้นเองครับ
...
ใน Part 2 ผมจะพาทุกๆ ท่านทัวร์โลกของภาพยนตร์ชุดไตรภาค เดอะ เมทริกซ์ นี้กันอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่า “เสรีภาพในโลกของเดอะ เมทริกซ์ นั้นคืออะไรกันแน่?”
...
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านบทความดูชวนหัวนี้จนจบ แล้วเจอกันใหม่ใน Part 2 ครับผม
...
เสรีภาพของ เดอะ เมทริกซ์ ซุกซ่อนอยู่ภายในภาพนี้
บรรณานุกรม
...
อริสา พิสิฐโสธรานนท์. (2559). เข้าใจหนัง เข้าใจจิต. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา และ BLACK & WHITE.
...
สุรพศ ทวีศักดิ์. (2562). มนุษย์กับเสรีภาพ : มุมมองทางปรัชญาคานท์, มิลล์, รอลส์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์.
...
NGThai. (2561). มหากาพย์นกอพยพ. [เว็บไซต์]. สืบค้นที่ https://ngthai.com/animals/8362/bird-migrations/2/
...
เครดิตภาพ
...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา