26 ม.ค. 2020 เวลา 11:10
เทคนิควิปัสสนาเพื่อการตื่นรู้
..
งานสำคัญที่เราต้องฝึกใช้เป็นเครื่องมือ2อย่าง
คือสมถะและวิปัสสนา
วันนี้ขอพูดเรื่องเทคนิควิปัสสนา
แต่ก็ทิ้งสมถะไม่ได้อีกก็อธิบายไปพร้อมๆกัน..เลยละกัน😁
photraph by little walk_.
เอาจริงๆง่ายมากๆในทางปฏิบัติ
แต่ถ้าเอาทฤษฎีมาจับ
มันจะเข้าใจงงหน่อย
แต่ไม่เกินกำลังแน่นอน🍃
ปกติเวลาเข้าหาครูอาจารย์ท่านจะพูดน้อย แต่เอามาทำเป็นปี บางทีไปรายงานท่าน ท่านก็บอกให้เงียบไม่ต้องไปบอกผู้ใด เพราะท่านรู้ว่ามันเป็นระยะตื่นเต้น จะเที่ยวบอกธรรมไปทั่ว ชวนเขาไปทั่ว สิ่งที่ได้กลับมาคือคนจะหาว่ามันบ้า แล้วคนเริ่มใหม่จิตมันไม่แข็งแรง อาศัยแต่แรงตื่นเต้นเหมือนเด็กได้ของเล่นใหม่ก็อยากอวด พอโดนต่อต้านมันก็เสียของ จิตมันเขว ท่านเลยบอกว่าอย่าไปพูด ให้ปฏิบัติไป จนกว่าจะแข็งแรงและรู้วิธีการแน่ชัด จึงควรพูดในกาลที่ควร
เริ่มโม้ไปไกล มาเรื่องของเรา ที่กระผมบอกว่าง่าย เพราะสมัยก่อนคนไม่ขี้สงสัย ใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ
ผู้เป็นอาจารย์ก็จะบอกให้ทำแค่นี้ เขาก็ทำกันแค่นี้ ได้ผลยังไงก็ไปบอกท่าน ท่านก็จะบอกต่อ
แต่คนยุคนี้สงสัยมากกว่าศรัทธา การสื่อสารก็เป็นด้วยความรวดเร็ว บอกน้อยก็นั่ง เอ๊ะ! กันอยู่อย่างนั้น
เดี๋ยวก็เอาหลักวิทยาศาสตร์มาจับให้ม้นมั่วไปหมด เอาปรัชญามาจับก็ยกไว้ ทำเป็นรูปธรรมไม่ได้
พุทธคือพุทธ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการหลุดพ้น ไม่ใช่อยู่ในฐานะวิทยาศาสตร์หรือปรัชญา
ตกลงเลยทำให้ดูยาก ดูสูง ดูสงสัย ไม่กล้าพิสูจน์ตกลงคือไม่มีผู้ทำซักที ..ติดที่ความสงสัยก็เลยไม่รู้อะไรเลย
photograph by little walk_.
กระผมจะบอกวิธี แต่ก็ต้องปูพื้นนำก่อน
จุดหลักของการวิปัสสนา
คือ"การเห็นความเป็นจริงของกายและใจ"🍃
และอะไรคือความเป็นจริง
ความเป็นจริงก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
(อย่างงงนะขอรับ ภาษาพระมาอีกแล้ว
ถ้าจำไม่ได้ แว้บ..ไปดู เรื่องอนันตลักขณสูตร กระผมอธิบายไว้แล้ว..อิอิ ขยันหาหน่อย..ในซีรีย์เรื่องเล่าคนภาวนา)
🤔อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของอะไร?
ตอบ.ก็คือของกายและใจ😁
🤔เพื่ออะไร?
ตอบ ก็เพื่อละความเห็นผิดว่ากายและใจเป็นของเรา
(เห็นใหมล่ะขอรับ เรายิงเป้าตรงเผ็งไปที่สังโยชน์ข้อที่1เป๊ะ..อย่าลืมนะขอรับเป้าหมายหลักเราคือการเป็นพระโสดาบัน คุณสมบัติพระโสดาบันคือละสังโยชน์3ข้อ และข้อแรกคือละความเห็นผิดว่ากายใจเป็นของเรา)😁
🤔ทำอย่างไรเราจะเห็นความเป็นจริงของกายใจ
มีวิธีขอรับ🍃
คือ การรู้สึกตัว หรือเรียกว่าการระลึกรู้ หรือที่เราคุ้นหูคือ "สติ"
🤔แล้วเราจะรู้สึกตัวได้อย่างไร
มีวิธีขอรับ🍃
ผู้เริ่มฝึก จะต้องมีเครื่องอยู่ คือมี "บ้าน"
สังเกตมั้ยทุกบ้านต้องมีประตู เราจะเห็นเลยว่าใครเข้าออก
เช่นเดียวกัน เราต้องสร้างบ้าน แล้วเราจะสร้างบ้านยังไง
พระพุทธเจ้าก็มีบอก นั่นคือ "สติปัฏฐาน" คือฐานอันเป็นที่ตั้งของสติ เป็นบ้านขอสติ
บ้านหนึ่งๆเราก็มีหลายห้อง แต่ละห้องก็มีประตู บางห้องก็มีหน้าต่าง เราเอาไว้สังเกตการว่าใครเข้าบ้านทางประตูหน้าต่าง ในสติปัฏฐานก็เช่นเดียวกัน
ก็มี4ห้องด้วยกัน
เรียกสติปัฏฐาน4
มีอะไรบ้าง..ภาษาพระเริ่มมาแล้ว
🍀กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้" กาย " เป็นฐาน
🍀เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้"ความรู้สึก" เช่น ทุกข์สุข พอใจไม่พอใจ เป็นต้น เป็นฐาน
🍀จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้"เจตสิก" เป็นฐาน เนื่องจากเราดูจิตโดยตรงไม่ได้ เราจึงดูเจตสิก(สิ่งแวดล้อมเกี่ยวเนื่องกับจิต)เช่น จิตมีความโลภ -ไม่มีความโลภ,จิตความหลง-ไม่มีความหลง,จิตมีความโกรธ -จิตไม่มีความโกรธ
🍀ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้"ธรรมารมณ์"เป็นฐาน เช่นความคิด ความฟุ้งซ่าน ความลังเลสงสัย
ทีนี้เริ่มงงใช่มั้ยครับ ไม่ต้องงงนะขอรับ
ถ้ากระผมจะบอกว่าทั้ง4อย่างรวบมา
ก็คือ
..
"กายและใจเป็นฐาน "
..
อันนี้จะง่ายกว่านะขอรับ
เพียงแต่ท่านแจกแจงให้เป็นหมวดหมู่
เพื่อสื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน
เวลาคุยกันจะเข้าใจในหมู่คนที่ศึกษา🍃
ทีนี้ถ้าเอา"กายใจเราเป็นบ้านเป็นฐาน"
มันง่ายมั้ยขอรับ..ง่ายเนอะ
ไม่ต้องเอาอย่างอื่นเลย
ไม่ต้องขอพร
ไม่ต้องแสวงหาดาวพระเสาร์ที่ไหนมาเป็นบ้าน
🤔คำถามต่อไปเราจะทำอะไรกับบ้านกายใจของเรา
สามารถทำได้2แบบ
ขึ้นกับว่าเราเอาอารมณ์ใดไปจับ
คืออารมณ์สมถะหรืออารมณ์วิปัสสนา🍃
และทั้งสองแบบควรมีการฝึกคือ
1ขั้นตอนฝึกในรูปแบบ😌
2.นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน😌
และเทคนิคที่ใช้คือต้อง "มีผู้รู้ผู้ดู กับสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู"
photograph by little walk_.
🎯การฝึกในรูปแบบ
ฝึกแบบที่1..อารมณ์สมถะ
..
คือจดจ่ออารมณ์เดียว คือเปิดประตูบานเดียว
ใช้อะไรเป็นฐานดี ส่วนใหญ่จะใช้"กาย"
คือร่างกายทั้งหมดมั้ย
ก็ไม่ใช่ ท่านบอกให้ใช้ "กายในกาย"
เช่น ขน เล็บ หนัง เอ็น ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ลมหายใจ หรือ ท้องพองยุบ เป็นต้น
เอาอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นพิจารณา
เคล้าคลอกับมัน วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับมัน
ให้จิตทำงานเต็มที่ จนจิตสงบ นิ่ง
จิตก็พักก็ได้รับความสงบมาเป็นกำลัง
..
"คือไม่สนอารมณ์อื่นจดจ่อที่อารมณ์เดียว"
ในอารมณ์นี้ผู้รู้ผู้ดู จะเห็นลมหายใจเข้าออก
ถ้าเอาลมหายใจเข้าออกเป็นฐาน
สิ่งที่ถูกรู้ถูกดูคือลมหายใจ เป็นต้น 🍃
ฝึกแบบที่2.อารมณ์วิปัสสนา
..
อันนี้จะเปิดประตูทีละบาน
เมื่อประตูห้องใดเปิดห้องอื่นจะปิด
จะใช้ "เวทนา,จิต,ธรรม"มาเป็นอารมณ์
ใช้"กาย"เป็นฐาน
แยกผู้รู้ผู้ดู กับสิ่งที่ถูกรู้ถูกดูเช่นกัน
แต่ต่างจากสมถะที่ใช้อารมณ์เดียวเปิดประตูบานเดียวตลอดการทำ🍃
เช่น ..
กาย เราใช้ลมหายใจเป็นฐาน ดูลมหายใจเข้าออก(ข้อระวังจะไปติดเพ่งพลิกเป็นสมถะทันที บางคนจะหลงว่าตัวเองทำวิปัสสนาอยู่ บางทีต้องใช้คำบริกรรมกำกับช่วยไม่ให้ติดเพ่ง )หรือท้องพองยุบ
..
แล้วจะเห็นมันแอบไปคิด(ธรรม) /หรือเรียกว่าลักคิด
..
หรือเวทนา(ความรู้สึก) เจ็บ ปวด ทุกข์ สุข ก็เห็นมันก็แอบไปดูเวทนา
..
แอบไปคิดแล้วเกิดจิตมันโลภ จิตมันโกรธ จิตมันเฉยๆ หืรอจิตมันหลงไปคิด
..
ผู้รู้ผู้ดู : จะเห็นอาการของ การแอบทั้งหมด(คือสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู) จะเห็นว่าไม่ใช่เรา เพราะอะไร ถ้าเป็นเราเราต้องบังคับให้มั่นนิ่งอยู่กับลมหายใจได้ ท้องพองยุบ ได้หรือคำบริกรรมได้ตลอดเวลา นี่มันก็แสดงความจริงว่าไม่ใช่เราบังคับไม่ได้ มันก็ตกไปอยู่ในข้ออนัตตา(คือมันไม่ใช่เราแน่ๆ..หรือจะเถียง😁😂)
..
หรืออยู่มันหลงไปคิดตั้งแต่เมื่อไรไม่รู้ รู้ตัวอีกทีเห็นจิตมีความพอใจในความคิดนั้น หรือไม่พอใจในความคิดนั้น หรือเฉยๆในความคิดนั้น ทันทีที่รู้สึกตัว เราจะเห็นการดับของอารมณ์นั้นแว้บหนึ่ง แล้วมันก็จะไปเสวยอารมณ์อื่นต่อ ตกในข้ออนิจจัง (ความแปรปรวน )ทุกขัง(การตั้งอยู่ไม่ได้ ) คือเมื่อตะกี้อารมณ์มันเกิด และมันดับไป มันไม่คงทนมันไม่แน่นอนอันนี้เราเรียกว่า "ตามรู้ " เราจะรู้ทันทีไม่ได้เราใช้เทคนิคการตามรู้แต่รู้ให้เร็วให้บ่อย
😌มีข้อพึงระวัง
คือเมื่อไรที่จะจงใจจ้องว่ามันจะคิดเมื่อไร
เมื่อไร มันจะทุกข์สุข พอใจไม่พอใจเมื่อไร
เมื่อนั้นเราจะไม่เห็น มันจะนิ่งๆ
ไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงใดๆ
จะเกิดในคนที่ภาวนาแล้วอยากเห็นมันเลยไม่เห็น เพราะความอยากมันครอบงำ
😌ข้อควรจำ
-ในการทำทั้งสมถะและวิปัสสนา ต้องแยกผู้รู้ผู้ดู กับสิ่งที่ถูกดูออกจากกัน
-แล้วทำไมจึงต้องฝึกสองวิธี เพราะในชีวิตจริงมันเลือกไม่ได้เพราะจิตมันจะทำเอง เพียงแต่เราจะรู้ว่าสิ่งที่มันทำคือสมถะหรือวิปัสสนา สมถะกับวิปัสสนาจะเกิดพร้อมกันไม่ได้ เมื่อเกิดสิ่งใดอีกสิ่งก็ไม่เกิดจะเกิดสลับกันไปมา
-พฤติของจิต ธรรมดาจิตเหมือนลิงมีแรงมันจะวิ่งซนเสวยอารมณ์ไปทั่ว หมดแรงมันจะพัก(เราก็พามันมาอยู่ที่ฐานกายใจเป็นสมถะ) พักอิ่มมันก็จะวิ่งไปเสวยอารมณ์ต่างๆอีก (เรามีหน้าที่ตามรู้ตามดูเห็นการเกิดดับ อนิจจังทุกขัง อนัตตา เป็นวิปัสสนา)
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือทำในรูปแบบ
คราวหน้าจะเอาเทคนิควิปัสสนาง่ายๆมาใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ผู้เขียนนำมาใช้แล้วได้ผลดีในยุคนี้...แล้วคอยพบความตื่นเต้นว่าเราจะเห็นตัวเองในสิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ต้องใช้ฤทธิ์ใช้เดช อำนาจอะไร
กับ..
"ปฏิหาริย์การเห็นตัวเอง"😌😊
หากไม่เข้าใจขอแนะนำไปอ่านหรือฟังธรรมของหลวงพ่อปราโมชย์ ปราโมชโช ค้นในเนตจะเจอเลยขอรับ
..
เนื่องจาก10กว่าปีที่แล้วกระผมเคยศึกษาเข้าใจและดึงเอาส่วนการปฏิบัติมาปรับใช้ตามจริตส่วนตัวท่านเป็นครูบาอาจารย์องค์แรกที่ทำให้กระผมขึ้นวิปัสสนาเป็น แต่เป็นกระผมลูกศิษย์ท้ายห้อง คือไปนั่งฟังธรรมเอาไกลๆสุดกู่เงียบๆคนเดียว ไม่เคยรายงานผลปฏิบัติ ไม่เคยคุยส่วนตัว
..
ตอนนั้นท่านมาศาลาลุงชิน แถวดอนเมือง ไม่เคยได้เห็นท่านชัดๆ ท่านอธิบายได้กว้างขวางเหมาะกับจริตที่หลากหลายกว่า สะกิดนิดเดียวก็เข้าใจทันที คิดว่าเอาตัวรอดพอมีที่พึ่งแล้วแล้ว10กว่าปีที่ไม่ได้ไปอีกเลย 😌🍃
แนะนำให้อ่านซีรีย์เรื่องเล่าคนภาวนากับขบถ~ยาตรา เพื่อความเข้าใจด้วยขอรับ😌😊
photograph by little walk_.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา