28 ม.ค. 2020 เวลา 23:31 • ปรัชญา
ธรรมะที่เรารู้ เป็นตัวขวางกั้นเราเองจากความจริง
Cr. photo from lapelpinplanet.com
(บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความเรื่อง #ถ้อยคำที่ 6 ครับ)
สัพเพธัมมาอะนัตตา ติ
เพราะเหตุว่า
สัพเพธัมมาอะนัตตา ติ
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน
เพราะหากคุณดูเนื้อธรรมอยู่ในปัจจุบันขณะ
คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของ state ของเนื้อธรรม
นั่นคืออนิจจัง
เพราะมันไม่เที่ยงจึงเปลี่ยนแปลง
ซึ่งก็คือทุกขัง เพราะมันทนอยู่ใน state เดิมไม่ได้
มันจึงเปลี่ยนแปลง
ซึ่งก็คืออนัตตา
เพราะสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ นั้นไม่มีแก่นสาร
เป็นไปเพื่อความเสื่อมในที่สุด
นั่นคือตัวตนของมันไม่มีอยู่จริง
จึงนำมายึดถือไม่ได้
แต่เราส่วนมากเมื่อเรียนธรรมะ
รู้ธรรมะได้ลึก
ทรงจำธรรมะได้เยอะ
มีความแม่นยำในความจำ
มีความภูมิใจในความรู้
นั่นมันมีแต่ สัญญา กับ สังขาร
มันก็คือส่วนที่กลายมาเป็นอีโก้
มันก็ไม่แปลกที่เราส่วนใหญ่จะเข้าไปยึดถือภูมิใจในสิ่งนี้
เพราะ
สัญูญูปาทานักขันโธ
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นคือสัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นคือสังขาร
ก็สิ่งเหล่านี้ เราเข้าไปยึด
มันเข้ามาตั้งในเราเองโดยไม่รู้ตัว
มันเป็นระบบออโต้
มันทำให้เรามีตัวตนขึ้นมา
เพราะตัวตนอีโก้ที่เราเป็นนั้น มาจากสัญญาสังขารและการสั่งสมของเราทั้งนั้น
ความชอบ
ไม่ชอบ
ความถนัด
ทักษะ
คุณลักษณะ
ครอบครัว
สังคม
ภาษา
อาชีพ
Passion
สร้างความพอใจ ไม่พอใจ
สร้างความภูมิใจ ไม่ภูมิใจ
สร้างตัวตน
หลงลืมไปว่า
เราเรียนธรรมะ ฝึกปฏิบัติธรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากตัวตน
เราเรียนธรรมะแล้วตัวตนมันเล็กลงหรือว่ามันเบ่งพองคับโลกมากขึ้น?
เราเรียนธรรมะเพื่อรู้แจ้งอนัตตา
เราเรียนธรรมะเพื่ออยู่เหนือสมมุติ (วิมุตติ)
ข้อความใน สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ
สัญญาอะนัตตา
สัญญาคือความจำไม่ใช่ตัวตน
สังขาราอะนิจจา
สังขารคือความคิดก็ไม่เที่ยง
สัพเพสังขาราอะนัตตา
เพราะไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเลยไม่ใช่ตัวตน
(ความภูมิใจคือความคิด ความภูมิใจก็คือสังขาร)
ตัวเราเองนี่ล่ะ ที่ขวางกั้นเราจากการรู้แจ้ง
ธรรมะที่เรารู้นี่ล่ะ ที่เป็นตัวขวางกั้นเราเองจากความจริง
ทรงเฉลยไว้ให้แล้วว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน
สัพเพธัมมาอะนัตตา ติ
ก็ในเมื่อแม้แต่ธรรมะเองยังไม่ใช่ตัวตน
เราจะไปยึดไปยอมให้ธรรมะมาเป็นตัวตนหรือขยาดตัวตนของเราได้อย่างไร?
เข้าใจว่าก็ธรรมะมันดีซะขนาดนี้ มันทำของคว่ำให้เป็นของหงาย มันทำความมืดให้กลายเป็นความสว่าง เราเรียนธรรมะแล้วเห็นด้วยเลยละทิ้งความคิดเก่าที่คว่ำดำแล้วทรงจำสิ่งที่หงายสว่างอย่างทรงภูมิอีโก้เบ่งบานใหญ่คับโลก
นั่นเท่ากับว่า เราแทนที่สัญญาเก่าด้วยสัญญาใหม่
แทนที่สังขารเก่าด้วยสังขารใหม่
แบบนี้เราจึงยังไม่สามารถพ้นไปได้
ดังนั้นสิ่งที่เราเรียนมาสิ่งที่เรารู้นี่ล่ะคือสมุทัย
สัพเพธัมมานาลังอะภินิเวสายะ
สัพเพธัมมานาลังอะภินิเวสายะ
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
เมื่อเราตระหนักได้เช่นนี้แล้ว
เราจึงเรียนรู้ธรรมทั้งหลายทั้งปวง "ด้วยความเข้าใจ"
"แล้วปล่อยมันไป"
ธรรมะเป็นของโลก
ไม่ใช่ของผู้หนึ่งผู้ใด
แม้แต่เราเอง
เมื่อปล่อยแล้ว จึงไม่ยึด
เมื่อไม่ยึด จึงไม่ทุกข์
(ไม่มีตัวตนมาให้มันเปลี่ยนแปลง)
เมื่อไม่ทุกข์ จึงพ้น
(วิมุตติ)
นี่คือมรรค
(มีทุกองค์ในขณะจิตที่เราปล่อย)
ซึ่งเมื่อพ้นแล้วก็คือนิโรธ
ขอให้โชคดี
บทความถัดไป
บทความก่อนหน้านี้
โฆษณา