31 ม.ค. 2020 เวลา 08:57 • ปรัชญา
เหตุที่เราปล่อยวางไม่สำเร็จ
บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วเรื่อง สมาธิ และ ความคิด เมื่อคุณรู้บทความนั้นแล้ว คุณก็พร้อมที่จะรู้สิ่งนี้
Cr. background photo from turningthepage.info
เคยรู้สึกโกรธ หงุดหงิด ขัดใจ ขุ่นเคืองใจ เหงา เศร้า เสียใจ
เจ็บปวด เป็นทุกข์ หรือความรู้สึกอื่นต่างๆ ที่เราไม่ชอบ
พยายามปล่อยวางแล้วไม่สำเร็จบ้างหรือไม่?
ได้ยินกันมาตลอด สอนต่อๆ กันมาเยอะ ใครๆ ก็พูดจนติดปาก
ว่าต้อง ปล่อยวาง
แม้แต่เราเองยังอาจจะเคยแนะนำคนอื่นบอกคนอื่น
ดังนั้นเมื่อความขัดใจ ไม่พอใจ ขุ่นเคืองใจ และความทุกข์เกิดขึ้นกับเรา
แล้วทำไมเราถึงจะไม่รู้ว่าเราต้องปล่อยวาง?
แล้วเราปล่อยวางเรื่องนั้นๆ ได้จริงหรือไม่?
หากนับจำนวนครั้งของความพยายามปล่อยวาง มันจะมีจำนวนเท่าไหร่?
หากเทียบจำนวนครั้งของความพยายามกับความสำเร็จ เปอร์เซ็นต์จะเป็นอย่างไร?
จริงๆ แล้ว ที่เราไม่สามารถปล่อยวางได้นั้น เป็นเพราะ
⚡ ความอยากปล่อยวางเป็นตัณหา ⚡
นั่นเพราะเราต้องการไปคว้าผลลัพธ์คือการปล่อยวางเข้ามา
เพราะเราเผชิญกับสิ่งที่ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ เป็นทุกข์ ไม่ต้องการ
เราจึงผลักไสมันออกไป
⚡ นี่เป็น วิภวตัณหา ⚡
แล้วเราปล่อยวางตัณหาได้หรือไม่?
หากเราปล่อยวางตัณหาได้ตั้งแต่แรก ความทุกข์หรือสภาวะอันทนได้ยากต่างๆ คงเข้าถึงเราไม่ได้ เราคงไม่รู้สึก ขัดใจ ขุ่นเคืองใจ ทุกข์
เมื่อรู้ความจริงเช่นนี้แล้ว เราโล่งอก? รึว่ามันปลุกให้เราตื่น?
ในทำนองเดียวกัน ถ้าหากเราสามารถปล่อยวางได้ นั่นหมายความว่าวิมุตตินั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวแม้แต่น้อย
Letting go needs effort, Let go needs nothing.
การปล่อยวางเป็นกิริยา (verb/effort)
แต่ความปล่อยวางเป็น state (สภาวะ)
Letting Go Needs Effort.
Let Go Needs Nothing.
(ต้องใช้สองภาษาอธิบายสมมุติที่เข้าถึงได้ยาก)
เมื่อพิจารณาถ้อยคำสองพารากราฟข้างบนนี้อย่างถี่ถ้วนแล้ว เราจะสามารถมองออกได้ใช่ไหมว่า
ความพยายามใดๆในการกระทำการใดๆ ลงไปเพื่อให้เกิดการปล่อยวางนั้นคือการแทรกแซง!
ขณะที่เรากำลังเจ็บปวดอยู่ เศร้าเสียใจอยู่
คนที่เรารัก คนที่มีความหมายกับเราประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตกะทันหัน
เราปล่อยวางไม่ได้
แฟนของเราทิ้งเราไปมีคนอื่น
เราปล่อยวางไม่ได้
ขณะที่เรากำลังโกรธขุ่นเคืองใจขัดใจหงุดหงิดอารมณ์ไม่ดี
เราปล่อยวางไม่ได้
ขณะที่หัวใจเรากำลังเต็มไปด้วยสิ่งหนึ่ง มันไม่มีที่ว่างที่จะให้สิ่งอื่นเข้าไปได้
จิตรู้ได้ทีละอย่าง
การพยายามปล่อยวางอันเป็นกิริยาที่เรากำลังกระทำกับสภาวะธรรมชาติซึ่งกำลังดำเนินอยู่อันพึงเรียกได้ว่าสภาวะความปล่อยวาง จึงเป็นการแทรกแซงมัน ซึ่งนั่นฝืนธรรมชาติ
We can not force out the out come state, we can only support the factors of blooming up of the state
ความปล่อยวางเป็นผล
เราสร้างผลไม่ได้
1
เหมือนกับที่เรารู้จากบทความที่แล้ว
เราไม่สามารถไปแทรกแซงกระบวนการ blooming up ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
เพราะสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ก็เกิดเพราะเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด
ความพยายามที่จะทำให้มันเกิด การเร่ง การบังคับ จึงเป็นการฝืนกระบวนการทางธรรมชาติ
ดังนั้นความพยายามของเราที่จะปล่อยวางจึงหนักและเหนื่อยและสำเร็จได้ยาก
วิธีการที่ไม่ฝืนธรรมชาติคือการไม่ไปแทรกแซงกระบวนการของมัน
Because you took it, then you get it.
เรามองออกหรือใช่ไหมว่า
เพราะยังเอาจึงยังได้
เพราะยังได้ จึงไม่พ้น
หากจะมองในเชิงปรมัตถ์แล้ว
การไม่คว้ามาตั้งแต่แรกนั้น
ก็จะไม่มีอะไรให้ถือ
เมื่อไม่มีอะไรให้ถือ ก็ไม่มีอะไรให้ปล่อย
นี่จึงเป็นวิถีทางของธรรมชาติ
สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่ยากหากเรารู้ได้แล้วว่าแท้ที่จริงแล้วเราทุกคนถูกชักใยให้โลดแล่นอยู่ในสมมุติแห่งวัฏฏะโดย "ความคิด"
แต่ถ้าหากเรายังไม่สามารถ "หยุดการคว้าไว้" ตั้งแต่แรกได้
เช่นนั้นเราจะทำอย่างไร?
ในทางสติปัฎฐานแล้ว การเข้าไปดู state ของสิ่งที่เรากำลังสนใจในปัจจุบันขณะ (ในที่นี้คือความทุกข์) จะทำให้เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ซึ่งมันจะเปลี่ยนแปลงให้เห็นอย่างรวดเร็ว
จน state "ความปล่อยวาง" เบ่งบานออกมาได้
แต่ถ้าหากเราไม่เคยฝึกสติปัฏฐาน ไม่ชอบนั่งสมาธิ ชอบคิดฟุ้งซ่าน เราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เราจะทำให้เกิดการปล่อยวางได้อย่างไร?
จริงๆแล้วเราใช้วิธีสร้างเหตุปัจจัยเพื่อสนับสนุนให้มันเกิดได้
เมื่อดอกไม้พร้อมแล้วมันจะบานของมันเอง การปล่อยวางก็เช่นกัน
คำถามก็คือ
อะไรคือเหตุปัจจัยของ state ที่เรียกว่า ปล่อยวาง?
เหตุแห่งการปล่อยวางคือการยอมรับ
ทดสอบง่ายๆ
หากเราไม่ยอมรับข้อความข้างบน เราก็จะไม่สามารถปล่อยวางได้
หากจะถามต่อไปอีกว่า แล้วอะไรคือเหตุของการยอมรับ (verb)
(คำว่า "ความ" นั้นเป็น state
คำว่า "การ" นั้นเป็น effort[verb])
การยอมรับจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีปัจจัยคือ "ความเข้าใจ" (state)
ทดสอบง่ายๆ
หากเราไม่เข้าใจถ้อยคำนี้ เราก็จะไม่สามารถยอมรับได้
และความเข้าใจจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย การดู การฟัง การคิด การไต่ถาม เป็นเหตุ
กล่าวโดยสรุปการปล่อยวางเป็นผลพวงของการสื่อสาร
เราฝึกสติฝึกจิตฝึกสมาธิกันไปทำไม?
สิ่งที่เราต้องใช้จากผลลัพธ์ของความพากเพียรเหล่านั้นก็เพื่อช่องว่างช่วงเวลาขณะสั้นๆในความเอะใจของเราเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์บางอย่างขึ้น
⚡ ซึ่งช่วงเวลานั้นจะมีมากพอให้เราตัดสินใจได้ว่า
จะยอมรับแล้วปล่อยมันไป
หรือจะไม่ยอมรับ แล้วสร้างเหตุปัจจัยใหม่เพื่อแก้ไขมัน
หรือไม่ยอมรับ แล้วพาตัวเองออกมาจากมัน ⚡
ธรรมชาติไม่มีอะไรถูกหรือผิด
ถูกหรือผิด มีแต่มนุษย์ ตัดสินตามสมมุติกันเอาเอง
แม้แต่ในโลกของสัตว์ก็ไม่มีถูกผิด อย่าว่าแต่ธรรมชาติอย่างอื่น ดิน หิน น้ำ ฟ้า อากาศ ต้นไม้ ทะเล
ดังนั้น เมื่อสถานการณ์ในชีวิตของเราเกิดขึ้น
เราอาจจะถามตัวเองว่า ยังมีอะไรที่ฉันไม่เข้าใจในสิ่งนี้?
เมื่อเราเข้าใจมันแล้ว เราอาจจะถามตัวเองต่อไปอีกหน่อยว่า
ฉันยอมรับในสิ่งนี้ได้ไหม?
เมื่อคำตอบในใจออกมาว่า "ได้"
state แห่งการปล่อยวางจะออกมาเอง
จริงๆแล้วจิตนั้นฝึกไม่ได้ แต่นั่นเป็นอืกเรื่องหนึ่ง
ขอให้รู้ธรรมโดยไม่เข้าไปแทรกแซงมัน ขออวยพร
บทความถัดไป
บทความก่อนหน้านี้
โฆษณา