5 ก.พ. 2020 เวลา 01:22 • ไลฟ์สไตล์
ตอนที่ 3 แบ่งเงินเป็น 4 ส่วน
เมื่อควบคุมความต้องการทางเพศไม่ได้ ก็ต้องแสวงหา โดยการไปอบายมุข
ข้อที่ 2 คือเที่ยวกลางคืน ซึ่งจริงๆ ก็คือเที่ยวผู้หญิงนั่นแหละ เที่ยวไปเที่ยวมา ก็เกิดไปหลงรักผู้หญิงประเภทนั้นเข้า พอหลงรักแล้ว ก็ทำให้เขาต้องรักตัว ทำยังไงให้เข้ารักตัวล่ะ ก็คืออบายมุข 
ข้อที่ 3 ดูการละเล่น พาผู้หญิงไปดูการละเล่นต่างๆ เพื่อเอาอกเอาใจ เมื่อเอาอกเอาใจ มันก็มีค่าใช้จ่าย เงินที่หามาไม่พอจ่าย ทำไงล่ะ ก็ต้องเสี่ยงโชค ซึ่งก็เป็นที่มาของอบายมุข
ข้อที่ 4 คือ ติดการพนัน ตอนแรกก็เล่นอยากได้ แต่มันเสีย ก็เลยเล่นเพื่ออยากได้คืน แต่มันก็ยิ่งเสีย ถ้าไม่เสียก็ต้องโกง แล้วจะศึกษาวิธีโกงมาจากใครล่ะ ซึ่งก็เป็นที่มาของอบายมุข
ข้อที่ 5 คือ คบคนชั่วเป็นมิตร เพื่อศึกษาวิธีโกงจากเขา เมื่อได้ทรัพย์ที่ได้มาจากการโกง แล้วจะทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริตทำไม จึงเป็นที่มาของอบายมุข
ข้อที่ 6 คือ เกียจคร้านการทำงาน 
ทั้ง 6 ข้อนี่แหละ เป็นตัวทำลายความขยันของเรา
ต่อไปเรามาดู หลักธรรม “ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์” ข้อที่ 2
2 อารักขสัมปทา แปลตามศัพท์ว่า ถึงพร้อมด้วยการรักษา หมายถึง รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ให้เป็น เรามาดูมาตรฐานการเก็บรักษาทรัพย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากันสักหน่อย ฟังแล้วก็ลองมานึกถึงเราว่า เราเข้าใกล้มาตรฐานของพระองค์แค่ไหนนะ
พระองค์ตรัสไว้ในหลักธรรมที่ชื่อว่า “โภควิภาค” แปลตรงๆ เลยว่า แบ่งทรัพย์ หรือ เงินที่เราหามาได้เป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน
เอาเก็บไว้ใช้เลี้ยงดูตัวเอง และ ครอบครัว ให้มีความสุข 1 ส่วน หรือ 25%
เอาไว้ใช้ในการลงทุน 2 ส่วน หรือ 50%
เก็บเอาไว้ใช้ในคราวจำเป็น 1 ส่วน หรือ 25%
นี่คือมาตรฐานการเก็บเงินของพระพุทธองค์นะ เราทำได้แค่ไหนของมาตรฐานเอ่ย ถ้ายังทำไม่ได้ตามมาตรฐาน ก็ต้องย้อนกลับไปดูข้อที่ 1 นะ คือ “อุฏฐานสัมปทา” ว่าเราขยันพอหรือยัง ถ้าคิดว่าเราก็ขยันแล้วนะ แต่ทำไมยังเก็บเงินไม่ได้ตามมาตรฐานของพระพุทธองค์ ก็ต้องมาดูข้อที่ 3 แล้วล่ะ
 
3 กัลยาณมิตตตา แปลตามศัพท์ว่า “มิตรดี” หรือ มีเพื่อนดี  ถ้ามีเพื่อนดี เพื่อนก็จะแนะนำเราว่าจะทำยังไงให้เราสามารถหาเงินได้ และเก็บเงินได้ตามมาตรฐานของพระพุทธองค์ และจะเอาเงินที่เก็บได้ตามมาตรฐานน่ะไปลงทุนอะไรให้มันงอกเงยขึ้นมา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา