12 ก.พ. 2020 เวลา 10:17 • ความคิดเห็น
การรักษาตน VS การรักษาผู้อื่น
บทความนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดเกี่ยวกับการรักษา "ตนเอง" และการรักษา "ผู้อื่น" จะมีการรักษากันอย่างไร ลองอ่านเรื่องราวต่อไปนี้แล้วจะเข้าใจครับ
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
🌟เรื่องของนักกายกรรมไต่ราวไม้ไผ่🌟
อาจารย์กับลูกศิษย์ได้แสดงกายกรรมไต่ราวไม้ไผ่ ขณะที่ยกไม้ไผ่ตั้งขึ้นไว้แล้ว อาจารย์ได้กล่าวกับลูกศิษย์ว่า
"มาเถิดสหาย มาขึ้นไม้ไผ่ แล้วยืนอยู่บนคอของเรา"
ผู้เป็นศิษย์รับคำของอาจารย์ จึงขึ้นราวไม้ไผ่ ยืนอยู่บนคอของอาจารย์
จากนั้นอาจารย์ได้กล่าวกับลูกศิษย์ต่อไปว่า
" ท่านจงรักษาเรา เราจะรักษาท่าน"
เราทั้งสองต่างคุ้มครองกันและกัน ต่างรักษากันและกันอย่างนี้ จะแสดงศิลปะและจะลงจากราวไม้ไผ่ได้โดยปลอดภัย
เมื่ออาจารย์กล่าวอย่างนี้ ลูกศิษย์จึงตอบอาจารย์ไปว่า
"ข้าแต่ท่านอาจารย์ เรื่องนี้จะไม่เป็นเช่นนั้น" ทำไมท่านจึงให้กระผมรักษาท่าน แล้วท่านจะรักษากระผม
เอาอย่างนี้ กระผมคิดว่า
ท่านจงรักษาตัวท่านเอง ผมก็จะรักษาตัวผมเองเหมือนกัน เราทั้งสองต่างคุ้มครองตน ต่างรักษาตนอย่างนี้ จะสามารถแสดงศิลปะและจะลงจากไม้ไผ่ได้โดยปลอดภัย
🌟 ท่านเห็นด้วยกับใคร ? อาจารย์ หรือ ลูกศิษย์ 🌟
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
พระพุทธเจ้าตรัสต่อในเรื่องนี้ว่า
“บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน”
คำถามคือ ?
1. เราจะรักษาตนอย่างไร จึงจะชื่อว่า “รักษาผู้อื่น”
2. เราจะรักษาผู้อื่นอย่างไร จึงจะชื่อว่า “รักษาตน”
บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น เป็นอย่างไร ? ที่ชื่อว่ารักษาผู้อื่น ด้วยการส้องเสพ ด้วยการเจริญ ด้วยการกระทำให้มากซึ่งธรรมะ
🌟 การศึกษาธรรมะ ชื่อว่าเป็นการรักษาตน หากใครที่อยากรักษาตนเราต้องศึกษาธรรมะให้มาก ๆ มากถึงมากที่สุด เพราะการรักษาตนโดยให้ตนมีธรรมะนั้น ถือเป็นการรักษาผู้อื่นไปด้วย ลองคิดดูง่าย ๆ ครับ บุคคลผู้มีศีล 5 จะไปทำให้ใครเดือดร้อนไหม จะไปฆ่าใครไหม จะไปลักขโมยอะไรของใครไหม น่าจะพอนึกภาพออกนะครับ
บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตน เป็นอย่างไร ? ที่ชื่อว่ารักษาตน ด้วยความอดทน ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยความมีจิตประกอบด้วยเมตตา ด้วยความเอ็นดู
🌟 การอดทน การไม่เบียดเบียนผู้อื่น รวมถึงการมีเมตตาต่อผู้อื่น การกระทำแบบนี้ถือเป็นการรักษาผู้อื่น ในขณะเดียวกันจะเป็นการรักษาตนเองด้วย เราเมตตาผู้อื่น เราไม่เบียดเบียนเขา เขาจะเบียดเบียนเราไหม ?
ทุกวันนี้ผู้คนไม่ศึกษาธรรมะ ไม่มีความอดทน เต็มไปด้วยการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ผมบอกไว้เลยนะครับ "ธรรมะ" หากเราไม่เข้าไปศึกษา สิ่งเหล่านี้จะหายไปจากใจคนในที่สุด เมื่อถึงตอนนั้นเราจะมาโทษโน่นโทษนี่ไม่ได้นะครับ
เราเกิดในยุคขาลงของอายุขัยของมนุษย์ มนุษย์จะเลวลงเรื่อย ๆ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปจะลดน้อยลง คำว่า พ่อ แม่ พี่ น้อง จะหายไป มนุษย์จะฆ่ากันได้ง่าย ๆ โดยที่ไม่รู้สึกอะไร การฆ่าคนก็ไม่ต่างอะไรกับผักปลา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา