13 ก.พ. 2020 เวลา 13:21 • ประวัติศาสตร์
รู้หรือไม่!
แม่น้ำเจ้าพระยา(บางส่วน)ถูกขุดเพื่อย่นระยะการเดินเรือในยุคอยุธยา
หลายคนคงทราบและหลายคนอาจจะไม่ทราบ ผมจะมาสรุปให้เห็นภาพง่ายๆ กับการขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา
แผนที่การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสามครั้งในสมัยอยุธยา เส้นสีน้ำเงินคือแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม เส้นสีเขียวคือแนวคลองลัด
มีการขุดเส้นทางลัดขึ้นบนแม่น้ำเจ้าพระยา ในยุคอยุธยา 3 ครั้ง
- คลองลัดบางกอก (1) พ.ศ. 2065 รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
- คลองลัดบางกรวย (2) พ.ศ. 2081 รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
- คลองลัดนนทบุรี (3) พ.ศ. 2179 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
หากย้อนไปหลายร้อยปีที่ผ่านมา ลักษณะของแม่น้ำสายนี้คดเคี้ยวมากเพราะไหลผ่านที่ราบลุ่มที่อันใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช พระมหากษัตริย์ กรุงศรีอยุธยา ได้ทรงมีพระราชดำริ โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัด ลงแผ่นดินที่บริเวณคุ้งน้ำระหว่างบางกอกน้อยและบางกอกใหญ่ เพื่อย่นเวลาการเดินเรือ
การเดินเรือผ่านเส้นทางที่อ้อมนี้ต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน ตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น แต่เมื่อมีการขุดคลองการเดินเรือจึงใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
อย่างที่เราทราบกันดี กรุงศรีอยุธยามีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น มีเรือสำเภาจากยุโรปและจักวรรดิต่างๆ โดยใช้เส้นทางทะเลจากอ่าวไทยเดินเรือเข้าสู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสมุทรปราการ เดินทางขึ้นเหนือสู่กรุงศรีอยุธยา
อย่างไรก็ดีข้อมูลของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ อันเปรียบเสมือนหัวใจหลักของเศรษฐกิจ การค้า และการเชื่อมสัมพันธไมตรี ตั้งแต่ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงยุครัตนโกสินทร์
กดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้ผมค้นคว้า เพื่อพาทุกท่านเจาะย้อนเวลาไปด้วยกัน
ขอบพระคุณ คุณผู้อ่านทุกท่านครับ
แหล่งที่มาจากหนังสือ: กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร
โฆษณา