15 ก.พ. 2020 เวลา 02:03 • ประวัติศาสตร์
Covid 19 VS โรคห่า! ความน่ากลัวที่คนไทยไม่เคยลืม
วันนี้เจาะเวลาหาอดีตจะพาคุณผู้อ่านไปพบกับเหตุการโรคระบาดในอดีตที่พรากชีวิตประชาชนนับหมื่น ความน่ากลัว ของโรคห่า ที่มาของคำว่า “แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศ” และ ไวรัสโคโรนาที่กำลังระบาดในปัจจุบัน
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดชื่ออย่างเป็นทางการให้โรคที่เกิดจากการติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เรียกว่า “COVID-19” ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งขึ้นเป็น 1,017 ราย และมีผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อกว่า 42,708 ราย ข้อมูลในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ที่เริ่มติดต่อสู่มนุษย์และระบาดที่เมืองอู่ฮั่น (Wuhan) มณฑลเหอเปย์ (Hubei)
เป็นปัญหาโรคระบาดครั้งใหญ่ล่าสุดที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวเฝ้าระวังและพยายามป้องกัน
ภาพเรียลทามการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
ไวรัสโคโรน่า (Coronavirus) เป็นชื่อไวรัสตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่รุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ก่อนหน้านี้พบเชื้อไวรัสโคโรน่าที่ติดต่อในมนุษย์แล้ว 6 สายพันธุ์
ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ไม่แพร่กระจายทางอากาศ การเดินสวนกันหรืออยู่ในสถานที่เดียวกันไม่ทำให้ติดเชื้อ แต่การสัมผัสระยะใกล้ การอยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการไอ จาม แล้วมีฝอยละอองหรือมีน้ำมูกกระเด็นมาโดนจะทำให้ติดเชื้อได้
อาการของคนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าขึ้นอยู่กับไวรัสแต่ละสายพันธุ์ อาการที่พบบ่อยทั่วไป คือ อาการทางระบบหายใจ อย่างมีไข้ ไอ หายใจถี่ และหายใจลำบาก ในเคสที่รุนแรงอาจทำให้เกิดโรคปอดบวม โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ไตวาย และรุนแรงมากถึงขั้นเสียชีวิต
เนื่องจาก 2019-nCoV เพิ่งพบการระบาดในมนุษย์จึงยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ส่วนการพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ก็ต้องใช้เวลาหลายปี
เมื่อนึกถึงโรคระบาดครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในอดีต ปีระกาห่าลง ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย
ทั้งที่จริงแล้วก็มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามพระราชบัญญัติสำ­­หรับโรคระบาด ปี พ.ศ. 2456 ระบุโรคห่าไว้ 3 โรค คือ กาฬโรค อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ
อหิวาตกโรค ติดต่อกันได้อย่างไร
โดยปกติแล้วเมื่อเชื้อของอหิวาตกโรคเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะสำแดงอาการขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง - 5 วัน แต่เท่าที่มีการพบโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1-2 วัน ซึ่งอาการจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่อาการไม่รุนแรงจะเริ่มจากการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำวันละหลายครั้ง แต่จำนวนอุจจาระจะไม่เกินวันละ 1 ลิตร ทั้งนี้ในผู้ใหญ่อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
การติดต่อของโรคนี้เกิดขึ้นจากกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปะปนอยู่ ซึ่งเชื้อ Vibrio cholerae สายพันธุ์ O1 biotypes El Tor สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้นานเป็นพิเศษ โดยเชื้อดังกล่าวมักพบได้ในอาหารทุกชนิด แต่จะพบมากในอาหารทะเลดิบ หรืออาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ส่วนการติดต่อจากคนสู่คนนั้นพบได้น้อยมากเลยทีเดียว
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อหิวาตกโรค หรือโรคลงราก ที่ทำให้ผู้คนอาเจียนและท้องร่วงอย่างหนัก ระบาดครั้งใหญ่ทั่วพระนครในปี พ.ศ. 2363 และในตอนนั้นยังไม่มีวิธีรักษาจึงมีผู้คนล้มตายนับหมื่น ทำให้ฝังและเผาศพไม่ทัน ซากศพจึงกองพะเนินอยู่บริเวณวัดสระเกศและถูกแร้งนับพันจิกกินเป็นที่น่าสยดสยอง จึงเป็นที่มาของคำว่า "แร้งวัดสระเกศ"
โดยสมัยก่อนมีกฎห้ามเผาศพในเมือง ศพจึงต้องถูกนำออกไปนอกเมืองผ่านทางประตูผี ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดสระเกศมากที่สุด
วัดสระเกศ หรือ ภูเขาทอง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงโปรดเกล้าฯ ประกอบพระราชพิธีอาพาธพินาศ เพื่อปลุกปลอบใจราษฎร และเป็นการปัดรังควานแก่พระนคร โดยมีการยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดคืน พร้อมทั้งอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุแห่รอบพระนคร ทรงรักษาศีล สละพระราชทรัพย์ไถ่ชีวิตสัตว์ ปล่อยนักโทษ และออกประกาศห้ามประชาชนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อยู่แต่ในบ้าน ซึ่งหลังพระราชพิธีนี้เสร็จ ฝนก็ตกลงมาห่าใหญ่ ทำให้อหิวาตกโรคค่อย ๆ หายไป
กระทั่งปี พ.ศ. 2392 อหิวาตกโรค กลับมาระบาดหนักอีกครั้ง โดยมีจุดเริ่มต้นที่ปีนังแล้วแพร่ระบาดมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ รุนแรงจนเรียกได้ว่า มีผู้เสียชีวิตถึง 15,000-20,000 คน ภายในเวลาเพียง 1 เดือน และมีผู้เสียชีวิตรวมมากถึง 40,000 คนตลอดฤดูการระบาดของโรค การระบาดในครั้งนั้นถูกเรียกว่า "ห่าปีระกา" หนึ่งในผู้เสียชีวิตมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รวมอยู่ด้วย
เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
โรคห่า ยังคงเวียนกลับมาระบาดในช่วงหน้าแล้งเป็นประจำ จนกระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้มีเหล่ามิชชันนารีและหมอนำการรักษาแบบตะวันตกเข้ามายังประเท­­ศไทย และสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำสูตรยาวิสัมพยาใหญ่และยา­­น้ำการบูรหยอดรักษาผู้ป่วย ทำให้การแพร่ระบาดลดลง
พร้อมกันนั้นได้ค้นพบสาเหตุการเกิดอหิวาตกโรคว่ามาจากสัตวตัวเล็ก ๆ ที่อยู่ในน้ำ ที่เป็นต้นตอของอาการป่วย เป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีเชื้อโรค ทำให้มีการจัดการด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อม ทั้งเรื่องการจัดระบบน้ำ การจัดสุขาภิบาลขึ้นใหม่ ทำให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้พอสมควร
หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์
ทั้งนี้ การป้องกันโรคระบาดยังคงมีวิวัฒนาการขึ้นเรื่อย ๆ ตามยุคสมัย โดยเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่หมอบรัดเลย์นำการปลูกฝีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษเข้ามาในประเทศไทย บวกกับการจัดการเรื่องสุขอนามัยประชาชนที่ดีขึ้น โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโอสถศาลา และสถานพยาบาลชั่วคราวตามหัวเมืองใหญ่ ๆ เพื่อรักษาราษฎรตามพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้การระบาดของโรคห่าไม่รุนแรงมากนัก
และนี่คือจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งโรงพยาบาลสมัยใหม่ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีการผลิตน้ำประปาขึ้นในกรุงเทพฯ ซึ่งเมื่อการสุขาภิบาลดีขึ้น ประชาชนมีความรู้ด้านสุขอนามัยที่ดีขึ้น จึงทำให้อหิวาตกโรคเริ่มหายไป คนไทยรอดตายจากโรคระบาดเหล่านี้มากขึ้นตามกาลเวลา
กดไลค์ กดแชร์ หรือ กดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ🙏🙏🙏
โฆษณา