17 ก.พ. 2020 เวลา 05:40 • ถ่ายภาพ
เผยเคล็ดลับถ่าย Panning Shot ฉบับมือใหม่ก็ทำตามได้
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีคำถามลูกเพจใน Blockdit ถามเข้ามาว่า อยากให้ช่วยแชร์เทคนิคการถ่ายแบบ Panning Shot ให้หน่อย ช่วงนี้กำลังฝึกอยู่ วันนี้เลยอยากจะมาแชร์เทคนิคที่ส่วนตัวใช้อยู่ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ
เผยเคล็ดลับถ่าย Panning Shot ฉบับมือใหม่ก็ทำตามได้
โดยหลักการทำ Panning Shot มีง่าย ๆ อยู่ 3 ข้อ ที่ต้องรู้
1. ความเร็วในการแพนกล้องของตัวเรากับวัตถุต้องเท่ากัน หรือ ใกล้เคียง
ในส่วนของข้อแรกนี้ อาจจะต้องใช้ประสบการณ์การวิเคราะห์ความเร็ววัตถุ ซักหน่อย โดยอาศัยการฝึกหัดถ่ายวัตถุความเร็วสูงเรื่อย ๆ
เผยเคล็ดลับถ่าย Panning Shot ฉบับมือใหม่ก็ทำตามได้
โดยเราต้องแพนกล้องหันตามวัตถุให้ทัน และ มีความเร็วใกล้เคียง หรือ เทียบเท่า ซึ่งการแพนกล้องต้องพยายามเคลื่อนกล้องให้นิ่ง และ สมูทที่สุด ถ้า Handheld หันไม่ทัน หรือ ไม่นิ่ง แนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้อง หรือ Gimbal ช่วยนะครับ
ยกตัวอย่างพื้นที่ฝึกฝนง่าย ๆ และ ฟรี นะครับ เช่น สวนสาธารณะที่มีคนวิ่ง หรือ ปั่นจักรยานต์ สนามแข่งรถต่าง ๆ เป็นต้น
2. ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้นาน แต่เรายังถือไหว ไม่สั่น
เมื่อเราแพนกล้องตามความเร็วของวัตถุทัน และ ชำนาญแล้ว สิ่งที่เราจะได้มาเลย คือ การรู้ว่าวัตถุไหน ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าไหร่ เพื่อหยุดวัตถุ เช่น ถ้าถ่ายรถจักรยานต์ที่ปั่นผ่านมา อาจจะใช้ประมาณ 1/125 - 200 ก็จะหยุดได้แล้ว ถ้าปั่นมาไม่ได้เร็วมาก
พอเรารู้ความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้หยุดวัตถุแล้ว ให้เราลดชัตเตอร์สปีดให้ช้าลง ถ้าในตัวอย่างสมมติ ก็อาจจะให้เหลือประมาณ 1/30 หรือ น้อยกว่านั้นก็ได้ ถ้าอยากให้ฉากหลังเบลอ ๆ เหมือนวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง แต่ทั้งนี้ก็อย่าให้ช้าเกินจนวัตถุที่เราต้องการเบลอไปด้วย
1
เผยเคล็ดลับถ่าย Panning Shot ฉบับมือใหม่ก็ทำตามได้
ซึ่งพอเราตั้งชัตเตอร์สปีดเราช้ามาก ๆ มือที่เราใช้ถือกล้อง คงจะสั่นไหวแน่นอน ซึ่งก็ต้องพึ่งพาระบบกันสั่นในตัวกล้อง หรือ เลนส์ว่าจะทำงานกันได้กี่สต็อป ก็พอช่วยได้บ้าง หรือ อาจจะใช้ขาตั้งกล้อง หรือ gimbal ช่วยเพิ่มก็ได้ ซึ่งกล้องในปัจจุบันก็มีความสามารถในการทำให้เราถือกล้องได้ในสปีดต่ำ ๆ อยู่มากมาย
ระมัดระวังกันในเรื่องนี้ด้วยนะครับ ผมแนะนำว่าให้ลองฝึกถ่ายวัตถุซักหนึ่งอย่างให้ชินกับความเร็วก่อน ถ่ายให้ชำนาญจนได้ภาพที่ต้องการ ค่อยเปลี่ยนนะครับ
เผยเคล็ดลับถ่าย Panning Shot ฉบับมือใหม่ก็ทำตามได้
แล้วค่า Setting อื่น ๆ ต้องปรับยังไง ?
ทั้งหมดที่ผมบอกมานี้ ผมแนะนำให้ใช้โหมด S หรือ TV นะครับ
ค่า F ให้กล้องจัดการไปเลยครับ Auto
ค่า ISO ก็ Auto
ค่า White Balance ตั้งเป็น Auto
3. ตั้งค่าระบบโฟกัสและระบบถ่ายภาพต้องเป็นการแบบต่อเนื่อง
เผยเคล็ดลับถ่าย Panning Shot ฉบับมือใหม่ก็ทำตามได้
สุดท้ายที่อยากให้ลองหันมาใช้กันนะครับ ก็คือ การตั้งระบบโฟกัสเป็นการโฟกัสแบบต่อเนื่อง โดยกล้องแต่ละค่ายจะไม่เหมือนกันให้สังเกต จากหน้าจอในส่วนที่เขียนว่า AF ให้หาคำที่เขียนว่า Continue AF ซึ่งค่าเริ่มต้นที่กล้องให้มาจะเป็นแบบ Single ซึ่งไม่เหมาะกับการถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนที่ ให้ลองปรับเปลี่ยนในจุดนี้กันด้วยนะครับ
ระบบการ Drive หรือ ระบบการถ่ายภาพต้องเป็นแบบถ่ายภาพต่อเนื่องนะครับ ซึ่งในกล้องปัจจุบันจะมีแยกไว้ชักเจน และ มีถึงขั้นถ่าย แบบ High speed แบบเก็บเสียงด้วย
ทั้ง 3 ข้อที่ผมกล่าวมานี้เป็นหลักการของการถ่าย Panning Shot ที่ผมใช้นะครับ หมั่นฝึกฝนถ่ายเยอะ ๆ ถ่ายวัตถุหลาย ๆ แบบนะครับ แล้วเราจะจับทางได้เอง ตอนผมเริ่มแรก ผมก็เริ่มถ่ายจากคนวิ่งในส่วนสาธารณะนี่แหละครับ ด้วยเลนส์ Kit ติดกล้องธรรมดา ๆ พอเริ่มเก่งแล้ว ก็เริ่มเปลี่ยนเลนส์ใช้ดู ผลลัพธ์ของภาพที่ได้ก็ต่างออกไป แนะนำให้ลองใช้พวกเลนส์เทเลโฟโต้ดูนะครับ จะช่วยให้เบลอหลัง ได้ง่ายขึ้น ถ้าเหมือนที่ช่างภาพสายกีฬาถ่ายนักกีฬาเขาใช้กัน
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่ฝึกถ่าย Panning Shot อยู่นะครับ
หากเพื่อน ๆ มีคำถามสงสัยตรงไหนทิ้งคอมเมนต์ถามกันเข้ามาได้เลยนะครับ ผมจะเข้ามาตอบให้แน่นอนครับ
ถ้าหากบทความนี้พอจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ฝากกดแชร์และติดตามเป็นกำลังให้พวกเราด้วยนะครับ
แล้วเรื่องกล้องและการถ่ายภาพจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป " Camera So Easy เรื่องกล้องเรื่องง่าย "

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา