22 ก.พ. 2020 เวลา 10:00 • ธุรกิจ
เรื่องเด่นประเด็นร้อน
“กรณี GM Motor ถอนตัวจากประเทศไทย” ตอนที่ 2
ข่าวจาก Workpoint NEWS
สาเหตุการขาดทุนแล้วต้องถอนตัวแบบ 100% ของ GM Motors จากประเทศไทยและอีกหลายประเทศนั้น “ยุคใหม่การตลาดของไทย” ค่อนข้างมั่นใจว่ามาจากปัจจัยภายในมากกว่า 3 ใน 4 ของปัญหา
ทำไมจึงเชื่อเช่นนั้นนะหรือ นั่นก็เพราะว่าคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันสามารถทำกำไรและเติบโตได้เป็นส่วนมาก และผู้ที่ซื้อกิจการคือ Great Wall Motors เขาจะซื้อไปทำไมถ้ามองไม่เห็นโอกาสทำกำไรได้
ซึ่งเรื่องนี้เรามาลองใช้ดัชนีที่เคยนำเสนอไปในตอน “ในวันที่ยอดขายตกฯ คนส่วนมากคิดว่าเกิดจากอะไร” 4 อย่างแบบง่ายๆดูกันว่า GM Motors ได้ตอบโจทก์เรื่องเหล่านี้ไหม โดย 4 หัวข้อหลักคือ
1.ผู้ซื้อมีปัญหาหรือมีโอกาสที่ใหญ่พอหรือไม่
2.ผู้ซื้อเป็นเจ้าของปัญหาหรือไม่
3.ผู้ซื้อรู้สึกไม่พอใจกับสินค้าที่อยู่ในปัจจุปัน
4.ผู้ซื้อเชื่อมั่นในว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมสำหรับสินค้าและบริการที่มี
ภาพข่าวจาก Thai PBS News
1.ผู้ซื้อมีปัญหาหรือมีโอกาสที่ใหญ่พอหรือไม่
นี่คือเรื่องสำคัญประการแรก การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยของ GM Motors และใช้ไทยเป็นฐานการผลิตในการส่งออก ลูกค้าเป้าหมายมีปัญหากับสินค้าที่เขาผลิตขนาดไหน เรื่องนี้ความต้องการใช้ยนต์ยนต์โดยสารเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาใหญ่มาก เพราะรถยนต์มีความจำเป็น ทั้งใช้เดินทางและใช้มาประกอบธุรกิจอย่างปฏิเสธ์ไม่ได้ เรื่องนี้จึงไม่น่าใช่สาเหตุ
2.ผู้ซื้อเป็นเจ้าของปัญหาหรือไม่
ในส่วนนี้คนซื้อรถยนต์ส่วนมากก็เป็นคนที่ต้องการใช้รถยนต์ในการแก้ปัญหาอยู่แล้ว ด้วยราคาที่ต้องจ่ายไปการซื้อของผู้ซื้อถ้าไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์เองเพื่อแก้ปัญหา ก็คงมีส่วนน้อยที่จ่ายเงินจำนวนนี้ในการแก้ปัญหาให้ผู้อื่น เรื่องนี้จึงตกไปเช่นกัน
3.ผู้ซื้อรู้สึกไม่พอใจกับสินค้าที่อยู่ในปัจจุปัน
หัวข้อนี้น่าจะเริ่มเห็นชัดขึ้นกับกรณีที่เกิดขึ้นนี้ เพราะว่าผู้ที่มาซื้อรถ Chevrolet ใช่คนที่ไม่พอใจรถที่ใช้ในปัจจุบันหรือปล่าว รถยนต์ค่ายใหญ่ๆสร้างปัญหาให้เขาจริงหรือปล่าว จนทำให้ต้องเปลี่ยนมาใช้ Chevrolet แทน
เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญมาก ดูได้จากส่วนแบ่งการตลาดที่มีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 1% กว่าๆของ GM Motors ประเทศไทยแล้ว เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าข้อนี้ลูกค้าไม่ได้มีปัญหากับสิ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
แต่โจทก์ที่สำคัญจริงๆคือ GM Motors ไม่ได้ตอบโจทก์ลูกค้าได้อย่างชัดเจนว่าทำไมต้องเปลี่ยนมาใช้ Chevrolet ต่างหาก จากประสบการณ์ตรงการใช้รถ Chevrolet พบว่าจุดขายเขาคือความทนทาน ใช้วัสดุที่ดีกว่าในราคาเดียวกัน ใช้มาตรฐานยุโรปและอเมริกามาผลิต
แต่ทั้งหมดทั้งมวลล้วนแล้วแต่ออกมาจากภายในสู่ภายนอก ไม่ได้ตอบโจทก์สำคัญของลูกค้าที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นราคาขายต่อที่ราคาร่วงลงมาเยอะมากหากคิดจะขายต่อ อะไหล่ที่ใช้ก็มีราคาสูง อาจจะมาจากการผลิตต่อครั้งน้อยกว่าจึงทำให้ต้นทุนสูงกว่า อัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน
หรือแม้แต่อุปกรณ์การอำนวยความสะดวกในรถ เช่น ระบบการแจ้งเตือนการรัดเข็มขัด ระบบการทำงานเสริมต่างๆในรถ ที่ค่ายรถญี่ปุ่นทำได้ดีกว่ามาก รวมถึงค่ารถน้องใหม่เช่น MG ด้วย (ทั้งที่เดิมเป็นรถสัญชาติอังกฤษ)
1
นี่ก็น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ GM Motors ไม่ประสบความสำเร็จในตลาดประเทศไทย
2
ภาพข่าวจาก Thao PBS News
4.ผู้ซื้อเชื่อมั่นในว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมสำหรับสินค้าและบริการที่มี
เป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องที่สำคัญ เพราะก่อนหน้านี้ก่อนที่จะประกาศถอนตัวในครั้งนี้ ลูกค้าส่วนมากก็ไม่ได้แน่ใจในสินค้าและบริการของ GM Motors เท่าไรนัก
ซึ่งเราดูได้จากอัตราการเติบโตของบริษัทได้ สืบเนื่องจากข้อ 3 ลูกค้าส่วนมากไม่มั่นใจว่ารถจะขายต่อได้ราคาดีขนาดไหน ที่เจอมาเองคือรถยนต์ญี่ปุ่นรุ่นใกล้กันราคาซื้อใกล้กัน สภาพรถพอๆกัน แต่ราคาขายต่อต่างกันเกือบสองแสนบาท
อีกเรื่องคือความมั่นใจในการบริการของ GM Motors จะมีได้ขนาดไหน ด้วยยอดขายน้อยศูนย์บริการจึงน้อยด้วย การซื้ออะไหล่ก็หายากด้วย บางครั้งก็ขาดตลาดไปนาน ทั้งยังมีตัวเลือกน้อยกว่าด้วย
ที่มากกว่านั้นไม่ได้เห็นการปรับปรุงแบบเป็นรูปธรรมออกมาให้เห็นถึงความต่างที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น แต่มีการใช้กลยุทธ์ลดราคาแทน ซึ่งจะเห็นได้ในการโฆษณาตามสื่อต่างๆ
ที่มา: ข่าวหุ้น
เรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้เป็นกรณีศึกษาที่สำคัญมากกับประเทศไทยและคนไทย โดยเฉพาะกับผู้ประกอบกิจการต่างๆ ที่ต้องเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นของ GM Motors วัฒนธรรมองค์กรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการขับเคลื่อนธุรกิจ การประกอบการที่มองฝั่งเดียวคือยอดขายและผลงานของผู้บริหารที่เป็นตัวเลขที่จับต้องได้ในช่วงสั้นๆ จึงไม่ตอบโจทก์ในการที่จะทำให้ธุรกิจคงอยู่ได้ในระยะยาว
1
ที่มา: Autoinfo.co.th
เรามีกรณีศึกษาได้จากหลายรายที่มีการเผยแพร่ออกมาผ่านให้เรารับทราบแล้ว อาทิ Japan Airline ที่พลิกจากขาดทุนมามีกำไรได้ในระยะเวลาไม่กี่ปี (ถ้าจำไม่ผิดนะ) กรณีศึกษาจาก IBM ที่พลิกวิกฤติกลับมาได้จากการที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการดำเนินธุรกิจ และอีกหลายรายที่เราสามารถหาศึกษาได้
ในโลกเรานี้มี 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาคลอดเวลาให้เราพบเจอ ทำเล็กๆก็เจอแบบเล็กๆทำใหญ่ๆก็เจอแบบใหญ่ๆ นั่นก็คือความเสี่ยงและความไม่แน่นอน สิ่งที่เราสามารถจัดการมันได้นั่นก็คือความเสี่ยง เพราะเรารู้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นอยู่แล้ว ส่วนความไม่แน่นอนชื่อก็บอกอยู่แล้วเป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้มาก่อน แต่หากจะเรียนรู้และเตรียมการรับมือจากภายใน เชื่อว่าสามารถจะทำให้ธุรกิจดำเนินไปต่อได้อีกนาน ส่วนจะยาวนานขนาดไหนหากเกิดจากความเสี่ยงจะอยู่ได้อย่างยาวนาน ส่วนความไม่แน่นอนไม่มีใครทราบได้
Credit: https://pagecentertraining.psu.edu
เรื่องนี้เราสามารถเรียนรู้จากเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ได้ อย่างน้อยเราก็สามารถลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้
ขอบคุณข้อมูลจาก:
-ข่าว Work Point
-Thai PBS
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย) ตอนล่าสุด
โฆษณา