27 ก.พ. 2020 เวลา 04:45 • ธุรกิจ
ธุรกิจเติบโตปีละ 100% หรือเท่าตัว มาตลอด 10 ปีและยังคงเติบโตขึ้นได้อีก
ที่มา: Facebook Coco Home Decor
เป็นร้านขายส่งสินค้าตกแต่งภายในหนึ่งในผู้ผลิตหลักอุปกรณ์ตกแต่งร้านให้ Café Amazon ที่จำหน่ายในรูปแบบเงินสดเท่านั้น
Coco Home Décor ร้านจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านรูปแบบ Rustic Vintage ที่ใช้วัสดุหลักจากไม้เหล็กและผ้า
เริ่มต้นจากการมองหาธุรกิจ ทำในช่วงที่ยังเป็นพนักงานประจำ จากคนที่ไม่เคยทำธุรกิจมาก่อน คุณกอล์ฟ ที่เป็น Graphic design กับคุณยุ้ยแฟนที่ทำงานอยู่ Japan Airline เล็งเห็นว่าต้องมีธุรกิจของตัวเองบ้างแล้ว ซึ่งนิสัยส่วนตัวของทั้งคู่คือชื่นชอบการแต่งบ้าน
รายการแกะดำทำธุรกิจ
จึงตกลงกันว่าเริ่มต้นทำร้านจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้าน เริ่มต้นที่โครงการพาลิโอ เขาใหญ่ เพราะขับรถไปที่นั่นแล้วเจอป้ายประกาศเช่าร้านทำธุรกิจ จึงมีความสนใจที่จลองเปิดธุรกิจนี้ เพราะมองดูว่าทำเลนี้ดึงดูดลูกค้าได้ดี และแถวนั้นก็มีบ้านพักตากอากาศจำนวนมาก เชื่อว่าธุรกิจน่าจะอยู่รอดได้ในระดับหนึ่ง แต่ผลลัพธ์กลับดีเกินคาด
จุดเปลี่ยนสำคัญของทั้งคู่คือคุณยุ้ย ภรรยาคุณกอล์ฟตั้งครรภ์ ในปีที่ 2 ของการเริ่มทำธุรกิจ แล้วมองดูว่าจะอยู่เลี้ยงลูกที่เขาใหญ่หรือจะกลับเข้ามาในกรุงเทพ และก็ยังอยากจะทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับที่ทำอยู่ในปัจจุบันคือธุรกิจการตกแต่งบ้าน และมองว่าอยากมีขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น การขายส่งจึงเป็นทางเลือกของทั้งคู่ ทำเลที่ตั้งมาลงตัวที่ตลาดนัดสวนจัตุจักร
ที่มา: Facebook Coco Home Decor
เป็นรูปแบบซื้อมาขายไปและธุรกิจก็เป็นไปได้ด้วยดี และก็มองว่าธุรกิจที่เป็นผู้ค้าส่งจะต้องตัดส่วนคนกลางออกไป จึงได้ติดต่อนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน
พอเริ่มขายสินค้าก็เริ่มมีลูกค้ากลุ่มที่ต้องการให้ผลิตสินค้าให้แบบเฉพาะเจาะจงให้ ซึ่งอุปกรณ์ตกแต่งที่ใช้ต้องเป็นแบบที่ลงตัวเข้ากับสิ่งที่ลูกค้ามีอยู่แล้ว จึงได้ปรึกษากันว่าจะทำอย่างอย่างเพื่อลูกค้ากลุ่มนี้ทั้งๆที่ทำไม่เป็น แต่ต้องเริ่มที่ต้องทำแล้ว
เมื่อมองหาก็มองเห็น เพราะทั้งคู่ก็เริ่มหาความรู้จากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานสัมมนา การเข้าอบรมหลักสูตรต่างๆ และสิ่งที่สำคัญคือการอ่านหนังสือ
วันหนึ่งก็เกิดความคิดใหม่เกิดขึ้นหลังจากได้อ่านหนังสือว่า “เราต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว” จากหนังสือเรื่อง “คิดสวนทาง” มาผลิตสินค้าตอบสนองความต้องการของลูกค้าซึ่งแต่ละคนก็อยากได้ในแบบเฉพาะเจาะจง
ที่มา: Kaidee.com
ซึ่งได้รูปแบบการจัดการมาจาก ZARA ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อผ้าดังระดับโลก แต่เดิม ZARA ทำการผลิตครั้งละมากๆเพื่อให้ต้นทุนต่ำแต่ต้องแลกกับเวลาที่ช้า แล้วเขาตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมไม่ทำให้รวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันเวลา
เพราะธุรกิจแฟชั่นมาเร็วไปเร็ว จึงสร้างโรงงานผลิตที่อยู่ใกล้กับสถานที่จำหน่าย แม้ต้องแลกกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นแต่ทว่าตอบโจทก์ความเร็ว ซึ่งทำให้ลูกค้าไม่เบื่อที่จะเข้ามาเลือกสินค้าในร้าน เพราะสินค้ามีการปรับเปลี่ยนไปตลอด จำนวนครั้งที่ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำจึงมีรอบที่สูงมากๆ
มองเห็นว่าลูกค้าที่อยากได้สินค้าไม่กี่ชิ้นต้องรอเวลานาน เพราะต้องรอการผลิตจากจีน เนื่องจากโรงงานในจีนต้องผลิตสินค้าครั้งละมากๆ ซึ่งทำให้ต้องเสียเวลาในการรวบรวมปริมาณการผลิตก่อน จึงจะมีสินค้าเข้ามาจัดจำหน่าย
จึงตกลงใจว่าต้องทำเองแล้วโดยยึดรูปแบบการทำธุรกิจแบบ ZARA เพราะธุรกิจแฟชั่นเปลี่ยนแปลงเร็ว การทำเองจึงตอบสนองลูกค้ากลุ่มนี้ได้ตรงกว่า จากซื้อมาขายไปก็มาเป็นผลิตและจัดจำหน่ายเอง
ที่มา: Facebook Coco Home Decor
และด้วยวิธีคิดที่มองไปที่ลูกค้าเป็นที่ตั้ง การทำธุรกิจจึงเล็งไปเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก จากเดิมที่ร้านขายส่งสินค้าในละแวกเดียวกัน ที่บรรยากาศในร้านจะมีการจัดเรียงสินค้าเยอะๆเพราะรีบขายสินค้า และการบริการก็ไม่ได้มุ่งเน้นในการตอบสนองลูกค้าเท่าที่ควร เพราะต้องการความรวดเร็ว เพราะโดยทั่วไปมองว่าเพราะต้นทุนต่ำขายในราคาส่ง จึงไม่จำเป็นต้องแบกรับต้นทุนในส่วนนี้ไว้
แต่ทั้งคู่คิดสวนทางโดยกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ทำไมเราไม่เป็นร้านที่ Premium Service แม้จะเป็นร้านขายสินค้าแบบราคาส่ง” โดยมีบริการลูกค้าในแบบไม่ต้องรีบร้อนในบรรยากาศเย็นๆแบบสบายใจ ไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกกดดัน มุ่งเน้นให้เกิดความประทับใจ
ที่มา: Facebook Coco Home Decor
จุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งของธุรกิจก็คือ Café Amazon เข้ามาเห็นชั้นวางสินค้าที่ร้านแล้วต้องการนำไปใช้ที่ร้านเพื่อวางสินค้า Premium โดยช่วงแรกๆก็ทำเพียงไม่กี่สาขาไปก่อน หลังจาก 6 เดือนจึงได้รับคำเชิญให้เข้าไปหารือเรื่องการเป็นผู้ผลิตรายหลักเพื่อทำชั้นวางสำหรับสินค้า Premium ของ Café Amazon แล้วขอครั้งละ 100 สาขาจะไหวไหม? ซึ่งคุณยุ้ยตกปากรับคำทันที่ว่าไหวในขณะที่ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร
ที่มา: Facebook Coco Home Decor
ทำให้เกิดการจัดการระบบใหม่จากที่ให้ช่างแต่ละคนที่เคยทำสินค้าแยกกันตามความถนัด กลายมาเป็นการทำแบบสายการผลิตร่วมกัน จึงทำให้ผลผลิตมากกว่าเดิมในเวลาเท่ากันจำนวนคนเท่ากัน
สิ่งที่สำคัญที่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง นั่นคือการลดความสูญเสียให้มากที่สุด และลูกค้าก็จะได้รับสินค้าที่ตรงความต้องการมากที่สุด นั่นคือการทำการตรวจสอบทุกขั้นตอนโดยทำทีละขั้นตอน หากขั้นตอนไหนไม่ผ่านก็จะไม่ได้ทำต่อ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาจากเดิมที่ทำเสร็จแล้วค่อยมาตรวจสอบ แล้วจบว่าว่าสินค้าไม่ได้ตามที่ต้องการ ทำให้จ้องมาเริ่มใหม่เสียเวลาเสียทรัพยากรเสียต้นทุนเพิ่มอีก
ที่มา: Facebook Coco Home Decor
และด้วยการมองไปที่เป้าหมายว่าลูกค้าต้องได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ในต้นทุนที่คุ้มค่าที่สุด
ทั้งคู่มาจากคนที่ไม่ได้รู้การทำธุรกิจมาก่อน ไม่เคยทำมาก่อน แต่ทั้งคู่ก็ก้าวขึ้นมาประสบความสำเร็จในธุรกิจได้ นั่นเพราะการศึกษาหาข้อมูลการอ่านหนังสือการเรียนรู้ตลอดเวลา
สิ่งที่ต้องใส่ใจให้มากคือพนักงานและคู่ค้า ในส่วนของพนักงานเราต้องมีน้ำใจ น้ำคำและน้ำเงิน ส่วนคู่ค้าจะได้รับเงินสดทันทีไม่มีเครดิต เพราะการมีเครดิตจะทำให้คู่ค้ามีปัญหาในระบบเงินทุนหมุนเวียน (Cash Flow) ในอนาคต และที่สำคัญคือก็การจำหน่ายสินค้าในรูปแบบเงินสดเท่านั้น
ที่มา: Facebook Coco Home Decor
ทั้งคู่มีหลักการที่มุ่งเน้นไปยังการใส่ใจซึ่งกันและกัน (Empathy) จึงทำให้เกิดการทำงานในแบบทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน (Win All) คำสำคัญคือ “เอาใจเขาใส่ใจเรา”
ขนาดของธุรกิจตลอด 10 ปี เติบโตขึ้นมากกว่า 10 เท่า หรือคำนวนง่ายๆคือ 100% ทุกๆปี
นี่เป็นผู้ประกอบการต้นแบบที่ดีที่น่าสนใจและน่าเรียนรู้ในการดำเนินธุรกิจ การที่เราไม่เคยทำมาก่อนไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้ การที่คนอื่นไม่ทำไม่ได้หมายความว่าสิ่งนั้นไม่ดี และการมองไปที่เป้าหมายให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกันมีอยู่จริง
ขอขอบคุณ
รายการแกะดำทำธุรกิจ
Cozy Living: VOICE online
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย) ตอนล่าสุด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา