27 ก.พ. 2020 เวลา 13:57 • บันเทิง
คลีโอพัตรานางพญารักบันลือโลกตอนที่7
ความตายของซีซาร์ คืออันตรายของคลีโอพัตรา ฝ่ายก่อการปฏิวัติตามมาจับตัวเธอ เพื่อประจานว่าเป็นนังโสเภณีแห่งอียิปต์ตัวต้นเหตุยุยงซีซาร์ให้หลงผิด แต่คลีโอพัตราได้ข่าวเร็วพอที่จะพาซีซาเรียนหนีลงเรือไปทางแม่น้ำไทเบอร์ แม้ว่าสภาโรมจะส่งกองเรือไล่ตามจับ แต่พอเรือออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เรืออียิปต์ของ
คลีโอพัตราเบากว่า ใบกินลมมากกว่า จะแล่นหนีกองเรือโรมัน กลับสู่อเล็กซานเดรีย อียิปต์ได้อย่างปลอดภัย
2
เทพธิดาไอริส ผู้มีลมหายใจ
การกลับมาเป็นนางพญาอียิปต์ของคลีโอพัตรา ก็ใช่จะราบรื่น เพราะ
อเล็กซานเดรียไม่เคยชอบพระนาง ที่เอาอำนาจของโรมันเข้ามากดขี่ชาวอียิปต์ ขณะที่พระนางก็พยายามปกครองประเทศด้วยการแก้ไขปัญหาภาวะน้ำท่วม พัฒนาการเกษตร เพื่อการครองใจประชาชนให้ได้ ขณะ
เดียวกันปโตเลมี ที่ 14 ผู้เป็นทั้งอนุชาและสวามีร่วมการปกครองในนาม นับวันก็เติบใหญ่ขึ้น
ปโตเลมี ที่ 14 ล้มป่วยสิ้นพระชนม์อย่างฉับพลันหลังจากคลีโอพัตรากลับมาจากโรมไม่นาน บางทีคลีโอพัตราไม่ลืมบทเรียนการแย่งชิงอำนาจในอดีตกับปโตเลมี ที่ 13 อนุชาองค์ก่อน พระนางจึงวางยาพิษผู้ที่อาจก่อการกบฏในกาลข้างหน้าเป็นการตัดไฟต้นลม จากนั้นพระนางก็สถาปนาแต่งตั้ง ปโตเลมี ซีซาร์ หรือซีซาเรียน บุตรชายวัยเพียง 3 ขวบ ขึ้นมาเป็นผู้ปกครองอียิปต์ร่วมกับพระนาง
2
เพื่อให้ปกครองชนชั้นล่างง่ายขึ้น พระนางจึงผลักดันสถานภาพแห่งความเป็นสมมุติเทพให้กับตัวเองและซีซาเรียน โดยการนำรูปปั้นแกะสลักหินทรายรูปเหมือนของตัวเองและลูกประดิษฐานยังวิหารศักดิ์สิทธิ์ พระนางคือเทพธิดาไอซิส ซีซาเรียนคือ
เทพบุตรฮอรัส ผู้เป็นพระบุตรของ
ไอซิสกับเทพโอซิริส แน่นอนว่า รูปปั้นของเทพโอซิริส คือ จูเลียส ซีซาร์ นั่นเอง
3
เทพธิดาไอริช(พระนางคลีโอพัตรา)
วิถีบูชาสมมุติเทพเช่นนี้ไม่ได้ผลในโรมที่พระนางคิดทำ แต่ได้ผลที่อเล็กซานเดรีย อียิปต์
อีกประการที่นับว่าเป็นโชคดีของคลีโอพัตรา เพราะการตายของ จูเลียส ซีซาร์ ทำให้โรมอยู่ในภาวะสงครามกลางเมือง แก่งแย่งชิงอำนาจระหว่าง พันธมิตรกลุ่มซีซาร์ นำโดย มาร์ก แอนโทนี ขุนพลนักรบคู่ใจมือขวาของ จูเลียส ซีซาร์ และ อ็อกตาเวียน รัชทายาทจากการแต่งตั้งของ จูเลียส ซีซาร์ กับฝ่ายกลุ่มสภาโรมผู้สังหารซีซาร์ นำโดย มาร์คุส จูนิอุส บรูตัส และ กาลิอุส คัสซิอุส ลองจินัส การต่อสู้กันเองในสภาพสงครามกลางเมืองแห่งอาณาจักรโรมันหลายปี ทำให้ไม่มีกองทัพโรมันกรีธาทัพมารุกรานอียิปต์
2
ขณะเดียวกัน คลีโอพัตราก็มีกุศโลบายแยบยลในการสร้างความปลอดภัยของพระนางและอียิปต์ โดยการประกาศเป็นพันธมิตรกับกลุ่มซีซาร์ จากความผูกพันกันในอดีต ช่วยเหลือส่งทรัพย์สินเสบียงอาหารเท่าที่ขอมาไม่ได้ขาด หากอีกทางหนึ่ง พระนางก็ส่งเงินจ่ายให้กับคัสซิอุสเช่นกัน แม้ว่าหลายครั้งหลายหนที่คัสซิอุสต้องการที่จะบุกพิชิตอียิปต์ เพื่อตัดเสบียงการสนับสนุนจากอียิปต์ให้กับฝ่าย มาร์ก แอนโทนี และหวังยึดครองความมั่งคั่งของอียิปต์ แต่เหมือนคลีโอพัตราจะดวงดี แคล้วคลาดทุกครั้ง ครั้งหนึ่ง คัสซิอุสส่งกองเรือใหญ่ถึง 60 ลำ หวังเผด็จศึก แต่เกิดพายุใหญ่กลางทะเลเบื้องหน้า ขวางทางไปอเล็กซานเดรียเห็นๆ ทำให้คัสซิอุสที่เชื่อในโชคลาง ถอยกลับไป
3
ที่สุดในปี 41 ก่อนคริสต์กาล มาร์คแอนโทนี่ และ อ็อกตาเวียน ก็พิชิตศึกยึดครองโรมได้เบ็ดเสร็จ และมีอำนาจปกครองร่วมกัน
มาร์ค แอนโทนี่กับคลีโอพัตรา
มาร์ค แอนโทนี่เป็นนายทหารคู่ใจของจูเลียส ซีซาร์ ตามตำนานบอกว่าเขาเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ ลำคอหนา หน้าตาหล่อเหลามีเสน่ห์มาก ผมหยักศกมีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ แข็งแกร่งราวกับนักต่อสู้สิงห์โตของชาวโรมัน และได้รับคำกล่าวยกย่องจากประชาชนโรมันว่า เขาเป็นทายาทของเฮอร์คิวลิส และเป็นเทพเจ้าดีโอนีซุสของพวกโรมันกลับชาติมาเกิด ในการรบนั้นมาร์ค แอน โทนี่เป็นนายทหารม้าที่เก่งกาจ และแกร่งกล้าที่สุดในกองทัพโรมัน ภายหลังการเสียชีวิตของซีซาร์ มาร์ค แอนโทนีได้ทำสงครามติดตามจับกุมและสังหารกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือกันสังหารซีซาร์จนครบหมดทุกคน โดยสงครามการล้างแค้นสิ้นสุดลงที่สมรภูมิฟิลิปเป้ โดยคัสเซียสถูกสังหารในสนามรบ และบรูตัสฆ่าตัวตาย
3
ทำให้มาร์ค แอนโทนี่ได้รับความนิยมยกย่องจากประชาชนชาวโรมันเป็นอย่างยิ่ง และได้มีการตกลงแบ่งสรรอำนาจการปกครองกันระหว่างสามนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ของโรม โดยการจัดตั้งคณะผู้ปกครองสูงสุดสามคนแห่งโรมชุดที่สอง (ชุดที่หนึ่งประกอบด้วย จูเลียส ซีซาร์, แมกนัส ปอมเปย์ และมาร์คัส แคสซัส) ขึ้นประกอบด้วย ออกตาเวี่ยน มาร์ค แอนโทนี่ และลีปิดัส โดยออคตาเวี้ยนมีอำนาจปกครองกรุงโรม พื้นที่สวนกลางในอิตาลี และด้านตะวันตก ลีปิดัสปกครองอาฟริกา และมาร์ค
แอนโทนี่ปกครองดินแดนภาคตะวันออกทั้งหมด
3
มาร์ค แอนโทนี่ใช้เวลา 2 ปี      ในการทำสงครามไล่ล่าตามจับกลุ่มสมาชิกสภาซีเนทที่รุมสังหาร
จูเลียส ซีซาร์ ภาระกิจนี้ยุติลงที่สมรภูมิฟิลิเป้ซึ่งกองทัพของแอนโทนี่มีชัย และสามารถสังหารกลุ่มบุคคลที่เหลืออยู่ได้ครบทุกคน ทำให้เขาได้รับความชื่นชมและเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ในสายตาของประชาชนชาวโรมันเป็นอย่างยิ่ง
แผนที่การปกครองร่วมกันรุ่นสอง
แผนที่แสดงอาณาเขตของอาณาจักรโรมันในช่วงการปกครองร่วมกันของคณะผู้ปกครองสูงสุด 3 คนรุ่นที่สอง คือ มาร์ค แอนโทนี่, ออคตาเวี้ยน และเลปิดัส เมื่อประมาณ 40 ปีก่อนคริสตกาล โดยออคตาเวียนมีอำนาจปกครองกรุงโรม พื้นที่สวนกลางในอิตาลี และด้านตะวันตก ลีปิดัสปกครองอาฟริกา และมาร์ค แอนโทนี่ปกครองดินแดนภาคตะวันออกทั้งหมด
ติดตามตอนต่อไป
บันทึกประวัติศาสตร์โรมัน-อียิปต์หอสมุดแห่งชาติ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา