3 มี.ค. 2020 เวลา 10:00 • ศิลปะ & ออกแบบ
รีวิวสั้น “The High Line” นิวยอร์ก
รีโนเวทแปลงโฉม "รางรถไฟเก่า" ให้กลายเป็น "สวนสาธารณะ" แห่งใหม่เพื่อชุมชน
แทบไม่น่าเชื่อว่า สวนสาธารณะที่คุณเห็นในรูป เดิมทีนั้นเคยเป็นพื้นที่บน "ทางรถไฟเก่า" ที่ถูกทิ้งร้างมาก่อน อายุกว่า 70 ปี
บัดนี้ได้รับการออกแบบ ให้กลายเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างยุค เก่า และ ใหม่ ของชุมชนริมทางรถไฟในเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มาที่ไปเป็นเป็นอย่างไร.. ไปชมกันครับ
ก่อนจะมาเป็น “The High Line” ถนนยกระดับแห่งนี้เคยเป็นทางรถไฟที่เปิดใช้งานในช่วงปี 1930 จนถึงปี 1980 ซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางขนส่งที่สำคัญมากในสมัยนั้น
Credit : Archdaily
เมื่อกาลเวลาผ่านไป เทคโนโลยีขนส่งมวลชนถูกพัฒนามากขึ้น รัฐบาลเริ่มเปลี่ยนมาใช้ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน จนในที่สุดรถไฟสายนี้ก็มีผู้ใช้บริการลดน้อยลงเรื่อยๆ และถูกปิดใช้งานไปในที่สุด
เหลือเพียงทางรถไฟ กลายเป็นสถานที่รกร้าง ต้นหญ้าขึ้นปกคลุม รางเหล็กชำรุด จึงได้รับคำสั่งจากรัฐบาลให้รื้อถอนทิ้งไป จนเหลือพื้นที่ยกระดับเพียงแค่ 1.45 ไมล์ ที่ยังไม่ถูกทุบทิ้ง
Credit : Archdaily
ด้วยความผูกพันของผู้คนในชุมชน ที่เคยใช้บริการรถไฟสายนี้มาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี จึงเกิดแนวคิดที่อยากจะอนุรักษ์ทางรถไฟสายนี้เอาไว้ และได้มีการจัดตั้งกลุ่ม Friends of the High Line ขึ้น
กลุ่มนี้มีจุดยืนแน่วแน่ ที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลทุบทางรถไฟสายนี้ทิ้งไป และได้เสนอแนวคิดที่จะรีโนเวทปรับปรุงพื้นที่บนทางยกระดับที่เหลือให้กลายเป็น “สวนสาธารณะลอยฟ้า” ขึ้นมา คล้ายกับ Promenade Plantee ของกรุงปารีส เพื่อให้ผู้คนใช้สัญจรไปมา และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนได้
Credit : Archdaily
Credit : Archdaily
Credit : Archdaily
Credit : Archdaily
ในปี 2003 ทีมภูมิสถาปนิก James Corner และ Diller Scofidio ร่วมกับ Renfro คือผู้ชนะการประกวดโครงการนี้ปรับปรุงทางรถไฟสายนี้ โดยมีทีมออกแบบที่เข้าร่วมกว่า 720 ทีม จาก 36 ประเทศ ด้วยแนวคิดที่ต้องการให้ชุมชนริมทางรถไฟ สามารถเข้าถึงสวนสาธารณะ “The High Line” ได้สะดวก และทั่วถึงที่สุด
Credit : Archdaily
Credit : Archdaily
โดยมีการออกแบบจุดเชื่อมต่อถนนภายนอกให้เข้าสู่สวนสาธารณะได้ถึง 12 จุด ทำให้เกิดเป็นทางเชื่อมขนาดใหญ่ ที่ผู้คนสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดไปยังโซนต่างๆ ในระหว่างชั่วโมงเร่งด่วนได้
Credit : Archdaily
พร้อมทั้งออกแบบภูมิทัศน์ใหม่ให้น่าสนใจมากขึ้น ด้วยการสร้างทางเดินกรวดแบบดั้งเดิม สลับคอนกรีต เพื่อเชื่อมให้ทางเดินให้เป็นส่วนเดียวกับรางเก่า โดยใช้จังหวะของการยืด และหด การสวิง และสลับจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง คล้ายกับการสับรางของทางรถไฟ
รวมถึงการแบ่งเส้นคอนกรีตเชื่อมกับ Hardscape ที่มีการปลูกหญ้าเป็นแทรกเอาไว้ กลายเป็น Shape สวยๆ ขึ้นมา
รวมกับเหล่าพันธุ์พืชที่เกิด และโตขึ้นมาเองตามภูมิศาสตร์ของรางเก่าที่ถูกทิ้งร้างไว้ ช่วยสร้างสีสันให้กับทัศนียภาพที่เกิดขึ้นในระหว่างการสัญจรไปมาได้เป็นอย่างดี
Credit : Archdaily
Credit : Archdaily
Credit : Archdaily
ตรงส่วนท้ายของ The High Line ที่ฝั่ง Gansevoort มีป่าต้นเบิร์ช ขึ้นมาอย่างหลากหลาย ซึ่งป่าพวกนี้สามารถให้ร่มเงาได้ในช่วงบ่าย และยังมี ม้านั่งที่สร้างมาจากไม้สน Pie ที่นำเข้ามาจากป่าที่ปลูกโดยกลุ่ม Forest Stewardship Council เพื่อเพิ่มความยั่งยืนให้แก่การใช้งาน
Credit : Archdaily
Credit : Archdaily
Credit : Archdaily
Credit : Archdaily
Credit : Archdaily
Credit : Archdaily
ด้วยแรงผลักดันที่เป็นรูปธรรม อันเป็นประโยชน์ต่อผู้คน และสิ่งแวดล้อม รัฐบาลจึงอนุมัติงบประมาณกว่า 50 ล้านเหรียญในการก่อสร้าง ก่อนที่จะเปิดให้ใช้งานจริงในปี 2009 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
โดยให้สวนสาธารณะแห่งนี้อยู่ภายใต้การดูแลของกลุ่ม Friends of the High Line ผู้ริเริ่มแนวคิด และสานต่อจนเกิดเป็นงานภูมิสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าชิ้นนี้ขึ้นมานั่นเอง
ถือเป็นอีกหนึ่งงานที่เป็นการเก็บของเก่า เล่าเรื่องใหม่ได้อย่างลงตัว ตอบโจทย์ทั้งความสวยงาม คุณค่าทางประวัติศาสตร์ และคุณค่าทางจิตใจของชุมชนได้ดี หากชอบ ฝากติดตามตอนต่อๆ ไปกันด้วยนะครับ
เรียบเรียงโดย : BETA SPACE
โฆษณา