9 มี.ค. 2020 เวลา 08:41 • ธุรกิจ
วันนี้กับวันนั้น ของเจ้าสัวธนินท์
วันนั้นในอดีต...ปี 2539
บัญชีเดินสะพัดของไทยเริ่มขาดดุลหนัก หลายคนเห็นว่าเงินบาทต่อดอลลาร์มีมูลค่าเกินจริง การขาดดุลอย่างหนักนี้ตกเป็นเป้าของนักฉวยโอกาส ทำการโจมตีค่าเงิน
ปี 2540
เรื่องท้าทายใหญ่ที่สุดในชีวิตของ
คุณธนินท์ ซึ่งเมื่อก่อนประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่มาเป็นเวลานาน โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ทำให้การค้า การลงทุน เงินกู้ และธุรกรรมทางการเงินระหว่างไทยกับต่างประเทศ ไม่เคยได้รับผลกระทบด้านความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน บริษัทไทยสามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้โดยง่าย จึงขยายกิจการกันอย่างเต็มที่ รวมทั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.)ด้วยเช่นกัน
2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลยกเลิกระบบค่าเงินคงที่ และประกาศใช้ระบบแลกเปลี่ยนลอยตัวเงินบาท ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ก็ลดฮวบลงทันที
ภายในครึ่งปีเงินตราสกุลต่างๆในประเทศแถบเอเชียอื่นๆ ก็ถูกนักลงทุนเทขาย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศตกต่ำอย่างมาก
มกราคม 2541 ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงไปอยู่ที่ 50 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ หรือเท่ากับเงินบาทมีมูลค่าลดลง 1 เท่านั่นเองหมายความว่าเงินกู้จากต่างประเทศเมื่อคิดเป็นเงินบาทแล้ว ผู้กู้จะมีภาระต้องหาเงินมาชำระหนี้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
ธนาคารต่างประเทศเกรงว่าจะไม่ได้รับชำระเงินกู้คืนจากลูกหนี้แถบภูมิภาคเอเชีย จึงไม่ยอมปล่อยเงินกู้ให้ประเทศในแถบนี้ ไม่เพียงเท่านั้น ธนาคารต่างประเทศยังขอให้เครือเจริญโภคภัณฑ์คืนเงินกู้ก่อนกำหนดเวลาชำระอีกด้วย
สัญญาเงินกู้ระยะเวลา 5 ปี กลายเป็นโมฆะ มีเพียงไม่กี่ธนาคารเท่านั้นเช่น ธนาคาร HSBC ของอังกฤษ ที่ยอมยืดเวลาในการชำระคืนเงินกู้ให้แก่เครือฯ ตอนนั้นกิจการใหญ่ๆ ในทวีปเอเชียที่ขาดเงินทุนค่อยๆ ล้มละลายและสูญหายไปในที่สุด
เครือเจริญโภคภัณฑ์ ต้องการจะรักษาธุรกิจหลักเอาไว้จึงตัดสินใจขายหุ้นของบริษัทลูกที่อยู่ในเครือฯ ทันที คือโลตัส
ซูปเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งกำลังเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก แต่ก็จำเป็นต้องขายหุ้นจำนวน 75% ของโลตัสฯ ให้แก่บริษัทเทสโก้ของอังกฤษ
Cr:CP E-News
ส่วนด้านสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป ของซี.พี.คอนซูเมอร์ ซึ่งเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภคทั้งของในเครือเอง กับผู้ผลิตรายอื่น ก็ได้รับผลกระทบไปตามๆกัน
ถือได้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้นเป็นปัญหายิ่งใหญ่ที่สุดของคุณธนินท์ ในการตัดสินใจขายหุ้นของบริษัทลูกที่อยู่ในเครือฯ
ต่อมาเครือเจริญโภคภัณฑ์ก็สามารถฝ่าวิกฤต จนไม่ล้มละลายมาได้ และกลับสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจมากมาย
คุณธนินท์กล่าวว่า ความหมายของคำว่า “วิกฤต” ในภาษาจีนมีความลึกซึ้งมาก โดยตัวอักษรจีนคำนี้ประกอบด้วยคำที่แปลว่า “ความเสี่ยง” และคำที่แปลว่า “โอกาส”
ความหมายที่แฝงอยู่จึงมีทั้ง
"ความเสี่ยง แต่ก็ซ่อนไว้ซึ่งโอกาส"
ในส่วนของโลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์
ที่เคยเป็นผู้บุกเบิกมาตั้งแต่ต้น
คุณธนินท์ก็ตั้งใจจะซื้อกิจการกลับคืนมาจากบริษัทเทสโก้ แต่เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของฝ่ายเทสโก้เท่านั้น...
และวันนี้.. วันที่ คุณธนินท์และ(ซี.พี.) รอคอยก็มาถึงวันที่เขาสามารถซื้อกิจการ Tesco Lotus กลับคืนมาได้ หลังจากที่ต้องพัดพรากจากกันกว่า 20 ปี สู่อ้อมกอดอีกครั้ง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา