Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
10 มี.ค. 2020 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
“สงครามครูเสด (Crusades) สงครามศาสนาครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์” ตอนที่ 4
ชัยชนะของกองทัพมุสลิม
ภายในสิ้นศตวรรษที่ 11 อิทธิพลของมุสลิมในตะวันออกกลางก็ได้แตกออกเป็นสามราชวงศ์ แบ่งเป็นเหล่า
ซึ่งหากมุสลิมร่วมมือกัน พวกเขาก็จะมีกำลังเพียงพอที่จะต้านทานกองทัพครูเสดก่อนที่กองทัพครูเสดจะบุกเยรูซาเลม แต่พวกเขากลับเข่นฆ่ากันเอง ทำให้กองทัพครูเสดบุกเข้าดินแดนศักดิ์สิทธิ์ได้สำเร็จ
1
แต่ในศตวรรษที่ 12 ก็ได้มีนักรบเซลจุคผู้หนึ่งชื่อว่า “เซงกิ (Imad al-Din Zengi)” ขึ้นสู่อำนาจและเริ่มที่จะรวบรวมเผ่าต่างๆ เป็นปึกแผ่น
เซงกินั้นเศร้าสลดใจที่เยรูซาเลมตกเป็นของกองทัพครูเสด อีกทั้งประชาชนในเมืองก็ถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก
1
เซงกิ (Imad al-Din Zengi)
เซงกิเฝ้าฝันที่จะนำพากองทัพอิสลามเข้าสู่สงครามศักดิ์สิทธิ์ ต่อสู้กับชาวคริสต์
เซงกิได้รวบรวมทัพขนาดมหึมา และมุ่งขึ้นเหนือ
24 ธันวาคม ค.ศ.1144 (พ.ศ.1687) เซงกิได้ยึดเมืองเอเดสสา ซึ่งเป็นดินแดนที่อ่อนแอที่สุดของอาณาจักรแห่งอัศวินครูเสด
การโต้กลับของมุสลิมได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
ชาวคริสต์ได้ทำการโต้กลับในทันที ในปีค.ศ.1145 (พ.ศ.1688) กองทัพครูเสดอีกกองทัพหนึ่งได้เดินทัพจากยุโรป แต่การเดินทัพครั้งนี้คือหายนะ
อัศวินครูเสดส่วนมากตายก่อนที่จะถึงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ พวกที่รอดก็ถูกกองทัพของผู้ที่ขึ้นมาแทนเซงกิ (หลังจากสิ้นเซงกิ) บดขยี้ซะเละ
2
ผู้นำอิสลามคนต่อมานั้นเป็นนักการทหารที่มีความสามารถมาก ชื่อว่า “เศาะลาฮุดดีน (Salah ad-Din)” หรือเป็นที่รู้จักในชื่อของ “ซาลาดิน (Saladin)”
1
ซาลาดิน (Saladin)
ซาลาดินนั้นเคยเป็นขุนนางระดับสูงในอียิปต์ ซึ่งเขาก็มีชื่อเสียงจากความเมตตาและเฉลียวฉลาด แต่เมื่อขึ้นสู่อำนาจ เขาก็มุ่งมั่นที่จะนำทัพอิสลามต่อสู้กับกองทัพครูเสด
1
กรกฎาคม ค.ศ.1187 (พ.ศ.1730) ซาลาดินนำทัพทหารจำนวน 30,000 นาย มุ่งหน้าสู่เยรูซาเลม
เมื่อ “กษัตริย์กีย์ เดอ ลูซินยอง (Guy de Lusignan)” กษัตริย์แห่งเยรูซาเลมทรงทราบข่าวการยกทัพมาของกองทัพมุสลิม พระองค์ก็ทรงมีรับสั่งให้รวบรวมทัพ บุกไปต่อสู้กับกองทัพของซาลาดิน
กษัตริย์กีย์ เดอ ลูซินยอง (Guy de Lusignan)
ขณะที่กองทัพครูเสดเดินทัพ พวกเขาก็พบกับกองทัพอิสลามอยู่ในหุบเขา ล้อมรอบกองทัพครูเสด และเมื่อพวกเขาถึงยอดเขาใกล้ๆ กับเมืองฮัททิน กองทัพครูเสดก็ตกอยู่ในวงล้อมของกองทัพอิสลาม
กองทัพครูเสดนั้นมีกำลังน้อยกว่ามากและทหารต่างก็ไม่มีกำลังใจ และในสงครามระหว่างกองทัพครูเสดกับกองทัพของซาลาดินที่เมืองฮัททิน ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1187 (พ.ศ.1730) ผลก็ออกมาว่ากองทัพครูเสดถูกบดขยี้เละ
1
ซากศพอัศวินนับพันนอนตายเกลื่อนเต็มสนามรบ ที่รอดก็ถูกจับเป็นทาส
สงครามที่ฮัททิน
ภายในเวลาสามเดือนต่อมา ซาลาดินก็ได้บุกเข้าไปในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ยึดเมืองแต่ละเมืองได้อย่างง่ายดาย และในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ.1187 (พ.ศ.1730) ซาลาดินก็ได้บุกเข้าเยรูซาเลมได้สำเร็จ
แต่ซาลาดินไม่ได้สั่งฆ่าชาวคริสต์ในเมือง เขาอนุญาตให้ชาวคริสต์ออกไปจากเมืองได้อย่างปลอดภัย
2
ในที่สุด เยรูซาเลมก็ตกเป็นของมุสลิมอีกครั้ง
เมื่อข่าวชัยชนะของกองทัพมุสลิมไปถึงยุโรป “สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 8 (Pope Gregory VIII)” ผู้นำคริสตจักร ก็ได้ประกาศสงครามครูเสดครั้งใหม่ในทันที
1
จุดประสงค์ของสงครามนี้ก็เช่นเดิม นั่นคือการยึดเยรูซาเลมคืนจากมุสลิม
แต่สิ่งที่ต่างออกไปนั่นคือผู้นำ แทนที่ผู้นำทัพจะเป็นอัศวินและขุนนาง แต่ผู้นำทัพในครั้งนี้คือกษัตริย์
สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 8 (Pope Gregory VIII)
กษัตริย์พระองค์แรกที่นำทัพคือ “จักรพรรดิเฟรเดอริคที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Frederick I, Holy Roman Emperor)” กษัตริย์แห่งเยอรมนี
จักรพรรดิเฟรเดอริคที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Frederick I, Holy Roman Emperor)
จักรพรรดิเฟรเดอริคที่ 1 ทรงนำทัพทหารกว่า 30,000 นาย เดินทัพออกจากยุโรปในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ.1189 (พ.ศ.1732)
การเดินทัพครั้งนี้คือหายนะ กองทัพของพระองค์เดินทัพมาถึงตุรกีในปีค.ศ.1190 (พ.ศ.1733) ซึ่งจักรพรรดิเฟรเดอริคที่ 1 ก็ได้สวรรคตจากการจมน้ำ ขณะที่พระองค์ทรงพยายามจะข้ามแม่น้ำ แต่ด้วยน้ำหนักของเสื้อเกราะ ทำให้พระองค์หล่นจากหลังม้าและจมน้ำ สวรรคต
4
1
การสวรรคตของจักรพรรดิเฟรเดอริคที่ 1 ทำให้กองทัพของพระองค์สับสนวุ่นวาย ทหารหลายนายหนีทัพ อีกจำนวนมากก็ตายจากการถูกกองทัพตุรกีโจมตี
1
ทหารที่รอดนั้นสามารถเดินทัพไปถึงชายฝั่ง ที่ซึ่งกษัตริย์อีกพระองค์ นั่นคือ “พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (Philip II of France)” ได้เสด็จมาถึง
1
พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (Philip II of France)
เมื่อมาถึงท่าเรือเมืองเอเคอร์ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ก็ทรงพยายามนำทัพบุกยึดเมือง
แต่พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ก็ทรงเป็นกษัตริย์ที่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านการทหารนัก พระองค์ทรงเกลียดสงคราม และที่พระองค์นำทัพ ก็แค่เพราะว่าเป็นหน้าที่เท่านั้น
5
การโจมตีเมืองเอเคอร์นั้นล้มเหลวและสถานการณ์ก็ดูจะสิ้นหวัง แต่หลังจากที่ “พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (Richard I of England)” เสด็จมาถึง สถานการณ์ก็ได้เปลี่ยนไป
พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (Richard I of England)
ตอนต่อไป เป็นตอนจบของซีรีส์ชุดนี้แล้ว ติดตามได้ในตอนต่อไปนะครับ
References:
https://www.britannica.com/biography/Zangi-Iraqi-ruler
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Imad_al-Din_Zengi
https://www.taylorfrancis.com/books/9781315743523/chapters/10.4324/9781315743523-9
https://www.britannica.com/event/Siege-of-Edessa
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Siege_of_Edessa_(1144)
https://www.history.com/topics/africa/saladin
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Saladin
https://www.britannica.com/event/Battle-of-Hattin
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Battle_of_Hattin
https://www.thoughtco.com/crusades-siege-of-jerusalem-2360716
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Siege_of_Jerusalem_(1187)
https://www.history.com/topics/middle-ages/crusades
https://www.historynet.com/third-crusade-siege-of-acre.htm
https://www.ancient.eu/Third_Crusade/
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Third_Crusade
49 บันทึก
164
16
37
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
“สงครามครูเสด (Crusades) สงครามศาสนาครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์”
49
164
16
37
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย