13 มี.ค. 2020 เวลา 02:37 • สุขภาพ
วิตามินซี หรือ Ascorbic acid เป็นวิตามินที่สำคัญของร่างกาย ในสมัยก่อนเราเคยท่องจำกันมาเสมอว่าการขาดวิตามินซีทำให้เกิดอาการเลือดออกตามไรฟัน แต่ในความจริงแล้ววิตามินซีนั้นมีคุณสมบัติอีกมากมายยยยย
โดยประโยชน์ของวิตามินซีคือ
- ช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ แผลผิวหนัง ผนังหลอดเลือด กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อของร่างกาย
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยยับยั้งการทำลายของเซลล์จากสารพิษต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ มลพิษ
- ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ร่นระยะเวลาและความรุนแรงของการเป็นหวัด
- บำรุงผิว ช่วยลดริ้วรอย จุดด่างดำให้แก่ผิวได้
อาหารมีอุดมไปด้วยวิตามินซี ส่วนใหญ่เป็นอาหารรสเปรี้ยว ได้แก่ ผลไม้ตระกูลส้ม มะนาว สับปะรด ฝรั่ง มะเขือเทศ สตรอเบอรี่ บล็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น
การขาดวิตามินซีจะทำให้เกิดโรคหรือภาวะต่างๆตามได้คือ
- โลหิตจาง
- เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหลง่าย
- แผลหายช้า
- ผมร่วงและแตกหักง่าย
- ผิวแห้ง
- เหงือกและฟันไม่แข็งแรง
- ปวดข้อ ข้อบวม
1
ในหญิงตั้งครรภ์แม้ว่าวิตามินซีจะเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายแต่แนะนำให้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น การรับประทานวิตามินซีเสริมในระหว่างตั้งครรภ์ในปริมาณที่สูงเกิดอาจนำไปสู่การแท้งหรือทารกผิดปกติได้ (เป็น case report ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด)
อาการข้างเคียงที่พบได้ คือ อาการแดงและร้อนที่ผิว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง และนิ่วในไต
โดยปกติขนาดวิตามินซีที่แนะนำต่อวันประมาณ 75-90 มิลลิกรัม แต่ส่วนใหญ่วิตามินเสริมที่ขายในท้องตลาดจะเป็น 500-1000 มิลลิกรัมซึ่งจริงๆและวิตามินชนิดนี้ละลายน้ำได้ดี ไม่สะสมในร่างกายหากปริมาณเยอะเกิดก็จะถูกขับออกผ่านไต ดังนั้นจึงพบอาการข้างเคียงได้น้อยมาก
การได้รับวิตามินซีเกินขนาดโดยเฉพาะมากกว่า 2000 มิลิกรัมต่อวันจะพบว่าทำให้มีอาการคลื่นไส้และท้องเสียได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้วิตามินซีมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กได้ถึง 67% ดังนั้นในคนที่ต้องรับประทานธาตุเหล็กเสริมเพื่อรักษาโรค เช่น โลหิตจาง อาจนำไปสู่ภาวะเหล็กเกินในเลือด ทำให้เกิดภาวะ hemochromatosis รวมถึงเป็นอันตรายต่อหัวใจ ตับ ตับอ่อน ต่อมไทรอยด์และระบบประสาทส่วนกลางได้
ดังนั้นหากต้องการรับประทานวิตามินซีเพื่อเสริมอาหารควรรับประทานตามที่ฉลากระบุ และหากพบอาการข้างเคียงจากการรับประทานควรหยุดยาและหากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์
เอกสารอ้างอิง
Frieda Wiley. Vitamin C (Ascorbic Acid). 2015. Available from: https://www.everydayhealth.com/drugs/ascorbic-acid
Brianna Elliott. Does Too Much Vitamin C Cause Side Effects. 2019. Available from: https://www.healthline.com/nutrition/side-effects-of-too-much-vitamin-c
โฆษณา