25 มี.ค. 2020 เวลา 04:04 • สุขภาพ
Tocilizumab ยาเดิมในการรักษาโรคใหม่อย่าง COVID-19
ยาที่จะเป็น Game changer ตัวถัดไป
"ผมเป็นหมอโรคหัวใจในนิวยอร์ก
รัฐที่มีการระบาดหนักสุด ในUSA
ผมมีไข้มาได้ร่วมสัปดาห์แล้ว ไอและหอบเหนื่อย
ผมถูกตรวจพบว่าเป็นโควิด 19
ผมได้ยาตามที่ตาลุงทรัมป์บอกแล้ว
แต่อาการไม่ดีขึ้นเลย ผมกำลังถูกจะย้ายไป ICU และได้ยาตัวใหม่ "
3 วันถัดมา
" ผมหายดีแล้วผมไม่มีไข้แล้ว ไม่ต้องใช้ออกซิเจนและ
กำลังจะกลับบ้าน ไปดูแลภรรยาและลูก "
ยาที่หมอโรคหัวใจคนนั้นได้คืออะไร
ทำให้หาย COVID-19 ภายใน 3 วัน
ยานั้นก็คือ Tocilizumab ยาเดิมในการรักษาโรคใหม่อย่าง COVID-19
ยาที่จะเป็น Game changer ตัวถัดไป
https://www.ilcrotonese.it/coronavirus-allospedale-di-crotone-inizia-utilizzo-del-tocilizumab-per-trattare-linfezione/
จากความเดิม ตอนที่แล้ว
Favipiravir ไม่สามารถเปลี่ยนเกมส์ในกรณีที่คนไข้อาการหนักได้
อันอาจจะเป็นผลจาก จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัย และ ปัจจัยกวนอื่นๆ
มียาเก่าอีกหนึ่งตัว ที่กำลังเป็น ความหวังมวลมนุษยชาติ
นั้น ก็คือ Tocilizumab ซึ่งเป็นยาเก่าที่ใช้รักษาโรคข้ออักเสบเดิมอยู่แล้ว
แล้วทำไมเอายารักษาโรคข้อ มาใช้รักษาโรค COVID-19 หล่ะ
เด่วจะเล่าเรื่องแบบเข้าใจง่ายๆให้น้า
ขออนุญาติทบทวน กลไกการเกิดโรค COVID-19 ก่อน
โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส SARCOV2 ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับเชื้อเข้าไป
ร่างกายจะพยายามกำจัด ทั้งไวรัส และcell ที่ติดเชื้อ ผ่านระบบ ภูมิคุ้มกัน (T-cell + Monocyte) กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และจะหลั่งสารที่
เรียกว่า cytokine ซึ่งจะหน้าที่ เรียกเพื่อนมาช่วยกันรุมสกรัมทำลายเชื้อ
ถ้ามากไปมันจะไม่ทำร้ายแต่ไวรัส มันจะทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า
ทั้ง - ไวรัส
- เซลล์ที่ติดเชื้อ
- เซลล์ปกติ และกระจายไปทั่วร่าง
ทำให้ระบบร่างกายแปรปรวนทุกระบบและเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง
ส่งผลทำให้ เกิดอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ (Multiorgan failure)
ทั้ง พังพืดในปอด
ตับวาย
หัวใจวาย
ไตวาย
และก็เสียชีวิตในที่สุด จาก Cytokine ที่ร่างกายปล่อยมาเองนี่แหละ
เปรียบเทียบให้เห็น
บางคนเห็น งู ใช้ไม้ตีงูก็ตายแล้ว
แต่ร่างกายบางคน เห็น งู กลับใช้ ระเบิดนิวเคลียร์ ฆ่างู
ทำให้ตายไปพร้อมกับงู เลย
ซึ่งจากงานวิจัยหลายฉบับ พบว่าปริมาณ cytokineที่สูงขึ้น
สัมพันธฺอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรค COVID-19
เชื่อว่า Cytokine ที่น่าจะเป็นตัวสำคัญในโรคนี้
ก็คือ IL-6
ถ้ายับยั้งการออกฤทธิ์ของ IL-6 ได้ ก็เหมือนทำให้ระเบิดไม่ทำงาน
ส่วน งู (ไวรัส) ก็ใช้ ยาต้านไวรัส ฆ่าแทนภูมิคุ้มกัน
ก็น่าจะสามารถลดอัตราการเกิดอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ
และสามารถลดอัตราตายได้
ยาที่สามารถยับยั้งการออกฤทธิ์ของ IL-6 ได้ ก็คือ
ยา Tocilizumab นั่นเอง
เพื่อ ทดสอบ สมมุติฐานข้างต้น
จึงมีงานวิจัยฉบับหนึ่ง ทำการทดลองโดย
P :
ทำในผู้ป่วย 21 คน ในประเทศจีน วันที่5 ถึง 14 กุมภาพันธ์
โดยมีเกณฑ์คัดเลือกผู้ป่วยคือ
เอาเฉพาะผู้ป่วยอาการหนักถึงหนักมากใกล้เสียชีวิต
โดยอาการหนักดูจาก
1. หายใจเร็วมากกว่า 30 ครั้ง
2. ออกซิเจนต่ำกว่า 93%
3. PF ratio น้อยกว่า 300
ส่วนเคสอาการหนักมาก
1. ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
2. ความดันตก shock
3. มีอวัยวะล้มเหลวหลายระบบทำให้ต้องเข้ารับการรักษาใน ICU
และทุกคนต้องตรวจพบ ปริมาณสาร IL-6 ระดับสูง
เพื่อยืนยันว่ามีความผิดปกติในการหลั่งสาร IL-6 จริง
I : Tocilizumab 400 mg IV drip + standard care
โดยได้ยาต้านไวรัสเป็น Lopinavir + ได้ Methyl prednisolone ด้วย
C: None
O: วัดโดย
1. ดู surrogate marker อื่น ๆ ที่เป็น prognostic factor ต่างๆ
2. ติดตาม ดู ผล CT scan ของปอด หลังจากได้รับยา ว่าดีขึ้นไหม
3. ติดตามผลการรักษา เช่น ปริมาณ O2 ที่ใช้ , ไข้ลดลง
ผลการศึกษา
หามาได้ 21 คนที่เข้าเกณฑ์
โดยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 56 ปี เท่ากับ ในอิตาลี
และมีโรคประจำตัวข้างเยอะ
ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นผู้ป่วย high risk จะเสียชีวิตจากโรคนี้ได้เป็นอย่างดี
แบ่งเป็น ผุ้ป่วย
- อาการหนัก 17 คน
- อาการหนักมาก 4 คน
ทุกคนต้องใช้ Oxygen มากน้อย แล้วแต่ความรุนแรงของโรค
และมี 4 คน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
2 คนใช้แบบ ใสท่อลงปอด (อาการหนักมาก)
2 คนใช้แบบหน้ากาก
18 คน ได้รับยา เพียง 1 dose
3 คน ได้รับยา 2 dose เนื่องจากยังมีไข้หลังได้ยา dose แรก ไปแล้ว 12 hr
ผลการรักษา
1.ไข้
ลดลงอย่างรวเร็ว ภายใน วันแรก ของการรักษา
และไม่มีไข้อีกเลย จนจบการศึกษา
2. ปริมาณการใช้ Oxygen และ ค่าOxygen ในร่างกายของคนไข้
15/20 (75%) ดีขึ้นอย่างชัดเจนอีกเช่นกัน ภายใน แค่ 2 วัน หลังการรักษา
ผู้ป่วยอาการหนักมาก 2 คน จาก 4 คน
ดีขึ้นจนสามารถเอาท่อช่วยหายใจ
ได้ใน เวลา แค่ 5 วัน โดยคนแรก เอาออกได้ ตั้งแต่วันแรกที่ได้ยา
อีก 2 คน ก็ลดเครื่องช่วยหายใจ และ Oxygen ลงได้เรื่อยๆ
3. ภาพ CT scan
คนไข้ 90.5 % ฝ้าขาว มีขนาดเล็กลง ซึ่งเป็นเหตุผลว่า
ทำไม Oxygen และการหายใจของคนไข้ดีขึ้น
4. ผลเลือด
คนไข้ ส่วนใหญ่ (90%) ผลเลือดกลับมาค่อนข้างปกติ
ภายใน 5 วันหลังจากได้ยา
5. อัตราเสียชีวิต และ ผลข้างเคียง
ไม่น่าเชื่อทั้งที่คนไข้อายุเยอะ (เยอะสุด 88 ปี)
อาการหนัก แต่ในงานวิจัยนี้ ไม่พบผู้เสียชีวิตเลย
และไม่มีผลข้างเคียงที่สำคัญในผู้ป่วยแม้แต่รายเดียว
วิเคราะห์งานวิจัย
- ผลการรักษาของ Tocilizumab ในงานวิจัยนี้
ราวกับเสกเวทมนต์สะกด COVID-19 ทั้งที่ใช่แค่
LPV ที่ไม่ดีเท่า Favipiravir
แถมยังได้ Methyl prednisolone กระหน่ำซ้ำเติมให้แย่
แต่กลับ สามารถ show benfit ในกลุ่มคนไข้ความเสี่ยงสูงได้
ซึ่งยังไม่ยาตัวไหนทำได้ชัดเจน แต่ยานี้ทำให้
= > ไม่มีไข้และออกซิเจนดีขึ้นอาการดีขึ้นภายใน
ระยะเวลาเพียง 48 ชั่วโมง
=> ผล CT ปอด ดีขึ้น ถึง 90% ซึ่งน่าจะลดอัตราการเกิดพังผืดในปอดได่
ลดลงเยอะมาก
=> สมศักดิ์ศรี gamechanger ที่แท้จริง
สามารถเปลี่ยนคนไข้อาการหนัก -->เบา
สามารถเปลี่ยนคนไข้จากใกล้เสียชีวิต -->ไม่เสียชีวิต
และไม่มีผู้ใดเสียชีวิตเลย
ทั้งที่ดูจากอาการแล้วไม่น่าเชื่อ
แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยฉบับนี้ มีข้อด้อยหลายอย่าง
- จำนวนคนไข้ค่อนข้างน้อย แค่ 21 คน
- เนื่องจากไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ ( ไม่ได้ยา)
อาจจะ ฟลุ๊คดีขึ้นโดยบังเอิญได้
- Confounder effect จาก Methylprednisolone + Lopinavir
- ทั้งที่บอกว่า High risk แต่ไม่มีจำนวนคนไข้ที่มี ARDS เลย
- ไม่ได้บอกว่าให้ยาวันไหน
- ไม่มีการวิเคราะห์ทางสถิติ เนื่องจากจำนวนคนไข้ค่อนข้างน้อย
- ระยะเวลา Follow up การรักษาสั้นไป
ยังบอกไม่ได้ว่าจะมี long term side effect อะไรไหม
แต่จากงานวิจัยฉบับบนี้ทำให้ US FDA + Roche
อนุมัติให้ทำการทดลอง Phase III ใน USA ได้
https://www.roche.com/media/releases/med-cor-2020-03-19.htm
อิตาลี ก็เริ่มทดลองแล้วเมื่อกัน เมื่อ 19 มี.ค.
ใน โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ ขนาดใหญ่ ทางตอนเหนืออิตาลี
ที่เป็นศูนย์กลางการระบาดในยุโรป รู้ผลประมาณ เมย.-พค
https://clinicaltrials.gov/ct2/show/study/NCT04315480
+ แพทยสมาคม Ireland ก็บรรจุยาตัวนี้ เป็นหนึ่งในยารักษาหลัก
ตาม Link
ใน Twitter หมอ โรคหัวใจใน New york ที่ติดเชื้อ ที่ได้รับยาตัวนี้
ผลการรักษาก็ออกมาดีมาก ตามบทวิจัยเบื้องต้นจากจีน
https://twitter.com/jigneshpatelMD
อีกประเด็น ของยาตัวนี้ คือ ราคา แพงมากกกกกกกกกกกกกก
1 Amp ราคากลาง อยู่ที่ 25200 บาท
ถ้าเอกชนขาย + ภาษี ราคาน่าจะแพงขึ้นอีก
และที่สำคัญไม่รู้จะหายาได้ไหม เพราะน่าจะต้องการทั่วโลก
http://ndi.fda.moph.go.th/drug_value/index/public/T/60
จากข้อมูลทั้งหมด ถือว่าเป็นข่าวดีไม่น้อย
ที่เราเริ่มจะมีข้อมูลในเชิงบวกเกี่ยวกับโรคนี้
ขอเพียงเรา ช่วยกัน Flattening curve
ด้วยสารพัดมาตราการที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
แล้วเราจะผ่านมันไปด้วยกัน
ปล. ถ้าชอบบทความ อย่าลืม like และก็ติดตามนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียน
โฆษณา