31 มี.ค. 2020 เวลา 07:19 • ปรัชญา
การคิดนอกกรอบ
คิดนอกกรอบคืออะไร การคิดอย่างแตกต่าง อย่างไม่เป็นไปตามแบบแผน หรือการคิดเพื่อสร้างมุมมองใหม่ ๆ ไม่จำกัดความคิด ความรู้ หรือความคิดเห็น (วิกิ)
เอาเป็นว่าแปลง่ายๆ คือ คิดไม่เหมือนชาวบ้านนั่นแหล่ะค่ะ
เพื่อเห็นภาพที่มากขึ้น มาอ่านเรื่องนี้กันค่ะ
โจทย์ข้อหนึ่งในข้อสอบวิชาฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนมีดังนี้
"จงอธิบายว่าท่านจะใช้บารอมิเตอร์วัดความสูงของตึกระฟ้าได้อย่างไร"
รู้จักกันนะคะว่าบารอมิเตอร์นี่ก็คือเครื่องมือวัดความกดอากาศนั่นเอง
(อธิบายเพิ่มเติมคือ อากาศนั้นมันมีน้ำหนักหรือมีแรงกด และแรงกดของอากาศนั้นเมื่ออยู่ในระดับความสูงที่เปลี่ยนไป ความกดอากาศก็เปลี่ยนไปด้วย)
นักศึกษาคนหนึ่งเขียนคำตอบลงไปว่า
"เอาเชือกยาวๆ ผูกกับบารอมิเตอร์แล้วหย่อนลงมาจากยอดตึก
แล้วก็เอาความยาวเชือก บวกความสูงบารอมิเตอร์ก็จะได้ความสูงของตึก"
ฟังดูเป็นอย่างไรครับคำตอบนี้
ฟังครั้งแรกยังอมยิ้มเลย
แต่อาจารย์ที่ตรวจข้อสอบไม่นึกขันอาจารย์ตัดสินให้นักศึกษาคนนั้นสอบตก
นักศึกษาผู้นั้นยืนยันต่ออาจารย์ที่ปรึกษาว่า
คำตอบของเขาควรจะถูกต้องอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง
และคำตอบของเขาก็สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์
ทางมหาวิทยาลัยจึงตั้งกรรมการชุดหนึ่งมาตัดสินเรื่องนี้ และในที่สุดคณะกรรมการก็มีความเห็นตรงกันว่า
คำตอบนั้นถูกต้องอย่างแน่นอน
แต่เป็นคำตอบที่ไม่แสดงถึงความรู้ความสามารถทางฟิสิกส์
ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ทางคณะกรรมการจึงให้เรียกนักศึกษาคนนั้นมา
แล้วให้สอบข้อสอบข้อนั้นอีกครั้งหนึ่งต่อหน้า
โดยให้เวลาเพียง 6 นาที เท่ากับเวลาในการสอบข้อสอบเดิม
เพื่อหาคำตอบที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ทางด้านฟิสิกส์
หลังจากผ่านไป 3 นาที นักศึกษาคนนั้นก็ยังนั่งนิ่งอยู่ กรรมการจึงเตือนว่า เวลาผ่านไปครึ่งหนึ่งแล้วจะไม่ตอบหรืออย่างไร
นักศึกษาหัวรั้นจึงตอบว่า เขามีคำตอบมากมายที่เกี่ยวกับฟิสิกส์
แต่ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้คำตอบไหนดี
และเมื่อได้รับคำเตือนอีกครั้ง นักศึกษาจึงเขียนคำตอบลงไปดังนี้
ให้เอาบารอมิเตอร์ขึ้นไปบนดาดฟ้าตึกและทิ้งลงมา
จับเวลาจนถึงพื้น, ความสูงของ ตึกหาได้จากสูตร H=0.5g*t กำลัง 2
หรือถ้าแดดแรงพอ ให้วัดความสูงบารอมิเตอร์แล้วก็วางบารอมิเตอร์ให้ตั้งฉากพื้น
แล้ววัดความยาวของ เงาบารอมอเตอร์
จากนั้นก็วัดความยาวของเงาตึก
แล้วคิดด้วยตรีโกณมิติก็จะได้ความสูงของตึกโดยไม่ ต้องขึ้นไปบนตึกด้วยซ้ำ
หรือถ้าเกิดอยากใช้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์มากกว่านี้
ก็เอาเชือกเส้นสั้นๆ มาผูกกะบารอมิเตอร์แล้วแกว่งเหมือนลูกตุ้ม
ตอนแรกก็แกว่ง ระดับพื้นดิน แล้วก็ไปแกว่งอีกทีบนดาดฟ้า
ความสูงของตึกจะหาได้จาก ความแตกต่าง ของคาบการแกว่ง
เนื่องจากความแตกต่างของแรงดึดดูดจากจุดศูนย์กลางของมวล คำนวณจาก T = 2 พาย กำลัง 2 รากที่ 2 ของ l/g
ถ้าตึกมีบันไดหนีไฟก็ง่ายๆ
ก็เดินขึ้นไปเอาบารอมิเตอร์ทาบแล้วก็ทำเครื่องหมายไปเรื่อยๆ จนถึงยอดตึก
นับไว้คูณด้วยความสูงของบารอมิเตอร์ก็ได้ความสูงตึก
แต่ถ้าคุณเป็นคนที่น่าเบื่อและยึดถือตามแบบแผนจำเจซ้ำซาก
คุณก็เอาบารอมิเตอร์วัดความดันอากาศที่พื้นและที่ยอดตึก คำนวณความแตกต่างของ ความดันก็จะได้ความสูง
ส่วนวิธีสุดท้ายง่ายและตรงไปตรงมาก็คือ
ไปเคาะประตูห้องภารโรง แล้วบอกว่า อยากได้บารอมิเตอร์สวยๆ ใหม่เอี่ยมสักอันไหม
ช่วยบอกความสูงของตึกให้ทีแล้วจะยกให้
นักศึกษาคนนั้นคือ นีล โบร์ ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีค.ศ.1922
นีล โบว์
เป็นยังไงคะ คิดนอกกรอบมันเป็นแบบนี้นี่เอง
ทุกเรื่องมีหลายมุมให้เรามองเสมอ
ดังภาพต่อไปนี้ค่ะ
เห็นอะหรในภาพคะ
ไอเดียง่ายๆที่ช่วยให้คุณคิดนอกกรอบมากขึ้น
1. คุยกับเด็กบ่อยๆ
2. หากเรื่องราวที่กำลังประสบอยู่มันซับซ้อนเกินไปสำหรับเด็ก ลองเล่าให้เข้าใจง่ายขึ้นสิ Richard Feynman นักฟิสิกส์เจ้าของรางวัลโนเบลเคยกล่าวไว้ว่า “หากคุณไม่สามารถเล่าเรื่องราวให้เด็ก 6 ขวบเข้าใจได้ แสดงว่าคุณไม่เข้าใจเรื่องนั้นถ่องแท้สักเท่าไหร่”
3. ถามตัวเองว่า ถ้าเรื่องที่ประสบอยู่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ตัวคุณจะเริ่มแก้ไขปัญหา หรือค้นหาไอเดียโดยเริ่มจากศูนย์อย่างไร
4. ถามตัวเองว่าเป้าหมายของสิ่งที่กำลังขบคิดอยู่คืออะไร และจะบรรลุเป้าหมายไปทำไม
5. บริหารสมอง
6. ลงเรียนเพื่อเพิ่มทักษะใหม่ๆ
7. เขียนบรรยายไปเรื่อยๆ
8. วาด Mindmap
9. ผ่อนคลาย
เพิ่มกำลังใจเรียนรู้วันละนิด
เหมือนเติมวันละ 1 องศา
1 วัน อาจจะไม่มีอะไร
10 วันไม่มีความต่าง
แต่ 100 วันล่ะ 1000 วันล่ะ
จะเปลี่ยนแปลงไปโดยแทบไม่เห็นร่องรอยเดิม
มาร่วมกันหา1องศา เพื่อเติมเต็มวงล้อชีวิตให้สมบูรณ์ไปกับพิ้งกี้และบลูบลูกันใหม่นะคะ
หากชอบบทความนี้ กดFollow กดLike กดShare เป็นกำลังใจให้พิ้งกี้และบลูบลูด้วยค่า
ที่มา : www.thaireaderclub.com
#คิดนอกกรอบ #ภาพลวงตา #เกมภาพลวงตา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา