27 มี.ค. 2020 เวลา 12:30 • สุขภาพ
CHLOROQUINE ไม่ใช่ยาที่ควรจะซื้อกินเองเพื่อป้องกัน/รักษา COVID-19
.
.
Chloroquine คือยาชนิดหนึ่งที่มีการใช้กันมาเป็นเวลานานเพื่อรักษาโรคติดเชื้อมาลาเรีย รวมถึงมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันจึงนำมาใช้ในโรครูมาตอยด์และโรคพุ่มพวงด้วย ส่วนแนวทางการรักษาล่าสุดที่มีการนำยาชนิดนี้มาใช้เพื่อรักษา COVID นั้น อยากให้ทุกคนเข้าใจตรงกันว่า
.
ทำไม “เภสัชกรร้านขายยา” จึง “ไม่ขาย” ยานี้ให้คุณ….
.
.
1. สำคัญที่สุดคือ **หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงหรือสงสัยว่าจะติด COVID-19 ควรไปตรวจและรับการรักษาที่โรงพยาบาล เนื่องจากตัวโรคก่อให้เกิดอันตรายที่รุนแรงถึงชีวิตได้**
2. ยานี้ไม่ได้ใช้เป็นยาเดี่ยวในการรักษา/ป้องกัน COVID-19
3. ยามีหลายขนาดและหลายรูปแบบไม่ใช่จะกินขนาดเท่าไหร่ก็ได้ ขึ้นกับชนิดของโรคและความรุนแรงเท่านั้น
4. ยานี้มีข้อห้ามในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่แพ้ยา ผู้ที่มีความผิดปกติของการมองเห็น/การรับภาพ
5. ยานี้ต้องระวังการใช้ในผู้ป่วยหลายกลุ่มได้แก่
• ผู้ป่วยโรคตับ พิษสุราเรื้อรัง และรับประทานยาที่มีผลข้างเคียงกับภาวะตับอักเสบอยู่แล้ว
• ผู้ป่วยลมชัก
• ผู้ป่วย G-6-PD เนื่องจากทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้
• ผู้ป่วยที่มีภาวะจอประสาทตาผิดปกติ Retinopathy
• ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโรคหัวใจที่มี ECG changes, AV block, Cardiomyopathy
• ผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ เม็ดเลือดแดงต่ำ ควรติดตามค่า CBC
6. ยานี้มีผลข้างเคียงในหลายระบบได้แก่
• ระบบไหลเวียนโลหิต – ความตันต่ำ (rare), ECG changes (rare; including T-wave inversion), cardiomyopathy
• ระบบประสาท – อ่อนเพลีย ปวดหัว ภาวะอาการทางจิต ชัก ซึมเศร้า
• ผิวหนัง – คัน ผื่นแพ้ pleomorphic skin eruption, lichen planus eruption ผมร่วง ผิวหนังเปลี่ยนสี (น้ำเงิน-ดำ) ผิวไวแสง
• ระบบทางเดินอาหาร – คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง เป็นแผลในทางเดินอาหาร
• ระบบเลือด – Aplastic anemia, agranulocytosis, neutropenia, thrombocytopenia
• ระบบกล้ามเนื้อ – กล้ามเนื้ออ่อนแรง การตอบสนองแบบ reflex ของ deep tendon ลดลง
• การมองเห็น – จอประสาทตาผิดปกติ (อาจเป็นถาวรหากได้รับยาขนาดสูงหรือเป็นเวลานาน) มองเห็นภาพไม่ชัดเจน
• การได้ยิน – หูหนวก มีเสียงในหู ได้ยินลดลง
7. ยานี้ตีกับยาหลายชนิด โดยยาเป็น substrate ของ enzyme CYP2D6 (major), CYP3A4 (major) inhibit CYP2D6 (moderate)
 
ดังนั้นหากยานี้ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ การซื้อยารับประทานเองจึงมี “ผลเสีย” มากกว่าข้อดีอย่างแน่นอน หากมันดีและปลอดภัยจริงมันคงถูกวางขายเกลื่อนในท้องตลาดไปแล้ว อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาลวงโลกขายฝัน แต่ควรใช้วิจารณญาณในการตีความอ่านข่าว และวิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงด้วย เชื่อว่าบุคลากรทุกคนกำลังพยายามกันอย่างเต็มที่ให้ก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน เราในฐานะประชาชนก็ขอความร่วมมือช่วยกันเท่าที่ทำได้ หยุดเพิ่มภาระโดยไม่จำเป็นให้แก่บุคลากรทางการแพทย์กันนะคะ
โฆษณา