30 มี.ค. 2020 เวลา 10:56 • บันเทิง
นโปเลียนโบนาปาร์ตจักรพรรดิฝรั่งเศส7
บทความต่อจากครั้งที่ 6
นโปเลียน ไม่ได้มีแต่ความสามารถทางการทหารเท่านั้น ทางด้านการเมือง การทูต การเจรจา เค้าก็มีฝีมือด้วย เหตุการณ์สำคัญที่ยืนยันคำกล่าวนี้ก็คือ เหตุการณ์ก่อรัฐประหารในประเทศฝรั่งเศสที่เค้าเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่คอยโน้มน้าวสภาให้เห็นด้วยกับการเลือกตั้งใหม่ เค้าชี้แจงให้สภาเห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันนั้นแย่ ล้มเหลวมากน้อยแค่ไหน จนสุดท้ายเค้าใช้ทั้งเจรจาและกำลังทหารจนโค่นล้มรัฐบาลลงได้ในที่สุด ภายใต้เหตุการณ์ที่ชื่อว่า รัฐประหาร 18 บรูว์แมร์
การขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุด
จากทหาร สู่ตำแหน่งแม่ทัพ เสนาธิการ นโปเลียนสามารถผลักดันตัวเองจนสามารถขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดได้นั่นก็คือ จักรพรรดิ เค้าสามารถสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ ก่อตั้งจักรวรรดิอันเรืองอำนาจทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลายประเทศเค้าได้ยึดครองพร้อมกับส่งลูกน้องที่เชื่อใจได้ไปควบคุมเอาไว้ จักรวรรดิฝรั่งเศสเรืองอำนาจอยู่นาน จนถึงช่วงเวลาสุดท้าย ต้องบอกว่าเส้นทางอำนาจของ นโปเลียน โบนาปาร์ต นั้นมาได้ไกลมากจนยากที่หาใครทำอย่างนั้นได้อีก
ก่อรัฐประหาร
ก่อรัฐประหาร
เมื่อนายพลนโปเลียนเดินทางกลับมาถึงกรุงปารีส เขาได้เข้าพบปะสนทนากับตัลเลย์ร็อง ผู้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นักการเมืองผู้มีประสบการณ์ และผู้รู้เกมการเมืองเป็นอย่างดี เขาได้ช่วยเตรียมการก่อรัฐประหาร โค่นล้มระบอบปกครองโดยคณะมนตรี ที่กำลังอ่อนแอและประชาชนเกลียดชัง
โดยการโน้มน้าวผู้แทนราษฎรเลือกรัฐบาลใหม่ บีบให้หัวหน้าคณะรัฐบาลเดิมลาออก แล้วเลือกหัวหน้ารัฐบาลใหม่เข้ามาแทนประกอบด้วยบุคคลสามคนที่ปราศจากมลทิน อันได้แก่ เอ็มมานูเอล โจเซฟ เซแยส โรเฌ่ร์ ดูโคส์ (สมาชิกคณะมนตรีแห่งการ
ปฏิวัติสองในจำนวนทั้งหมดห้าคน) และนโปเลียน ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจ ให้มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ นับตั้งแต่เขายอมไปออกรบที่อียิปต์ และกลับมาในฐานะวีรบุรุษ วัตถุประสงค์ของการก่อรัฐประหารครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้า
(ที่ต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งตรงข้ามกับพวกจาโคบังที่ยึดติดกับระบอบกษัตริย์) ว่าจะยังรักษาความมั่งคั่งไว้ได้ต่อไปและนโปเลียนที่เชื่อในระบอบสาธารณรัฐยอมก็เสี่ยงกับแผนการดังกล่าว เพราะมีกระแสจะนำพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 มาขึ้นครองราชย์และฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ซึ่งหมายความว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ผ่านมานั้นไร้ผล
หลังจากที่ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าสามารถโน้มน้าวให้วุฒิสภาเห็นชอบกับการล้มล้างระบอบปกครองโดยคณะมนตรีได้แล้วแผนการของการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 18 เดือนบรูแมร์ ค.ศ. 1799 (ตามระบบปฏิทินของสาธารณรัฐฝรั่งเศส) ประกอบ
ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ นโปเลียนจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อรักษาความสงบในกรุงปารีสและในรัฐสภาจากนั้นจึงจัดการโยกย้ายที่ทำการรัฐสภาไปยังเมืองแซงต์-คลูด เพื่อไม่ให้เกิดการจลาจลในกรุงปารีสขณะก่อรัฐประหารและสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยอ้างเหตุผลว่าลัทธิจาโคบังกำลังเสี่ยงต่อภัยคุกคามถึงขั้นถูกล้มล้างได้ ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1789เป็นต้นมา รัฐสภาก็ถูกประชาชนชาวปารีสคุกคามมาโดยตลอด
เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในวันที่ 19 เดือนบรูแมร์ ที่เมืองแซงต์-คลูด ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าได้เตรียมการเกลี้ยกล่อมให้คณะมนตรีแห่งการปฏิวัติห้าคน ยกขบวนลาออกจากรัฐสภาแห่งชาติ รวมทั้งให้สภานิติบัญญัติแห่ชาติห้าร้อยคนเลือกรัฐบาลใหม่แต่แผนการดำเนินไปอย่างล่าช้าเนื่องจากแนวคิดนี้ไม่ได้รับฉันทามติจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะพวกจาโคแบงสองคนไม่ยอมลาออก นโปเลียนเฝ้ารอและตัดสินใจเข้าแทรกแซงในที่สุด
นโปเลียนได้ประกาศว่า
"ประชาชนทั้งหลาย...การปฏิวัติยังคงยึดมั่นบนหลักการเดียวกันกับเมื่อมันได้เริ่มต้นขึ้น นั่นคือ การปฏิวัติสิ้นสุดลงแล้ว"
ระบอบกงสุลได้ถูกจัดตั้งขึ้น เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุลสามคน ซึ่งอันที่จริงแล้ว มีเพียง
กงสุลคนแรกเท่านั้นที่กุมอำนาจไว้อย่างแท้จริง ฝรั่งเศสเตรียมเข้าสู่ยุคใหม่ที่ประชาชนในชาติจะต้องฝากชะตาไว้ในมือ ➡️ของจักรพรรดิ
จากกงสุลกลายเป็นจักรพรรดิ👑
นโปเลียนโบนาปาร์ตจักรพรรดิฝรั่งเศส
นโปเลียนได้เริ่มการปฏิรูปนับตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการปกครองในระบอบกงสุล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา กระบวนการยุติธรรม การคลัง และระบบราชการ ประมวลกฎหมายแพ่งที่ชอง-ชากส์ เรจีส์ เดอ กองบาเซเเรส์เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นนั้น เป็นที่รู้จักในนามของกฎหมายนโปเลียน แห่งปี ค.ศ. 1804 และยังมีผลบังคับใช้ในประเทศต่าง ๆทั่วโลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี กฎหมายแพ่งดังกล่าวนั้นมีรากฐานมาจาก กฎหมายในหมวดต่าง ๆ รวมถึงขนบธรรมเนียม
หลากหลายจากระบอบปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งนโปเลียนได้รวบรวมขึ้นใหม่
ผลงานทางราชการของนโปเลียนมีต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1814 เขาได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยม ธนาคารแห่งชาติฝรั่งเศส
ระบบเงินฟรังค์แจร์มินาล ที่ว่าการอำเภอ สภาที่ปรึกษาของรัฐ ริเริ่มการรังวัดพื้นที่ทั่วอาณาจักรฝรั่งเศส และจัดตั้งสมาคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติ (L'ordre national de la Légion d'honneur)
ในปี ค.ศ. 1800 นโปเลียนได้นำทัพบุกออสเตรียและยึดครองได้สำเร็จ ทำให้ออสเตรียที่พ่ายต่อทัพของนโปเลียนที่สมรภูมิเมืองมาเร็งโก และต่อทัพของชอง วิคตอร์ มารี โมโรที่เมืองโฮเฮนลินเดอร์ ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาลูเนวิลล์
ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1801 ซึ่งทำให้อังกฤษยอมลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกอาเมียงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1801
ในกาลต่อมา ถ้าหากแม้อำนาจของนโปเลียนถูกสั่นคลอนภายหลังก่อรัฐประหาร ชัยชนะในสมรภูมิที่เมืองมาเร็งโกก็ทำให้สถานการณ์ของนโปเลียนแข็งแกร่งขึ้นเป็นอันมาก
เขาได้ส่งทหาร 70,000 นายไปยังเมืองเเซงต์-โดมังก์ (ชื่อของเฮติที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสในสมัยนั้น)
ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลชาร์ลส เลอแคลฺ เพื่อฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศส หลังจากประสบความสำเร็จมาพอสมควร
โดยเฉพาะจากการจับตูเเซงต์ ลูแวร์ตร์ (ผู้ซึ่งเสียชีวิตที่ฟอร์ เดอ จัวย์ ที่อำเภอดูบส์ วันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1803)
กองทัพของเขาก็ถูกทำลายโดยการระบาดของไข้เหลือง เมื่อเห็นดังนี้
นโปเลียนจึงยอมขายมลรัฐลุยเซียนา ให้กับสหรัฐอเมริกาดินแดนขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1800 (วันคริสตมาสอีฟ) ได้มีการลอบวางระเบิดนโปเลียนที่ถนนซังต์-นิเคส ในกรุงปารีสขณะที่ขบวนรถม้าของเขากำลังมุ่งหน้าไปโรงโอเปร่า รถม้าของกงสุลใหญ่ได้ควบผ่านพ้นจุดเกิดเหตุไปอย่างรวดเร็วระเบิดเกิดปะทุขึ้นช้ากว่าที่คาดทำให้กระจกรถม้าแตกกระจายเท่านั้น แต่สถานที่เกิดเหตุที่กลายเป็นซากปรักหักพังเต็มไปด้วยความโกลาหล มีผู้เสียชีวิตกว่าสิบคน โจเซฟ ฟูเช ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทในสมัยนั้น ได้พิสูจน์ว่า
อาชญากรรมดังกล่าวเป็นฝีมือกลุ่มฝักใฝ่กษัตริย์ ในขณะที่นโปเลียนเชื่อว่าเป็นฝีมือของพวกจาโคเเบง การประหารดยุคแห่งอิงไฮน์เป็นหนึ่งในผลพวงตามมา
ในปี ค.ศ. 1802 นโปเลียนได้รื้อฟื้นระบบทาสในดินแดนอาณานิคมขึ้นอีกตามคำขอของภริยา อันได้แก่นางโจเซฟีนเดอ โบอาร์เเนส์ (ชาวเบเก จากหมู่เกาะ มาร์ตีนีก) การฟื้นฟูดังกล่าวทำให้ระบบเศรษฐกิจที่ล้มเหลวของอาณานิคมโพ้นทะเลทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียกระเตื้องขึ้น ต้องรอถึงปี ค.ศ. 1848 กว่าความพยายามในการเลิกทาสอย่างเด็ดขาดจะประสบความสำเร็จ
หลังจากที่นโปเลียนได้ขยายอิทธิพลไปถึงสวิส ที่ได้จัดตั้งสถาบันกระจายอำนาจในปัจจุบัน และไปยังเยอรมนี กรณีพิพาท
ของมอลตาก็เป็นข้ออ้างให้อังกฤษประกาศสงครามกับฝรั่งเศสอีกครั้งในปี ค.ศ. 1803 รวมทั้งหนุนหลังฝ่ายฝักใฝ่ระบอบกษัตริย์ที่ต่อต้านนโปเลียน นโปเลียนได้ตอบโต้ด้วยแนวคิดในการบุกอังกฤษ และเพื่อข่มขวัญฝ่ายฝักใฝ่กษัตริย์ที่อาจจะกำลังลอบวางแผนโค่นล้มเขาอยู่ กงสุลใหญ่ได้สั่งประหารดยุคแห่งอิงไฮน์ เจ้าชายแห่งราชวงศ์บูร์บง
การประหารเกิดขึ้นที่เมืองเเวงเซนน์ชานกรุงปารีส ภายหลังการไต่สวนที่ถูกจัดฉากให้ดูเป็นไปตามกระบวนการ(ซึ่งก็พบว่าเจ้าชายไม่มีความผิด) มีเพียงอังกฤษเท่านั้นที่ทักท้วง ส่วนรัสเซียและออสเตรียนั้น สงวนท่าทีไม่ยอมทัดทานทำให้เกิดเสียงเล่าลือเกี่ยวกับนโปเลียนว่าเป็น โรเเบสปิแอร์บนหลังม้า (โรแบสปิแอร์เป็นอดีตนักการเมืองฝรั่งเศสผู้โหดเหี้ยม)
(ที่เกาะเเซงต์-เตเเลน นโปเลียนยอมรับความผิดนี้ แม้ว่าตัลเลย์รองจะมีส่วนพัวพันด้วยก็ตาม) หลังจากได้ก่อความผิดนี้ต่อสาธารณรัฐ และเพื่อไม่ให้กงสุลใหญ่ขึ้นชื่อว่าก่อคดีสังหารบุคคลในราชวงศ์ซ้ำซ้อน นโปเลียนจึงได้สถาปนาตนเอง
ขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1804
วุฒิสภาสนับสนุนให้ นโปเลียน โบนาปาร์ต สถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ นำระบอบกษัตริย์กลับมาปกครองฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง
นโปเลียนโบนาปาร์ตปราบดาภิเษกสถาปนาเป็นจักรพรรดิ
พิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิฝรั่งเศส
ในวันที่ 2 ธ.ค. ค.ศ. 1804 นายพลนโปเลียน โบนาปาร์ต จึงปราบดาภิเษกตัวเองขึ้นมาเป็นจักรพรรดินโปเลียน ที่ 1 แห่งราชวงศ์โบนาปาร์ตแห่งฝรั่งเศส โดยการสวมมงกุฎกษัตริย์เองที่กรุงปารีส แทนที่ต้องเดินทางไปให้สมเด็จพระสันตะปาปา ประมุขแห่งศาสนจักร ประกอบพิธีการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ ที่วาติกันตามจารีต กระนั้นสมเด็จพระสันตะปาปาพิอุส ที่ 7 ก็เสด็จมาปารีสตามคำเชิญเพื่ออวยพรกษัตริย์ อันแสดงถึงอำนาจของพระองค์ที่แม้แต่ศาสนจักรก็ยังยำเกรง
พระราชพิธีดำเนินที่โบสต์โนเตอระ ดาม กรุงปารีส นโปเลียนสวมมงกุฎจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศสให้กับตนเอง จากนั้นก็สวมมงกุฎจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสให้กับ โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน ที่เป็นพระมเหสี
พิธีสวมมงกุฎราชินีโฌเซฟิน
มีเรื่องเล่าเบื้องหลังว่า ก่อนหน้าพิธี ทั้งคู่ทะเลาะกันอย่างรุนแรง เพราะโฌเซฟีนจับได้คาหนังคาเขา จักรพรรดินโปเลียนนอนอยู่บนเตียงกับ อลิซาเบธ เดอ วาดีย์ สาวใช้ของเธอ จักรพรรดินโปเลียนทรงลำเลิกว่าโฌเซฟีนไม่สามารถมีทายาทให้กับพระองค์ได้ ก็ควรหย่ากันได้แล้ว อย่างไรก็ตาม เฌอแอนน์ บุตรีของโฌเซฟีนได้ไกล่เกลี่ยให้ทั้งคู่สงบลง ไปสู่พระราชพิธีอย่างเรียบร้อย
พระนางโฌเซฟีน ดำรงตัวในตำแหน่งเป็นอย่างดี ทรงเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชน ให้ความเมตตาและส่งเสริมการศึกษาตลอดเวลา
การหย่าร้าง...ทั้งที่ยังรัก
เวลาผ่านไปสองสามปี ก็ปรากฏแน่ชัดว่า พระนางโฌเซฟีน ไม่สามารถจะให้รัชทายาทกับจักรพรรดินโปเลียนได้
แต่จะโทษพระนางเองก็ไม่ถูกนัก เพราะพระสวามีห่างเหินการร่วมเตียงเอง แต่กลับไปเริงรักกับหญิงสาวอื่นตลอดเวลาและหนักกว่าเดิม ไม่นับหญิงสาวฝรั่งเศสที่ทำรักกับองค์จักรพรรดิ ยังมีสาวงามจากเวียนนา, วอร์ซอว์, มาดริด, เจนีวา, โรม และที่อื่นๆ ที่บารมีของจักรพรรดินโปเลียนครอบคลุม ถูกนำมาถวายทั้งการเอาใจทางการเมืองแลกการประจบสอพลอส่วนตัวของเหล่าขุนนาง ว่ากันว่า จะมีหญิงสาวเปลือยกายนอนรอที่พระบรรทมตลอดเวลา เมื่อใดที่พระองค์นึกอยากก็จะพระเกษมสำราญก็จะทำได้อย่างรวดเร็ว
การใช้กระสุนส่วนตัวเปลืองไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากองทัพของพระองค์ที่ทำศึกตลอดเวลา ย่อมมีส่วนว่าพระนางโฌเซฟีนไม่ได้รับปัจจัยที่ทำให้พระองค์ทรงครรภ์ได้
แม้พระนางจะมอบให้ อีลีนอร์ เดอนูลเล นางต้นห้องสาวคนสนิทที่สะพรั่งสวยงามคนสนิท ปฏิบัติทำรักกับองค์จักรพรรดิแทนประองค์ เพื่อมีองค์รัชทายาท ก็ไม่สำเร็จ
ติดตามตอนต่อไป
ขอบคุณทุกๆคนที่ติดตามนะคะตอนนี้จะยาวสักนิดนะคะเพราะเจเจ้หยุดไปธุระหลายวัน😁😁😁อ่านให้จุใจกันค่ะ
ชอบกดติดตามกดไลท์กดแชร์เป็นกำลังใจให้แก่กันด้วยนะคะขอบคุณค่ะ
Cr.บันทึกประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสหอสมุดแห่งชาติ
โฆษณา