26 มี.ค. 2020 เวลา 04:57 • บันเทิง
นโปเลียนโบนาปาร์ตจักรพรรดิฝรั่งเศส 6
บุกอียิปต์
ในปี ค.ศ. 1798 สมัชชาการปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสได้กังวลต่อกระแสความนิยมที่ประชาชนมีต่อนโปเลียนที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้บัญชาการให้เขานำทัพกองทัพบุกอียิปต์ ข้ามทวีปไปไกลถึงแอฟริกาใน โดยที่นโปเลียนแทบไม่ได้พักจากการพิชิตอิตาลีเลยหากแต่
นโปเลียน โบนาปาร์ต เป็นผู้ใฝ่รู้ในโลกกว้าง เขาไม่ปฏิเสธบุกอียิปต์
บุกอียิปต์
ฝรั่งเศสอ้างว่าต้องการเข้าครอบครองดินแดนตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลาง
เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของอังกฤษไปยังอินเดีย เนื่องด้วยนโปเลียนชื่นชมยุคแสงสว่างอยู่แล้ว เขาจึงได้ตัดสินใจนำคณะนักวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาร่วมทัพไปกับเขาด้วย และจัดตั้งสถาบันอียิปต์ศึกษาขึ้น หนึ่งในเจ้าหน้าที่หนุ่มผู้ชาญฉลาดที่ร่วมเดินทางไปกับเขา ชื่อปิแอร์-ฟร็องซัวส์-ซาวิเย บูชาร์ด ได้ค้นพบศิลาจารึกแห่งโรเซตตา ที่ทำให้นักอียิปต์วิทยาชาวฝรั่งเศส ชอง-ฟร็องซัวส์ ช็อมโปฺลลิยง สามารถถอดรหัสอักษรไฮโรกลิฟฟิก ได้ในเวลาต่อมาซึ่งทำให้มีชื่อเสียงดังก้องโลก
ในเรื่องของสงคราม นโปเลียนก็สามารถบุกตะลุยตุรกี ข้ามไปซีเรีย พิชิตอียิปต์ เข้าสู่กรุงไคโรได้ ในเรื่องส่วนตัวนโปเลียนก็ยังทำรักกับสาวๆ ไม่เว้น
แต่รายหนึ่งที่มีชื่อในปูมบันทึกก็คือ เพาลีเน เบลลีซ เฟาเรส เมียของนายทหารชั้นผู้น้อยประจำการที่ไคโร เธอมีเรือนร่างเร้าใจโดยเฉพาะก้นที่งอนเช้ง เพาลีเนใส่ชุดขาวบางแนบเนื้อ สวมอุบะและรัดเกล้าทองคำ แก้มก้นสะโพกผายของเธอสร้างความเร้ากามให้กับนโปเลียนได้เสมอ แล้วเขาก็ใช้เธอถะถั่งกามเป็นประจำ จนเพาลีเนได้ฉายาว่า คลีโอพัตราของนโปเลียน
ในช่วงนี้ นับว่าความสัมพันธ์ระหว่างนโปเลียนกับโฌเซฟีนห่างเหิน ไม่เหมือนเดิม เขาเขียนจดหมายถึงเธอน้อยลง มั่วกามกันผู้หญิงคนอื่นมากขึ้น โดยกล่าวว่า..พลังของเขาได้มาจากการเริงรักกับสตรี ส่วนโฌเซฟีนไม่ปรากฏว่าเธอกลับไปมั่วรักกับชายใดอีก
เมื่อ นโปเลียน โบนาปาร์ต กลับสู่ปารีสเยี่ยงวีรบุรุษ ประชาชนแซ่ซ้องทั้งแผนดิน จุดเริ่มต้นแห่งการก้าวขึ้นเป็นใหญ่ในแผ่นดินของเขาก็มีเค้ารางขึ้น เมื่อระบอบการปกครองของคณะมนตรีอ่อนแอจากการแย่งชิงอำนาจกันเองให้หมู่นักการเมือง และยังเป็นที่เกลียดชังของประชาชน นโปเลียนและกลุ่มนักการเมืองที่สนับสนุนเขารอจังหวะสุกงอม
ในวันที่ 19 พ.ค. 1799 ขณะที่เกิดความโกลาหลในห้องประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นโปเลียนในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้รักษาความสงบในกรุงปารีสและรัฐสภา ได้ส่งกำลังทหารเข้าไประงับเหตุการณ์ เหตุการณ์เขม็งเกลียวเมื่อมีผู้พยายามลอบแทงนโปเลียน แต่ความจริงแล้วเป็นการจัดฉากของ ลูเซียน โบนาปาร์ต น้องชายของเขาที่เป็นผู้กุมเสียงในสภาฯ เพื่อให้ภาพกระจายออกไปเป็นนโปเลียนเป็นผู้ถูกกระทำ ยิ่งทำให้พลังประชาชนเข้าข้างนโปเลียน ทุกอย่างจึงเข้าทางแผนที่วางไว้คือ นโปเลียน โบนาปาร์ต ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองจากคณะมนตรีรัฐสภาแห่งชาติ ในภาพลักษณ์ของวีรบุรุษขุนทหารที่ทำตามกระแสประชาชนที่เอือมนักการเมือง
และเขาได้ประกาศยกเลิกหรือฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ค.ศ. 1795 และจัดการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่
ประกาศใช้เมื่อ ค.ศ. 1799 ปีเดียวกัน และเขาได้สถาปนาระบบ กงสุล ขึ้นมา
คนของนโปเลียนได้ขี่ม้าและนำทหารเข้ายึดสภาขณะเขาทำการยึดอำนาจ
ยึดสภา cr.รูปภาพจากภาพยนตร์จักรพรรดินโปเลียน
ระบบ กงสุล ( Consulate )
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1799 นี้
กำหนดให้ฝ่ายบริหารมีลักษณะเป็น องค์กร
เรียกว่า กงสุล ( Consuls ) ประกอบด้วยบุคคล 3 คน เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ประกอบไปด้วย
1. นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte )
2. กัมบาเซเร็ส ( Cambaceres )
3. เลอบรังค์ ( Lebrun )
ในทางปฏิบัติแล้วผู้ที่มีอำนาจสั่งการที่แท้จริงคือ นโปเลียน เพียงผู้เดียว
ฝ่ายนิติบัญญัติ มี สองสภา คือสภาผู้แทนราษฎร และสภาสูง มีสมาชิก 300 คนได้รับการเลือกตั้งโดยอ้อม
หน้าที่ของสภาชุดนี้คือ รับรองร่างกฎหมาย
แต่ ห้ามมิให้มีการอภิปราย ร่างกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายบริหาร
นโปเลียนปกครองฝรั่งเศสด้วยระบอบกงสุล โดยได้เริ่มการปฏิรูปฝรั่งเศสอย่างมีผลคุณูปการทั้งการศึกษา, กระบวนการยุติธรรม, การคลัง และสร้างระบบราชการ การกระมวลกฎหมายแพ่งที่รู้จักในชื่อ กฎหมายนโปเลียนได้กลายเป็นแม่แบบที่ใช้ในทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน กองทัพฝรั่งเศสก็ทำสงครามแผ่ขยายอาณาจักรออกไป การเป็นผู้นำประเทศกึ่งเผด็จการ ทำให้เขาเป็นเป้าโจมตีทั้งฝ่ายฝักใฝ่ระบบกษัตริย์ทั้งฝ่ายปฏิวัติประชาชนฌาโคแบง มีการวางระเบิดลอบสังหารนโปเลียน แต่เขาปลอดภัย
หลังจากที่มีชัยในการรบที่ มงต์ ตาบอร์ (ฝรั่งเศสต้องการยึดเมืองในอียิปต์คืนจึงรบกับตุรกีที่มีอังกฤษหนุนหลัง)
เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1799 การเดินทัพต่อไปยังซีเรียของนโปเลียนต้องชะงักเนื่องจากการระบาดของกาฬโรค
อันเป็นเหตุให้มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก นโปเลียนได้เข้าจัดการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อกาฬโรคที่เมืองจาฟฟาเท่าที่สามารถทำได้
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1798
นโปเลียนมีชัยต่อกองกำลังมาเมอลุก (ทาสรับใช้กาหลิบของจักรวรรดิออตโตมัน)
ในการรบที่พีระมิด ในสงครามเอ็มบาเบห์ ทำให้ชื่อของเขาขจรขจายไปไกล แต่การพ่ายแพ้ของเขากลับไม่เป็นที่กล่าวถึง
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม และ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1798 ทัพเรือของฝรั่งเศสที่นำ
นโปเลียนถูกกองเรือของโฮราทิโอ เนลสัน(ของอังกฤษ) ทำลายเกือบย่อยยับในการรบที่อ่าวอาบูกีร์
สถานการณ์ระหว่างนโปเลียนกับสมัชชาแห่งชาติดีขึ้น ทำให้เขาสละตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพอียิปต์ให้กับชอง-บัพติสเคลฺแบร์ และเดินทางกลับฝรั่งเศส ตลอดเส้นทางกลับกรุงปารีเส นโปเลียนได้รับเสียงโห่ร้องชื่นชมจากประชาชนในฐานะวีรบุรุษ
ส่วนชอง-บัพติส เคลฺแบร์ ต้องพ่ายการรบมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1801 หลังจากเสียนายทหารไปกว่า 13,500 นาย
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหยื่อของโรคระบาด
ติดตามตอนต่อไปค่ะ
Cr.บันทึกประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสหอสมุดแห่งชาติ
โฆษณา