14 เม.ย. 2020 เวลา 04:34 • การศึกษา
"สิ น ไ ซ รู ้ ใ จ ต น" สร้างสรรค์การแสดงหุ่น ร่วมสมัย
เพื่อความเข้าใจ ตัวตนและฝึกฝนทักษะชีวิต
โดย พชญ อัคพราหมณ์ และ และศิลปินท้องถิ่นครูเซียง ปรีชา การุณ
ชมละครหุ่นร่วมสมัย "สินไซรู้ใจตน" มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สินไซ-เด็กเทวดา
การตีความและเล่าเรื่องในมิติที่แตกต่าง
ผู้วิจัยใช้แนวทางของละครประยุกต์ (applied drama/theatre) เป็น หลักในการดำเนินงานวิจัย ซึ่งละครประยุกต์เป็นการนำศาสตร์ศิลปะ การละครไปใช้ร่วม หรือ บูรณาการ หรือ ผสมผสาน เข้ากับศาสตร์อื่นๆ เป็นการทำงานแบบข้ามศาสตร์ มักเกิดขึ้นนอกพื้นที่โรงละครและมีความแตกต่างจากละครแบบแผนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคคลและสังคม การ ทำงานลักษณะนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นศตววรรษที่ 20 ปรากฏในภาคการ ศึกษา สังคมศาสตร์ สาธารณสุข เศรษฐศาสตร์และการเมือง แตกแขนง อย่างกว้างขวางและมีความหลากหลายในปัจจุบัน ละครในร่มความคิด ‘ละครประยุกต์’ ไม่ได้มุ่งเน้นการผลิตผลงานละคร (theatre production) เพื่อตอบสนองความบันเทิงเพียงอย่างเดียว แต่มักให้ความสำคัญกับ กระบวนการ (process) และกิจกรรมละคร (drama-activities) ที่เกิดขึ้น
เรื่องสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานที่มีการสืบทอดมานานทั้งในแบบลายลักษณ์ (literature) และมุขปาฐะ (oral literature) ซึ่งในงานวิจัยนี้ มีการเล่าและตีความเรื่องสินไซแตกต่างจากที่เคยได้ศึกษามา โดยพ่อครู ทองจันทร์ ปลายสวน ได้เสนอมุมมองตัวละครยักษ์กุมภัณฑ์ที่มีลักษณะ ความเป็นยักษ์ท่ีดี อธิบายถึงเหตุการณ์ที่กุมภัณฑ์เหาะไปตามหานางใน ความฝันที่เป็นมเหสีที่เมืองมนุษย์ (นางสุมณฑาที่เมืองเป็งจาล) ก่อนที่กุมกัณฑ์จะลงสู่พื้นดินเมืองมนุษย์และเดินด้วยเท้า กุมกัณฑ์ใช้ศีรษะแตะพื้นเพื่อให้เกียรติและแสดงความเคารพพระแม่ธรณี นอกจากนี้ยังขยาย ความถึงอดีตชาติ-ความเชื่อแบบพุทธ ซึ่งนางสุมณฑากับกุมภัณฑ์เคย เป็นคู่รักกันมาก่อนจึงกลับชาติมาเกิดเป็นคู่กันอีกครั้ง สะท้อนให้เห็นว่า การตคีวามของศิลปิน-ปราชญ์ชาวบาน ผูกเข้ากับหลักคิดทางศาสนาพทุธ และความเชื่อที่เชื่อมโยงกับเรื่อง ‘ชาติภพ’ อันเกี่ยวข้องกับเรื่อง ‘กรรม’ ซึ่งคนอีสานในอดีตใช้ยึดเป็นหลักดำเนินชีวิตและแฝงฝังไว้ในพิธีกรรมซึ่งเห็นได้จากงานบุญประเพณีสิบสองเดือนของชาวอีสาน
การตีความ (interpretation) เรื่องสินไซในงานวิจัย จึงเริ่มจากการศึกษาเรื่อง ค้นหาสัญลักษณ์ ถอดรหัสที่แฝงอยู่ในวรรณกรรม โดยใช้มุม มอง ทัศนคติ ประสบการณ์ชีวิต ของศิลปินและผู้มีส่วนร่วมระดมความ คิดร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าแก่นความคิดหลัก ครูเซียง ได้สะท้อนมุมมองจากเรื่องสินไซเกี่ยวกับเรื่อง ‘กาลเวลา’ ซึ่งเป็นสิ่งที่ สามารถกลืนกินทุกอย่างให้หายไป ยกเว้นความเป็นปัจจุบัน และนำมา เชื่อมโยงกับตัวละครงูซวงซึ่งเป็นด่านแรกที่สามพี่น้องต้องข้ามผ่าน และ ตั้งคำถามไปยังวิถีชีวิตวัยรุ่นสมัยใหม่ที่พบในปัจจุบัน
ศิลปินท้องถิ่นครูเซียง ปรีชา การุณ เจ้าของคณะหมอลำหุ่นเด็กเทวดา
• ไม่มีภัยใดจะเป็นมหันตภัยยิ่งใหญ่ได้เท่ากับตัวเราเอง
• เสียเวลาเท่ากับเสียทรัพย์ เสียโอกาสต่อตัวเรา เป็นภัยใหญ่ต่อตัวเรา
• เวลาผ่านไปแต่เราใช้เวลาไปกับอะไร? โดยเฉพาะวัยรุ่นปัจจุบัน
ผู้มีส่วนร่วมได้เรียนรู้วิธีการตีความเรื่องสินไซในมุมมองต่าง ๆ ทั้งจาก พ่อครูทองจันท ร์ครเูเซียง และผู้วิจัย ผนวกเข้ากับความรู้เกี่ยวกับเรื่องสินไซจากการศึกษาด้วยตนเองจากบทวิเคราะห์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นวิชาการและข้อคิดเห็น ผลงานการแสดง เรื่องสินไซเด็กเทวดา จึงเกิดจากการระดมความคิด (brainstorming) ในการตีความ การสกัด และคัดเลือกประเด็ (issue) ที่สนใจร่วมกัน คือ เวลากับสิ่งที่วัยรุ่นควรทำให้เกิดคุณค่า แล้วพัฒนาสู่การสร้างบทการแสดงสินไซเด็กเทวดา โดยมีขั้นตอนดังนี้
- การศึกษา วิเคราะห์ และตีความเพื่อหาแก่นความคิดหลัก (main idea)
- สรุปและเลือกแก่นความคิดที่สามารถสะท้อนปัญหาวัยรุ่นใน สังคมอีสานปัจจุบัน
- สร้างประโยคสื่อสาร (message) เพื่อสะท้อนไปผู้ชมวัยรุ่นอีสาน
- เลือกฉากเหตุการณ์ การปะติด (collage) การเชื่อมร้อยฉากที่
สัมพันธ์กับแก่นความคิดของเรื่องเข้าด้วยกัน เพื่อขับเน้นสาร (message) ไปยังผู้ชม
- การวางลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องและขัดเกลาโครงเรื่อง
- การเปิดเรื่อง/ปิดเรื่องที่สามารถมีความน่าสนใจ น่าติดตาม สามารถทำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจเรื่อง
ระหว่างกระบวนการ ได้ใช้วิธีแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนร่วม โดยมีครูเซียงและผู้วิจัยเป็นผู้ให้คำแนะนำ ซึ่งความคิดที่เกิดขึ้นมีรายละเอียดและลงลึกในประเด็นที่กลุ่มอยากสื่อสารและเป็นสุ้มเสียงที่ต้องการสะท้อนไปยังผู้ชม เช่น
- การเดินทางของชีวิต/มนุษย์ควรใช้ชีวิตที่เหนือกว่าสัตว์อื่นทั่วไป
หมายความว่า มนุษย์ควรใช้ศีลธรรมนำทางชีวิต ลดละเลิกกิเลส และยก ระดับจิตใจให้สะอาด สูงส่ง
- เรื่องภายใน/กามารมณ์ ควรจัดที่ทางอารมณ์ให้ดีจะได้ไม่เป็น อุปสรรคของชีวิต
- กาลเวลา/มนุษย์ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ รู้จักใช้เวลาและโอกาสให้ คุ้มค่าและเป็นประโยชน์ อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่า
แก่นความคิดหลักที่ได้ คือ ‘ศีลธรรม จริยธรรม และความรู้ คือ รากฐานการดำเนินชีวิตของมนุษย์’ มนุษย์จะต้องมีศีลธรรม (ข้อควร รักษา) มีจริยะ (สิ่งที่พึงกระทำ) และความรู้ (ทักษะและประสบการณ์) ในการดำเนินชีวิตประจำวัน รักษาตัวเองรอดได้ และการช่วยเหลือผู้อื่น และสังคม
เมื่อนำมาเชื่อมโยง/เปรียบเทียบเข้ากับชีวิตของผู้มีส่วนร่วมและวัยรุ่นในปัจจุบัน เช่น ตัวละครสินไซที่จะต้องข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ ในแต่ละด่าน เปรียบเสมือนอุปสรรคชีวิต การจะข้ามผ่านอุปสรรคปัญหาไปได้นั้นต้องใช้ศีลธรรม จริยธรรม และความรู้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจและนำทางเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายของชีวิต
การทบทวนโครงเรื่อง การวางลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง โดยการเลือกฉากด่านต่างๆ มาจัดเรียงใหม่ การขยายเหตุการณ์ ความขัดแย้งความต้องการและความรู้สึกของตัวละคร การตีความตัว ละคร การด้นสด (improvisation) เพื่อหาความหมาย (subtext) แล้วนำมาสร้างบทสนทนา แล้วปรับบทบางส่วนให้เป็นบทหมอลำ โดยมีพ่อครู ทองจันทร์ ปลายสวน เป็นผู้ประพันธ์กลอนลำ
ออกแสดงงานหุ่น
การแสดงในงานบุญผะเหวดและเทศกาลหุ่นร่วมสมัยไทย-อาเซียน ได้พัฒนาเทคนิคการเคลื่อนไหว ลีลาของหุ่น และปรับบทเพื่อให้เส้น เรื่องกระชับ-แข็งแรง และกลับไปที่เส้นเรื่องวรรณกรรมเดิม แต่เลือกนำ เสนอฉากสำคัญ ซึ่งตัวบทมีความสนุกสนาน ตื่นเต้น ซาบซึ้งประทับใจ เล่าเรื่องความรัก มีฉากปะทะต่อสู้ของตัวละครสองฝ่ายที่ผู้ชมชาวบ้าน เอาใจช่วยตั้งแต่ต้นจนจบ
ลีลาและเทคนิคการแสดงหุ่นที่ค้นพบ คือ ตัวหุ่นงูซวงสามารถขาด ออกจากกันได้ ตัวละครมีลักษณะเฉพาะ (characteristic) เช่น ขยายลีลาของยักษ์กันดารให้ดูมีพละกำลังมาก สามารถยกฉากกันหลังเวทีได้และ โค่นต้นไม้ในฉากอย่างง่ายดาย เพิ่มอุปกรณ์ประกอบการแสดง (props) ได้แก่ พระขรรค์ ธนูและศรธนู และลีลาการยิงธนูที่เคลื่อนไหวด้วยจังหวะช้า (slow motion) สร้างหุ่นขนาดเล็กเพิ่มเติมเพื่อประกอบเป็นหมู่มวลได้แก่ หุ่นหอยทากกับเต่าที่ทำด้วยกระด้งขนาดเล็ก นำมาใช้ในฉากเดินดง เพื่อสร้างบรรยากาศ การเดินทางในป่า ขยายรายละเอียดกิจกรรม ในเหตุการณ์ เช่น ฉากทอผ้าของนางสุมณฑาเพื่อแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของสตรีอีสานที่ให้ความสำคัญกับเครื่องหนุ่มห่มและแสดงให้เห็นถึการมีความสุขกับหน้าที่เพิ่มองค์ประกอบภาพ (spectacle) เช่น ต้นไม้แห้งในฉากยักษ์กันดารแสดงถึงความแห้งแล้ง เป็นการเสริมบรรยากาศเรื่องให้เด่นชัด
ผู้เขียนและผู้วิจัย : พชญ อัคพราหมณ์
สนใจอ่านบทความเต็ม ๆ ได้ที่หนังสือ "ปรากฏการณ์การแสดง"
โฆษณา