16 เม.ย. 2020 เวลา 12:10 • ความคิดเห็น
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ VAT
1
คิดว่าจะอธิบายเรื่องนี้ครั้งสุดท้ายแล้ว เพราะอธิบายบ่อยมาก 😊 (ไว้แปะลิ้งค์นี้ทีเดียวเนอะ)
VAT โดยนิยามของมัน ก็คือ ภาษีทางอ้อมค่ะ หรือ (indirect tax)
VAT มาจากคำว่า Value Added Tax นั่นเอง
ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ #ย้ำอีกครั้งนะคะ เป็นภาษีที่สามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ นั่นก็หมายถึงผู้บริโภคเนี่ยแหละค่ะ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น
ดังนั้น สมมุติว่าถ้าคุณดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ก็เสียภาษีสรรพสามิตเต็มๆเลยค่ะ เวลาเขาปรับภาษีขึ้น ถ้ากรณีผู้ผลิตแบกรับภาษีตรงนี้โดยไม่บวกเข้ามาในสินค้า นั่นหมายถึงว่าเราไม่ต้องจ่ายส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น แต่ในความเป็นจริงและทางปฏิบัติ ไม่มีผู้ผลิตคนไหนใจดีไม่บวกเพิ่มค่ะ
ทำไมเขาถึงผลักภาระได้หล่ะ ก็ง่ายๆเลย เพราะรัฐอนุญาตค่ะ เนื่องจากผู้ผลิตจ่ายภาษีเงินได้ส่วนเกินให้รัฐต่างหากเป็นปกติอยู่แล้วตามฐานภาษีที่กำหนด ผู้ผลิตกำไรมากก็จ่ายภาษีมาก แค่นั้นค่ะเรื่องง่ายๆ
ภาษีพวกนี้จึงเป็นภาษีของรัฐที่ฝากให้ผู้ประกอบการช่วยเก็บให้นั่นแหละค่ะ
แนวคิดการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมันมาจากอะไร
ในเชิงเศรษฐศาสตร์ คำว่า " มูลค่าเพิ่ม " หมายถึงมูลค่าของสินค้า หรือ บริการที่เพิ่มขึ้นในขั้นตอนการผลิต ซึ่งมันว่าด้วยผลกำไรของ " ทุน " นั่นเอง
คือ ว่าง่ายๆ รัฐขอมีเอี่ยวด้วยในการเพิ่มมูลค่าของสิ่งนี้ขึ้นมาในสังคมนั่นเอง เพราะการที่คุณจะได้กำไรจากสิ่งหนึ่งสิ่งใด ต้นทุนการผลิตและทรัพยากรต่างๆ มันมากจากรัฐ มันไม่ได้ตั้งอยู่โดยโดดเดี่ยวแบบเสกขึ้นมาลอยๆได้ คุณใช้น้ำประปา คุณใช้ไฟ คุณใช้น้ำ หรือป่าไม้ ตลอดจนคุณใช้แรงงานของเพื่อนมนุษย์ภายในประเทศหรือนำเข้ามาก็ต้องผ่านรัฐ เหล่านี้ถือว่าเป็นทรัพยากรที่เป็นสมบัติส่วนรวมของรัฐ หรือจะเรียกว่าทุน ก็ได้
ยกตัวอย่างเช่น
1
คุณซื้อไม้และอุปกรณ์มาทำเฟอร์นิเจอร์ ต้นทุนเป็นเงิน 1,000 บาท ผลิตออกมาขาย 1,500บาท โดยคิดจากปัจจัยการผลิต ว่าด้วย ค่าแรง ค่าเช่า ค่าสถานประกอบการ ค่าเสียเวลา ฯลฯ
ไอ้ส่วนเกิน 500บาทนี้แหละที่รัฐขอมีเอี่ยวด้วย เพราะอย่างที่บอกปัจจัยต่างๆมันมาจากการมีรัฐสร้างขึ้นมา แต่ทีนี้ผู้ผลิตก็สามารถผลักภาษีตรงนี้ไปในส่วนของผู้บริโภคโดยตรงได้เลย เพราะเท่ากับ สิ่งนี้เป็นผลผลิตหรือ GDP ของรัฐนั่นเอง
ซึ่งส่วนภาษีในการซื้อหรือขาย มันก็แจ้งในต้นทุนการผลิตอยู่แล้ว รัฐให้คุณหักลบทางบัญชีก่อนยื่นปกติ ก็จะเป็นคนละส่วนกัน
อย่างในตลาดหุ้น แม้จะไม่เสียภาษี แต่...ทุกครั้งที่คุณซื้อขาย ก็ถูกหักภาษีจากค่าธรรมเนียมการซื้อขายอยู่ดีค่ะ และหากมีการซื้อขายหุ้นนอกตลาดอันนี้คุณก็ต้องเสียภาษีแน่นอน
โดยที่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 ใน 9 ที่เก็บได้พวกนี้ จะถูกโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่เหลืออีก 8 ส่วนจะถูกโอนให้แก่รัฐบาลกลาง
ภาษีจะกลับมาตอบแทนประชาชนใน 2 ลักษณะ คือ
1) นำไปจ่ายเป็นเงินเดือนและค่าจ้างแก่ข้าราชการที่ให้บริการประชาชน และค่าใช้จ่ายของหน่วยราชการ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เป็นต้น
2) ภาษีที่นำไปเพื่อการพัฒนาประเทศ เช่น การสร้างถนน พัฒนาโรงเรียนพัฒนาแหล่งน้ำ ค่าเงินอุดหนุนกลุ่มต่างในชุมชน
ภาษีทางอ้อมมีอะไรบ้าง ก็มีด้วยกัน คือ
- ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ Vat
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specification Business Tax) เช่น ธุรกิจธนาคาร โรงจำนำ ตลาดหลักทรัพย์ ประกัน พวกนี้ฐานภาษีจะมีฐานเฉพาะ
- อากรแสตมป์ (Stamp Duty) ภาษีตรงนี้ก็จะเก็บย่อยอีกที่นั่นแหละจากการทำธุรกรรมต่างๆ เช่นการโอนหุ้น การเช่าที่ดิน การขายต่างๆ
ประมาณนี้นะคะ ใครมีอะไรเพิ่มเติม แชร์แลกเปลี่ยนกันได้ค่ะ
มิ้วๆ
โฆษณา