19 เม.ย. 2020 เวลา 03:54 • ปรัชญา
Learning Visual Diary#57 : พร้อมรับมือวิกฤตภายนอก ด้วยการเคลียร์วิกฤตความเครียดภายใน
สวัสดีครับทุกท่าน ผ่านไปอีกสัปดาห์ในช่วง Covid19 หวังว่าทุกท่านจะยังสบายดีนะครับ สถิติผู้ติดเขื้อของไทยก็อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น แต่ในระดับโลกก็ยังน่าเป็นห่วง ผมนั่งคิดย้อนกลับไปตอนต้นปี แล้วก็อดคิดไม่ได้ว่าตอนนั้นเราก็คิดว่าปีนี้เราเจอเรื่องหนักๆ เศรษฐกิจจะเป็นยังไง แต่จนถึงตอนนี้ เรื่องที่เราเจอหรือที่เราคิดมาช่วงต้นปีเราก็คงลืมไปหมดแล้ว และอะไรที่เราคิดว่าแย่ตอนนั้นมันกลายดีกว่า best case ตอนนี้เป็นใหนๆ และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ความเครียด ผมเองก็มีปัญหาเรื่องนี้มากเลย Covid19 สร้างผลกระทบที่ไม่ใข่เฉพาะด้านเศรษฐกิจแต่มันลงไปถึงวิถีชีวิตและด้านอารมณ์ครับ วันนี้ผมเลยอยากจะชวนทุกท่านลองออกจากปัญหาแล้วมองเข้าไปในอารมณ์และความเครียดของเราครับ เพื่อให้เรานำพาร่างกายและจิตใจของเราผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
คือมันอย่างนี้ครับ...
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่หนักหนาสำหรับหลายๆคน ผมเองก็รู้สึกว่าความสามารถในการควบคุมอารมณ์แย่ลงเหมือนกัน ยอมรับว่ามีความกังวลและความเครียดเข้ามามาก ซึ่งบางครั้งมันทำให้ผมต้องกลับมานั่งทบทวนตัวเอง และหวนกลับมาทำความรู้จักกับความเครียดของเราให้ดีขึ้นครับ บทความวันนี้จึงอยากแชร์กระบวนการคิดของผม และเนื้อหาส่วนหนึ่งผมได้ต้นความคิดจากคุณพิทยากรหรือคุณเอ็ดดี้ จากเพจธนาคารความสุข ซึ่งผม enroll คอร์ส Stress Management จาก SkillLane ครับ เราเริ่มหัวข้อแรกก่อน จะจัดการความเครียดได้ก็ต้องมารู้จริงก่อนว่ามันคืออะไร
ความเครียดคืออะไร
เอาจริงๆผมคงไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง 100% สำหรับผมความเครียดมันคืออาการทางร่ายกายที่เกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยภายนอกมากระทบตัวเรา และปัจจัยภายในตัวเราตอบรับต่อปัจจัยภายนอกนั้นในทางลบ ฟังแล้วงงๆใช่ใหมครับ ตามมาอีกนิดครับ
ปัจจัยภายนอก คือ event หรือเหตุการณ์ที่เราเจอไม่ว่าเราจะควบคุมได้หรือไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่เราจะคุมไม่ได้ เช่น รถติด งานเยอะ นายด่า ฝนตก แดดร้อน ซึ่งจริงๆหลายเหตุการณ์ที่ผมยกตัวอย่างมันก็อาจตะไม่ได้แย่เสมอไป เข่น ฝนตกมันเป็นเหตุุการณ์ที่ดีของเกษตรกร หรือแม่บ้านที่กำลังตากผ้าก็คงชอบแดดร้อนๆ หรือบางคนมองว่างานเยอะกลับเป็นเหตุการณ์ที่ดี ทำไมเหตุการณ์เดียวกันแต่คนเราจึงเห็นไปคนละทางแบบนี้
ที่ผลเป็นแบบนี้เพราะเหตุการณ์ภายนอกมันกระทบเรามันทำให้เราเครียดไม่ได้ ถ้าเราไม่ตอบรับเหตุการณ์นั้นในเขิงลบ โดยปัจจัยภายในตัวเราเองนั่นก็คือ ความคิด นั่นเอง ความคิดแบบที่สร้างความเครียดมีอะไรบ้าง
1. ความคิดฟุ้งซ่าน หรืออาการคิดไปเอง เคยใหมครับเวลาเราเจอเหตุการณ์เล็กๆซักอย่างนึงแล้วเราก็คิดไปเอง ฟุ้งไปเรื่อยเลย เข่น ทำไมเขาไม่ตอบ email เราซักที ทัก line ไปแล้วทำไมไม่ยอมตอบ หลายครั้งเราก็เครียดฟรีเพราะมัวแต่คิดแต่ไม่หาคำตอบ
2. ความคาดหวัง ส่วนใหญ่เวลาเรามีความรู้สึกลบ จริงๆไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกลบแบบใหน มันมาจากช่องว่างระหว่างความจริงกับความคาดหวัง ซึ่งหลายครั้ง ความจริงที่เราพูดถึงก็อาจจะไม่ใช่ความจริงจริงๆก็ได้ครับ อาจะเป็นความฟุ้งปรุงแต่งของเราก็ได้
3. ความคิดตีความ จริงๆแล้ว การตีความนี่แหละคือสาเหตุที่แท้จริงเลย มันคือหน้าที่หลักของสมอง ที่เมื่อเจอเหตุการณ์ต่างๆ สมองเราต้องการความสมเหตุสมผล ทำให้สมองต้องตีความ และเมื่อสมองมีข้อมูลไม่พอ เราก็ฟุ้ง และเราต้องการวัดความหมายของการตีความจากความคาดหวังนั่นเอง
ดังนั้น ความเครียดในความคิดผม คือ ผลผลิตของเหตุการณ์ภายนอกที่มากระทบเราผ่านการตีความภายในเราเอง และถ้ามันผิดจากความคาดหวังเราก็อาจจะเครียดครับ
เข้าใจธรรมชาติของความเครียด
ก่อนจะแก้เครียดเราควรเข้าใจธรรมชาติของมันครับ ผมมีธรรมชาติของความเครียดสามข้อมาแบ่งปัน ซึ่งผมสรุปจากคอร์ส Stress Management ของคุณเอ็ดดี้ครับ
1. ความเครียดมันเกิดขึ้นเองในจิตใจเราและเรากำกับไม่ได้ เพราะเป็นกระบวนการทางร่างกายที่เกิดสัญชาตญาณ เอาตัวรอดของเรา ไม่ต้องเรียกร้อง เมื่อมีเหตุ จิตก็จะตีความและถ้าไม่ตรงกับที่คาดก็จะเครียด
2. ความเครียดคือโรคติดต่อ เพราะความเครียดของเราหรือคนรอบข้างจะกลายเป็นเหตุการณ์ที่ไปกระทบอีกคนหนึ่ง และทำให้คนอื่นเครียดต่อได้ จากคำอธิบายนี้ ผมชอบประโยคหนึ่งมี่ถูกอ้างว่ส ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า เราไม่วามารถจัดการปัญหาใดๆได้ด้วยระดับพลังงานเดียวกัน เข่นเดียวกับความเครียด เราไม่สามารถจัดการความเครียดของผู้อื่นด้วยระดับจิตใจที่สร้างความเครียดของตัวเราเองได้ ดังนั้น เครียดมาเครียดไปไม่มีประโยชน์ครับ
3. ความเครียดมีวงจรของมันที่พัฒนาได้ คือ ทุกครั้งมันจะเริ่มจาก (1) ปัจจัยภายนอกกระทบ channel ต่างๆ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) (2) เราคิดสมองให้ค่าตีความ (3) สมองเปรียบเทียบกับความคาดหวัง (4) ถ้าไม่ตรงกับที่หวังก็จะเครียด ทั้งหมดมันเกิดขึ้นอย่างรวบเร็วในเสี้ยววินาทีครับ แต่จริงๆมันเป็นกระบวนการแยกเป็นส่วนๆแบบนี้
ความเครียดเกิดจากจิตต้องจัดการที่จิต
การจัดการจิตมันพูดง่ายแต่ทำยากมากครับ แน่นอนผมก็ทำได้ไม่ดี แต่ความสำคัญของเรื่องนี้คือ มันเป็น skill ที่ต้องฝึกถึงจะทำได้ครับ ผมมี 3 วิธีการมาแบ่งปันกันครับ
1. รู้ทันไม่ใช่ควบคุม การแก้ความเครียดไม่ใช่การตัดวงจรหรือกดความคิดไม่ให้เครียด แต่ต้องรู้ทันกระบวนการและวงจรความคิด ต้องรู้ว่าเราคิดเมื่อไรและให้ค่าเมื่อไร เมื่อรู้ว่าจิตกำลังให้ค่า กำลังคิดอะไรอยู่ ได้ยินคำอะไรที่ trigger เห็นอะไรที่ไม่ชอบ กลิ่นนี้เหม็นจัง ฉันไม่ชอบ เราก็จะเริ่มรู้ทัน แต่ถ้าควบคุม เราอาจจะทำไม่ได้ตลอดและถ้ามันใหนรู้ไม่ทันก็ควบคุมไม่ทันเหมือนกันครับ แต่อย่างที่บอกว่าพูดง่สยแต่ทำยากครับ
2. ตอนเริ่มต้นควรมีเทคนิกการจัดการความคิด เวลาที่เราไม่รู้ทันความคิดตัวเอง ความคิดฟุ้งซ่านจะเกิด ซึ่งเราจะไม่รู้ตัวว่าความคิดจะพาเราไปที่ใหน ดังนั้น ในการเริ่มต้นเราอาจเริ่มจากการหาที่อยู่ให้ความคิด เช่น ที่หลายคนบอกว่าเวลาโกรธให้นับ 1 ถึง 10 ในใจ มันคือเทคนิกการหาที่อยู่ให้จิตหรือความคิดอยู่ ทางพุทธก็คือการปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อไม่ฟุ้งซ่าน ความหมกหมุ่นก็ไม่เกิด เราจะได้สติกลับมา และรู้ทันครับ
3. ต้องเข้าใจว่าปัญหามีสองแบบ คือ จัดการได้และจัดการไม่ได้ ถ้าจัดการได้ มันคือระยะสั้นและต้องระลึกว่าสุดท้ายเราจะแก้มันได้อยู่ดี ทราบเป้าหมายและมีความสุขกับปัจจุบันที่เราค่อยๆเดินทางเข้าใกล้การแก้ปัญหาดีกว่า ถ้าเป็นปัญหาที่จัดการไม่ได้ เราต้องเข้าใจและจัดการความคิดตัวเอง เรื่องนี้สำคัญมากๆ เพราะถ้าเราไม่จัดการความคิดตัวเอง วงจรใหญ่ของความเครียดจะเกิด เมื่อเราปล่อยให้ความคิดจะจัดการเรา เราจะไปตามความคิดที่ฟุ้ง และเมื่อเกิดบ่อยๆจะมันกลายเป็นนิสัย และสุดท้ายมันจะฝังเป็นความเชื่อและกลายเป็นชะตากรรมของเราในที่สุด (เราเขื่ออะไรเราได้แบบนั่น เพราะเราเลือกการรับรู้ของเราให้เป็นแบบนั่นครับ)
สรุปวันนี้ เขียนซะยืดยาว ความคิดลบคือธรรมชาติของมนุษย์ครับ สิ่งที่ต้องทำ คือรู้ทัน ถ้ารู้เราจะเข้าใจ ถ้าเข้าใจ จะรู้สึกควบคุมได้ เมื่อควบคุมได้ก็จะไม่เครียด วันนี้ออกแนวพุทธหน่อยครับ เขียนเตือนตัวเองในภาวะที่เราควบคุมอะไรไม่ได้เลย นอกจากความคิดของเราครับ อย่าลืมนะครับว่าเราไม่สามารถก้าวข้ามสภาวะเดิมด้วยพลังงานแบบเดิม ดังนั้น ต้องเปลี่ยนพลังงาน อย่าแก้ความเครียดด้วยความเครียด อย่าแก้ปัญหาด้วยปัญหาครับ... พํดง่ายทำยาก ผมเข้าใจครับ แต่ต้องทำครับ เรายังต้องอยู่กับปัญหาอีกนาน
Happy Learning
ขอบคุณครับ
ชัชฤทธิ์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา