21 เม.ย. 2020 เวลา 22:53
กระดูกพรุน ภัยเงียบของผู้สูงอายุ
ปัญหาคือการเกิดกระดูกหักสำหรับคนที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก
กระดูกพรุน เป็นความผิดปกติของระบบกระดูกที่มีปริมาณของมวลกระดูกต่ำ และคุณภาพโครงสร้างของกระดูกที่ไม่ดี ซึ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก โรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (postmenopausal) เกิดขึ้นเมื่อความหนาแน่นของมวลกระดูกลดต่ำลงจากส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากกว่า 2.5 เมื่อเทียบกับผู้หญิงสุขภาพดีในวัยก่อนหมดประจำเดือน ซึ่งตัวเลขที่เบี่ยงเบนต่ำกว่ามาตรฐาน 2.5
โครงสร้างกระดูกปกติ และกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
โรคกระดูกพรุนที่ไม่มีสาเหตุของการเกิด (Primary osteoporosis) คือโรคกระดูกพรุนที่มีการสูญเสียมวลกระดูกเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น
ชนิดที่ 1 เชื่อว่าโรคกระดูกพรุนเกิดจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้อัตราของการทำลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก โดยรวมจึงทำให้ปริมาณของมวลกระดูกลดลง
ชนิดที่ 2 โรคกระดูกพรุนที่เกิดจากอายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้อัตราการสร้างกระดูกลดลง
โรคกระดูกพรุน ที่เกิิดจากโรคที่มีมาก่อนหรือการได้รับยาบางประเภทมาก่อน เช่น เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือการได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบ มักไม่แสดงอาการใดๆจนกระทั่งมีการเกิดกระดูกหัก ดังนั้นการคัดกรองบุคคลทั่วไปจึงมีความจำเป็น
กระดูกหักมักเกิดที่ กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ และกระดูกสะโพก
ภาพกระดูกสันหลังยุบ และหัก ทำให้ปวดหลัง
กระดูกข้อมือหัก
กระดูกสะโพกหัก
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจวัดหาค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone mass density) เป็นสิ่งสำคัญในการประเมินให้การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน และเป็นการตรวจสอบเพื่อติดตามผลตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วยมาตรฐานการตรวจหาความหนาแน่นของกระดูกต้องตรวจเด้วยเครื่อง Central dual-energy absorptiometry ซึ่งพบว่าเมื่อมีการลดลงของความหนาแน่นมวลกระดูกทุกๆ 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากค่าปกติในคนวัยหนุ่มสาว (อายุประมาณ 20 – 30 ปี) จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักเพิ่มมากขึ้นประมาณ 2 – 3 เท่า
การรักษา
การรักษาโรคกระดูกพรุนประกอบด้วยหลายส่วนด้วยกันได้แก่
การปรับปรุงการใช้ชีวิตประจำวัน (lifestyle modifications)
ผู้ป่วยทุกคนควรออกกำลังกายชนิดที่มีการรับน้ำหนัก (weight-bearing exercise) เช่นการเดิน การวิ่ง ร่วมกับการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength training)
ผู้ป่วยทุกรายที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวควรต้องส่งต่อให้นักกายภาพบำบัดเพื่อทำการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย
ผู้ป่วยทุกคนควรได้รับคำแนะนำในการป้องกันการหกล้ม ซึ่งได้แก่ การปรับแสงไฟฟ้าให้สว่างเพียงพอภายในที่พักอาศัย จัดวางสิ่งของภายในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย การใช้เครื่องพยุงช่วยเดิน หลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นผิวไม่เรียบ ถ้ามีปัญหาทางสายตาควรได้รับการแก้ไขเช่นโรคต้อกระจก ต้อหิน
การรับสารอาหาร
ผู้ป่วยควรได้รับแคลเซียมและวิตามินที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนควรได้รับปริมาณของแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม ทางอาหารและแคลเซียมเสริมชนิดเม็ด ปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายต้องการวันละ 800 IU เพื่อรักษาระดับของวิตามินดีในกระแสเลือดให้อยู่ที่ 30 ng/ml หรือสูงกว่านี้
การรักษาด้วยยา
มียามากมายหลายชนิดที่เป็นทางเลือกในการนำมารักษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ซึ่งได้แก่ การรักษาด้วยฮอร์โมน selective estrogen receptor modulators ฮอร์โมน calcitonin ยากลุ่ม bisphosphonates และยาที่สร้างมวลกระดูก teriparatide ซึงเป็น recombinant human parathyroid hormone
 
โดยทั่วไปยาที่เป็นทางเลือกอันดับแรกในการนำมารักษาโรคกระดูกพรุนคือยาในกลุ่ม bisphosphonates ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นยายับยั้งการทำลายกระดูก โดยออกทธิ์โดยตรงต่อเซลล์ทำลายกระดูก (Osteoclast) ออกฤทธิ์มีผลให้เกิดกระบวนการ apoptosis ของเซลล์ osteoclast มีผลทำให้จำนวน และการทำงานของเซลล์ osteoclast ลดลง ซึ่งยากลุ่ม Bisphosphonates ที่มีการใช้ได้แก่
– Alendroante 70 มิลลิกรัม รับประทานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
– Risedronate 35 มิลลิกรัม รับประทานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
– Ibandronate 150 มิลลิกรัม รับประทานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
– Zoledronic acid 5 มิลลิกรัมโดยให้ยาผ่านเข้าทางเส้นเลือด โดยให้ปีละ 1 ครั้ง
ยา Teriparatide เป็นยาเพียงชนิดเดียวที่มีผลในการกระตุ้นการสร้างกระดูกในการรักษาโรคกระดูกพรุน ซึ่งยานี้ประกอบด้วยaminoterminal portionของ human parathyroid hormone molecule (1-34) เมื่อให้ยานี้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังวันละ 1 ครั้ง จะมีผลในการรกระตุ้นทั้งกระบวนการการสร้างกระดูก และกระบวนการทำลายกระดู แต่ผลโดยรวมจะเกิดการสร้างกระดูกมากกว่าการทำลายกระดูก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://taninnit.com/
ท่านสามารถติดตามสารพันปัญหาโรคกระดูกและข้อ ได้ที่
1
Line OA https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @doctorkeng หรือที่
Facebook ปวดหลังรักษาได้ ไม่ผ่าตัด - Home
สถานที่ Check out คลินิกกระดูกและข้อ หมอเก่ง สันป่าข่อยคลินิก on Google

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา