22 เม.ย. 2020 เวลา 11:03 • ธุรกิจ
5 Mins Reading
วิเคราะห์ผลกระทบ COVID-19 กับ ผู้ให้บริการจองตั๋วท่องเที่ยวและที่พักออนไลน์
"THE IMPACT OF COVID-19 ON The Online Travel Agency (OTA)" ตอนที่ 2
เหมือนพวกปกหนังสมัยก่อนเลย แต่ว่าเป็นปกเราเอง ซื้อภาพมาทำเองจ้า 5555
พร้อมจะลุยต่อตอนที่ 2 กันยังเพื่อนๆ ? ตัวเลขและกราฟรอเพื่อนๆอยู่น้า !
(เข้ามาอ่านขนาดนี้แล้ว 5555) ป่ะ ไปกันเล้ยยยย !
Online Travel vs Travel supplier
ภาพรวมของเว็ปให้บริการจองออนไลน์ (OTA) กับ ผู้ให้บริการที่พักหรือโรงแรม(Hotel) ใครจะเจ็บมากว่ากันน้ะ ?
- จริงๆจะบอกว่า OTA ควรจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าโรงแรมเยอะเลย ควรจะนะเพื่อนๆแต่ความจริงไม่ใช่ 5555 ทำไมถึงควรจะเนอะ? เพราะว่า ต่อให้ demand หายจากนทท. จีน OTA ก็ยังขายของประเทศอื่นๆได้อยู่ดี เช่น ยุโรป อเมริกา
- หรือต่อให้โรงแรมในจีน ในไทยปิดเนี่ย ก็ยังมี Supplier โรงแรมจากที่อื่นๆอยู่ดีเช่น อสสเตรเลีย ยุโรป อเมริกา .......... คือเอาง่ายๆ เป็นคนกลางน่ะก็ดีแบบนี้เองแหละ
ตึงง ตึ่งง .... แต่ทว่า ณ ตอนนี้ ประเทศไหนๆก็หนักหมดเลยละสิ.. ยังพอนะ โรงแรมเนี่ย ยังไม่รับลูกค้า ยังปิดได้ ไม่มีรายจ่ายอย่างน้อยก็เรื่องค่าไฟ น้ำ เพิ่มเติมแล้ว เพราะปิดตึก
แต่ OTA เนี่ยสิ เค้าเป็นเว็ปไซต์ ที่ยังไงก็ต้องเปิดตลอดอยู่แล้ว 24 hours
- ค่า Marketing ที่จ่ายไปกับสื่อต่างๆรายปี ?
- ค่า Variable cost สำหรับ maintainance IT ต่างๆ
- ค่าจ้างพนักงาน
อย่าง Expedia เองทีเพิ่งมีการจ้างพนักงานออกไปเกือบ 12% หรือราวๆ 3,000 คนทั่วโลกในช่วงต้นมีนาคม ที่ผ่านมา หรือ Booking Holding เองที่เพิ่งประกาศออกเรื่องลดจำนวนพนักงานลงราวๆ 3,000+ คน เช่นกันในวันที่ 20 เมษาที่ผ่านมา (สดๆร้อนๆเลย)
Booking Holding ได้เปิดเผยว่าบริษัทได้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เมื่อหักกำไรแล้วพบว่าเสียเพิ่มขึ้น 68% (operational cost) ซึ่งไม่ต่างกับ Expedia. รายงานจาก IATA* ได้ออกมาบอกว่า Airline ต่างๆ ได้วางแผนในการทำการลดค่าใช้จ่ายส่วนบริการราวๆ 50% ซึ่งนั้นเค้าสามารถทำให้เป็นจริงได้ แค่การหยุดบิน หรือการที่ไม่ต้องเสียค่าน้ำมันต่างๆ หรือที่เรียกว่า Variable cost สายการบินก็สามารถลดค่าใช้จ่ายได้
แล้วเค้าทำยังไงกันอ้ะ T^T ??
แต่สำหรับ OTA เองเนี่ย อย่าง Expedia Group ได้เปิดเผยมาตรการลดค่าใช้จ่ายโดยการ ตัดงบการโฆษณาออกทันที(Advertising cost) และที่หนักกว่าคือ Airbnb ที่งดการทำจ่ายเกี่ยวกับการตลาดทั้งหมด (Halt all marketing cost) ซึ่ง cost พวกนี้ละคือ Variable cost หรือพูดง่ายๆก็คือ เป็นค่าใช้จ่ายที่ผันแปรสามารถเพิ่มหรือลดได้ (ตรงข้ามกะ Fix cost)
ชวนเพื่อนๆคิดต่อว่า แล้วในเหตุการณ์ที่ทุกอย่างกำลังถดถอยแบบนี้ OTA และ โรงแรม ควรจะปรับตัว และ มองในมุมไหน ?
- อ้าฮ้าา แน่นอนๆ ต้องมองในมุมลูกค้าาา
- สำหรับ OTA จะได้เปรียบกว่านิดนึงตรงที่ สิ่งที่ลูกค้ามองคือ เรื่องราคา แน่นอนว่าหลังจากมหันตภัยนี้จบลง ผู้คนต้องมีการปรับตัวมากขึ้น (New normal) หรือการหาเงิน แหล่งรายได้ที่ไม่เหมือนเดิมแว้ว การที่ลูกค้ามีตัวเลือกที่เยอะ ทำให้เค้ามีการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นโดยเฉพาะ ราคา ซึ่งนั้นแหละคือจุดเด่นของ OTA อย่าง Booking.com หรือ Expedia ที่โชว์ราคาของโรงแรมทั้งหมด ลูกค้าสามารถเทียบได้ง่ายๆและทำการจอง
- ในมุมของโรงแรม Revenue manager ก็คงจะต้องมองมากขึ้น มากกว่าเรื่องของ inventory, allotment management, สงคราม Price parity ระหว่าง OTA (คือราคาขายที่หั่นกันไปมาของ OTA นะน่ะ) ต้องหันมาโฟกัสเรื่องของ competitive มากขึ้น
ที่น่าสนใจคือ เพื่อนๆ รู้ไม๊ว่า พี่ๆโรงแรมเค้าลำบากกันขนาดนี้ แต่ สิ่งหนึ่งที่โรงแรมๆหลายเจ้าเริ่มทำกันก็คือ การขอลดค่าคอมมิชชั่นจาก OTA หรือ Take rate เรามาดูกราฟประวัติการเปลี่ยนแปลงของค่าคอมมิชชั่น (Take rates) กันหน่อยดีกว่าาาา !
เพื่อนๆจะเห็นได้จากกราฟข้างบนว่าที่เราไฮไลท์สีเหลือง ระดับค่าคอมมิชชั่น (take rates) ในช่วง Financial crisis 2008-2009 ที่โรงแรมเองขาดทุนยับกันหลายราย OTA เองยังไม่ยอมลดค่าคอมมิชชั่นเลย แต่หลังจากนั้นจึงได้มีการปรับลดลงมา ตามระดับการแข่งขัน
ในมุมกลับกัน ถ้าเรามองลึกลงมาอีก โดยหยิบ Booking Holding มาวิเคราะห์ดูในเรื่องของการเก็บค่าคอมมิชชั่นโรงแรมใหม่ที่ไม่ใช่ chain hotel หรือ Independent hotel
การเก็บค่าคอมมิชชั่นของ Booking Holding กับโรงแรมใหม่ ปี 2004 - 2019
เพื่อนๆจะเห็นว่า (ไฮไลท์สีแดง) การเก็บค่าคอมมิชชั่นโรงแรมใหม่ที่ไม่ใช่ chain hotel หรือ Independent hotel เพิ่มขึ้นสูงถึง 24% ในปี 2009
นั้นคือ Booking holding เองก็คงบาดเจ็บจาก financial crisis นี้เหมือนกันในประวัติการที่ผ่านมา
คำถามให้เพื่อนๆชวนคิดต่อ (แต่เราไม่มีคำตอบให้นะ 55555) คือ จากที่เพื่อนๆเห็นกราฟกันแบบนี้แล้ว โรงแรมยังจะมีหวังในการขอลดค่าคอมมิชชั่นเพื่อดำเนินธุรกิจต่อไปกับ OTA ได้หรือไม่ ? ......
มาพูดถึงเรื่อง Traffic for Online Travel Websites กันบ้างงดีกว่า
Traffic for Online Travel Websites ก็คือการเสิชการค้นหาทีพักและตั๋วเครื่องบินเป็นอย่างไรบ้างนั้นเอง
ซึ่ง อ้างอิงจาก Similarweb แล้ว พบว่า....
โดยข้อมูลที่เพื่อนๆเห็นตรงนี้ รวบรวมจากการเข้าชมเว้ปไซต์ Expedia, vrbo, Booking.com, Airbnb, skyscanner, tripadvisor, trivago, kayak
โดยที่แทรคจากกลุ่มประเทศ The U.S., UK, Italy, France, Germany,Japan, and Hong Kong เป็นหลักน้า
- โดยภาพรม การค้นหาการท่องเที่ยวเนี่ย ตกลงมาเกือบ 70% แน่ะ !!!!
- โดยถ้ามองดูให้ลึกลงไปแล้ว Short term rental จะดูดีที่สุด หรือการค้นหาเว็ปไซต์ของบ้านพัก (ไม่ใช่โรงแรม) อย่าง airbnb, หรือ vrbo นั้นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ ช่วงวันของการเสิชการเข้าพักจะเยอะกว่าโรงแรมนั้นเอง (เช่น โรงแรมเฉลี่ยนค้างที่ 2-5 คืน, แต่บ้านพักจะเป็น 1-2 สัปดาห์)
โอโห Short term rental websites พุ่งขึ้นเลยยย
เพื่อนๆสงสัยไม๊ ทำไมเว็ปให้บริการเช่าบ้านพักถึงขึ้นแล้ว ทำไมโรงแรมถึงได้ตกล้ะะะะ ??
1. เทรนด์การค้นหาสำหรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นครอบครัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเมืองหรือพื้นที่เสี่ยง อยากจะอพยพ ไปอยู่ในเขตต่างจังหวัดหรือพื้นที่ ที่เงียบสงบ และมีความเป็นอยู่ที่ตอบโจทย์ ซึ่งนั้นก็หนีไม่พ้นการจองบ้านพักเป็นระยะเวลาสั้นๆนั้นเอง 1 สัปดาห์ อาจจนถึง 1 เดือน
2. กลุ่มคนโดยเฉพาะครอบครัว ต้องการจะปลีกวิเวกออกมา โดยเฉพาะกลุ่มที่พักอาศัยในคอนโด หรือ อพาทเม้น ในขณะเดียวกัน การจองโรงแรมนั้น นอกจากแพงแล้ว ยังมีความเสี่ยงในการเจอผู้พักหรือักท่องเที่ยวอีก
ไหนๆ VRBO จะดูเป็นเว็ปที่การค้นหาเยอะสุดแล้ว (อันนี้ก็เป็น 1 ใน ครอบครัว Expedia Group น้ะ เพื่อนๆ ค่อนข้างดังที่อเมริกาและยุโรป พวกเราอาจไม่ค่อยคุ้นกัน)
- เหมือนว่าแม้ในกระทั่งครอบครัวของ Expedia เองเนี่ย VRBO จะทำผลงานได้ดีที่สุดด้วยในช่วงนี้ (แต่เมื่อก่อนคือเฉยๆนะ)
- ในขณะที่การค้นหาที่พักอย่างโรงแรมใน Expedia และ metasearch websites อย่าง Trivago กลับ ตกลงไปเยอะมาก
**Metasearch คือการที่เสิชแล้วเวปไซต์นั้นโวช์ราคา 1 โรงแรม โดยมีการเปรียบเทียบ OTAs หลายๆเจ้านั้นเองงงง
ไหนๆเราก็พูดถึง Metasearch อย่าง VRBO ละ เพื่อนๆอยากรู้ไม๊ว่า Metasearch เจ้าอื่นๆเป็นไงบ้าง ?
- พบว่าในบรรดา Metasearch เนี่ย Trivago ยังคงตำแหน่งอันดับสุดท้าย
- ในขณะที่ Tripadvisor และ Skyscanner (ของ Trip.com) เนี่ยจะเป็นอันดับต้นๆในหมวด Metasearch แทน
- CEO ของ Trip.com ยังได้ออกมาเปิดเผยว่า ผลกระทบการเสิชโรงแรมจาก Metasearch (อ้างจากของเค้าเองคือ Skyscanner) ดูท่าจะแย่กว่าการเสิชสายการบินเยอะเลย
ซึ่งถ้าการเสิชจากเวปไซต์โดยตรงจะง่ายกว่า แบบนี้ผู้ให้บริการจองที่พักแบบ Metasearch เนี่ย ก็จะสูญเสียรายได้จากลูกค้าอย่าง (Expedia, Booking) ไปอย่างแน่นอน อย่างที่บอกไปตอนต้นแล้วว่า เค้ากำลังจะตัด Marketing cost นั้นเองงง
โดยงานวิจัยจาก Koddi.com ได้ออกมาบอกว่า Cost per click ที่ Metaserach websites ได้รับจาก OTA ลดลงไปถึง 40% แล้วละ.... นั้นคือเหล่า OTA กำลังตัด marketing cost โดยการลดค่าใช้จ่ายการโฆษณาออกไป
แล้วเพื่อนๆรู้หรือไม่ว่า นอกจากการจ่ายเงินที่ลดลงไป 40% แล้ว การประมูลเพื่อแย่งพื้นที่การติดอันดับใน Metasearch เนี่ย ลดลงไปเกือบ 75% !! นั้นคือความต้องการแข่งขันจาก OTA ลดลงไปด้วยเช่นกัน
ทิ้งท้ายด้วยข้อมูลกราฟเทียบกันระหว่างการเสิชของ OTA
คือตอนนี้ โลกของ OTA ไม่ได้แข่งกันเป็นที่ 1 หรือว่าใครถูกกว่า เจ๋งกว่าใครเหมือนที่ผ่านมาแล้ว
ทุกคนต้องแข่งกันว่า ชั้นจะเป็นผู้อยู่รอดไม๊ ? หรือใครจะบาดเจ็บและฟื้นฟูได้เร็วที่สุด ? นั้นเองงงงงง
จบแว้วสำหรับตอน 2 !! ยาวไปไม๊เพื่อนๆ 55555
เดี๋ยวตอนหน้าจะมาเจาะลึกกับเรื่องราวของการเสิช และรายได้/กำไร ในแต่ละ OTA กันน้าาา ! ฉบับนี้ขอตัวลาไปเขียนฉบับต่อไปก่อนเด้อออ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา