23 เม.ย. 2020 เวลา 10:29 • การศึกษา
หมวด 8 การออกจากราชการ
มาตรา 107 ช้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาออกจากราชการเมื่อ
1 ตาย
2 พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
3 ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออก
4 ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา 49 เนื่องจากขาดคุณสมบัติ
มาตรา 56 ไม่ผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
มาตรา 103 ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางวินัยร้ายแรงและพักราชการ
มาตรา 117 ป่วยนาน ยุบเลิกตำแหน่ง ปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพ
มาตรา 111 หย่อนความสามารถ
มาตรา 112 มีมลทินมัวหมอง
มาตรา 113 จำคุกความผิดประมาท ลหุโทษ
มาตรา 114 รับราชการทหาร และกลับมาภายใน 180 วันนับตั้งแต่พ้น
มาตรา 118 มีกรณีสมควรให้ออกจากราชการก่อนโอนมาจากท้องถิ่น
5 ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
6 ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
การลาออกจากราชการ
การยื่นหนังสือลาออกต้องยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า 30 วัน ยื่นต่อผู้บังคับบัญชา ผู้พิจารณาอนุญาตการลาออก คือ ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53
ตัวอย่างเช่น
ตำแหน่งครูผู้ช่วย ขอลาออกให้ยื่นหนังสือ ต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา ศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตการลาออก
ตำแหน่งครูวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ขอลาออก ให้ยื่นต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ลาออกคือ เลขาธิการกพฐ.
การยับยั้งการลาออก ยับยั้งได้เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน ยับยั้งได้ครั้งเดียวเพื่อประโยชน์ทางราชการ
เมื่อครบกำหนดเวลาให้ยับยั้งแล้ว ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง
ถ้าไม่ได้ยับยั้งการอนุญาตการลาออก ให้การลาออกครั้งนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก
การขอลาออกไม่ระบุวันลาออก ให้มีผลผลิตจากครบ 30 วัน
การขอลาออก เพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา ให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา