Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่าน ฟัง สอบครูผู้ช่วย
•
ติดตาม
24 เม.ย. 2020 เวลา 08:47 • การศึกษา
หมวด 9 การอุทธรณ์และร้องทุกข์
การอุทธรณ์ หมายถึง การที่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยร้องขอให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้ ได้ยกเรื่องขึ้นมาพิจารณาใหม่ ให้เป็นไปในทางให้คุณแก่ผู้ถูกลงโทษ
การร้องทุกข์ หมายถึง การที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำของผู้บังคับบัญชา หรือกรณีถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ใช้สิทธิ์ร้องทุกข์ ตามบทกฎหมายต่อองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชา ทบทวนคำสั่ง หรือเพิกถอนคำสั่ง
ความแตกต่างระหว่างการอุทธรณ์และการร้องทุกข์
1 การอุทธรณ์ หมายถึง กรณีถูกลงโทษทางวินัย 5 สถาน
โทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน วินัยไม่ร้ายแรง ที่สั่งโดยผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อ กศจ. ภายใน 30 วันนับตั้งแต่ได้รับแจ้ง ที่สั่งโดยนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เลขาฯกพฐ. ให้มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อ ก.ค.ศ. ภายใน 30 วันนับตั้งแต่ได้รับแจ้ง
โทษปลดออก ไล่ออก วินัยร้ายแรง ให้อุทธรณ์ต่อ ก.ค.ศ. ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับแจ้งคำสั่ง ให้ ก.ค.ศ. พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน
กรณีผู้มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษผิดวินัยร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรง ต้องอุทธรณ์ต่อ ก.ค.ศ. เท่านั้น
2 การร้องทุกข์ เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือมีความคับข้องใจ เนื่องจากการกระทำของผู้บังคับบัญชา หรือกรณีถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย โดย ให้ร้องทุกข์ต่อ กศจ. ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันทราบเรื่อง อันเป็นเหตุ เกิดเหตุแห่งการร้องทุกข์ มติ กศจ. เป็นที่สิ้นสุด
ถูกสั่งให้ออกจากราชการ พักราชการ ร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ. ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง
อุทธรณ์โทษสิ้นสุดที่ ก.ค.ศ. ร้องทุกข์สิ้นสุดที่ กศจ. หากไม่ได้รับความเป็นธรรม ฟ้องร้องต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน
กรณีถูกสั่งให้ออกหรือพักราชการ ให้มีสิทธิ์ร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ. ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง ถ้าเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ. ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พศ 2562 คือปัจจุบันปรากฏปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย ของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่างๆ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาคในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปแล้ว
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความรอบรู้ (กฎหมายการศึกษา)
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย