Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่าน ฟัง สอบครูผู้ช่วย
•
ติดตาม
26 เม.ย. 2020 เวลา 10:01 • การศึกษา
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ. ศ. 2546
มีผลบังคับใช้ วันที่ 30 มีนาคม 2547
9 หมวด 88 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
มาตรา 4
เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส
เด็กเร่ร่อน หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆหรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตด้วยร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
เด็กกำพร้า หมายความว่า เด็กที่บิดามารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดา หรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน หรือบิดามารดาหย่าร้างทิ้งร้าง ถูกคุมขังหรือแยกกันอยู่ และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับ ภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัย หรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กพิการ หมายความว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพ หรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมาย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อม หรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
นักเรียน หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา หรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
นักศึกษา หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
บิดามารดา หมายความว่า บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่
ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดามารดาหรือผู้อนุบาลผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ความหมายรวมถึง พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพนายจ้างตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดู หรือพึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย
ครอบครัวอุปถัมภ์ หมายความว่า บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร
การเลี้ยงดูโดยมิชอบ หมายความว่า การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนหรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำ ที่กำหนดในกฎกระทรวงจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
ทารุณกรรม หมายความว่า การกระทำหรือการละเว้นการกระทำด้วยประการใดๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กในการกระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตราย แก่ร่างกายหรือจิตใจ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
สืบเสาะและพินิจ หมายความว่า การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล และนำมาวิเคราะห์ วินิจฉัย ตามหลักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา กฎหมายและหลักวิชาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและครอบครัวของบุคคลนั้น
สถานรับเลี้ยงเด็ก หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกิน 6 ปี และมีจำนวนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ไม่รวมถึง สถานพยาบาลหรือโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน
สถานแรกรับ หมายความว่า สถานที่รับเด็กมาอุปการะเป็นการชั่วคราว เพื่อสืบเสาะและพินิจเด็ก และครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็กแต่ละราย
สถานสงเคราะห์ หมายความว่า สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก ที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป
สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หมายความว่า สถานที่ให้การศึกษาอบรมฝึกอาชีพ เพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แก่เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
สถานพัฒนาและฟื้นฟู หมายความว่า สถานที่ โรงเรียน สถาบันหรือศูนย์ที่จัดขึ้นเพื่อทำการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการศึกษาแนะแนว และการฝึกอบรมอาชีพ แก่เด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเป็นกรณีพิเศษ
สถานพินิจ หมายความว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนของ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
มาตรา 6 รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
5 รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม
ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด 1 คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก 3 คณะ
มาตรา 7 ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ 25 คน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ
มาตรา 14 คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1 เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน งบประมาณ และมาตรการในการสังเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กตามพระราชบัญญัตินี้
2 เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง และระเบียบเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
3 วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน
4 วางระเบียบเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ตามมาตรา 47
5 วางหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้ง พนักงานเจ้าหน้าที่
6 ให้คำปรึกษาและแนะนำประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษาการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้ง เข้าไปตรวจสอบในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู สถานพินิจ หรือสถานที่เกี่ยวกับการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็กทั้งของรัฐและเอกชน
7 ติดตามประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงาน ของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพฯและคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด
8 ดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก
มาตรา 16 ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพฯ 25 คน
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ
มาตรา 17 ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
มาตรา 20 คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพฯและคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดมีอำนาจหน้าที่
1 เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับนโยบายแผนงานงบประมาณและมาตรการในการส่งเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็กตามพระราชบัญญัตินี้
2 ให้คำปรึกษาแนะนำและประสานงาน
3 กำหนดแนวทางการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก
4 จัดหาทุนเพื่อการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพและการส่งเสริมความประพฤติเด็ก
5 ตรวจสอบหรือเรียกบุคคลเกี่ยวข้องมาชี้แจงกรณีการปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบ
6 เรียกเอกสารหรือพยานหลักฐานใดๆหรือขอคำชี้แจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการวินิจฉัย
7 ติดตามประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์และส่งเสริมความประพฤติเด็ก
8 ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
หมวด 2 การปฏิบัติต่อเด็ก
มาตรา 22 การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
มาตรา 23 ผู้ปกครอง ต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตน ตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น
มาตรา 24
1 ปลัดกระทรวง
2 ผู้ว่าราชการจังหวัด
3 ผู้อำนวยการเขต
4 นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
5 หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ และให้มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 25 ผู้ปกครองต้องไม่กระทำการดังต่อไปนี้
1 ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาล หรือไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะหรือสถานที่ใดโดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน
2 ละทิ้งเด็กไว้ณสถานที่ใดๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม
3 จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือสุขภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
4 ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก
5 ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
มาตรา 26 ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้
1 กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
2 จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือรักษาพยาบาลแก่เด็กที่อยู่ในความดูแลของตนจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
3 บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
4 โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วย ประการใดเพื่อรับเด็กคือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติของเด็กเว้นแต่การกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว
5 บังคับ ขู่เข็ญ ส่งเสริม ชักจูง ยินยอมหรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กเป็น ขอทานเด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทาน หรือการกระทำผิดหรือการกระทำด้วยประการอันใดเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
6 ใช้ จ้าง หรือวานเด็ก ให้ทำงานหรือกระทำการอันเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก
7 บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า
8 ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนัน เข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่
9 บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร
10 จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุรา หรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่ การปฏิบัติทางการแพทย์
มาตรา 28 ในกรณีผู้ปกครองตกอยู่ในสภาพไม่อาจให้อุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน และพัฒนาเด็กได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการให้การสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ
มาตรา 29 ผู้ใดพบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพ จำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ จะต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้น และแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยมิชักช้า แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่รับตัวเด็กไว้รักษาพยาบาล ครู อาจารย์ หรือนายจ้างซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็ก ที่เป็นสิทธิ์หรือลูกจ้าง จะต้องรายงานให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจทราบโดยมิชักช้า หากเป็นที่ปรากฏชัดหรือน่าสงสัยว่าเด็กถูกทารุณกรรมหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการเลี้ยงดูโดยมิชอบ การแจ้งหรือการรายงานตามมาตรานี้เมื่อได้กระทำการโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางปกครอง
มาตรา 39 ประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1 เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ใดๆ หรือยานพาหนะใดๆในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เพื่อตรวจค้นในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำทารุณกรรมเด็ก มีการกักขังหรือเลี้ยงดูโดยมิชอบ แต่ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากไม่ดำเนินการในทันทีเด็กอาจได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ หรือถูกนำพาไปสถานที่อื่นซึ่งยากแก่การติดตามช่วยเหลือก็ให้มีอำนาจเข้าไปในเวลาภายหลังพระอาทิตย์ตกได้
2 ซักถามเด็กเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าเด็กจำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ ไม่ว่ากรณีใดจะกักตัวเด็กไว้นานเกิน 12 ชั่วโมงไม่ได้ เมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวให้ มอบตัวเด็กให้แก่ผู้ปกครองพร้อมกับแนะนำหรือตักเตือนผู้ปกครอง ระหว่างที่เด็กอยู่ในความดูแลจะต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูและหากเจ็บป่วยจะต้องให้การรักษาพยาบาล
3 มีหนังสือเรียกผู้ปกครองหรือบุคคลอื่นใดมาให้ถ้อยคำหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ความประพฤติ สุขภาพ และความสัมพันธ์ในครอบครัวของเด็ก
4 ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็ก ส่งเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่การศึกษาการทำงานหรือความประพฤติของเด็กมาให้
5 เข้าไปในสถานที่อยู่อาศัยของผู้ปกครอง รวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ความสัมพันธ์ในครอบครัวการเลี้ยงดูนิสัยและความประพฤติของเด็ก
6 มอบตัวเด็กให้แก่ผู้ปกครองพร้อมกับแนะนำหรือตักเตือนผู้ปกครองให้ดูแลและอุปการะเลี้ยงดูเด็กในทางที่ถูกต้องเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาในทางที่เหมาะสม
7 ทำรายงานเกี่ยวกับตัวเด็กเพื่อมอบให้แก่สถานแรกรับในกรณีการส่งเด็กไปยังสถานแรกรับหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อมีการร้องขอเด็กที่อยู่ในความดูแล ของพนักงานเจ้าหน้าที่ จะต้องได้รับการอุปการะเลี้ยงดูและได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม และก่อนที่จะจัดให้เด็กเข้าอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนา และฟื้นฟู จะต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และการแพทย์ก่อน เท่าที่สามารถกระทำได้
มาตรา 31 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความรอบรู้ (กฎหมายการศึกษา)
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย