25 เม.ย. 2020 เวลา 13:45
Telemedicine และ Telehealth
โอกาสบนวิกฤต...สู่การปฎิวัติโลกบริการทางการแพทย์
โลกแห่งดิจิตอลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริการต่างๆ ปัจจุบันเมื่อเราต้องการใช้บริการรถยนต์สาธารณะ เราก็จะหยิบมือถือเข้า app เรียกแท็กซี่ หรือเราใช้บริการโอนเงิน/จ่ายเงินผ่าน Mobile Banking ต่างๆ ที่สะดวกรวดเร็ว เราดูรายการทีวีผ่านระบบ streaming บนมือถือ เป็นต้น
แต่ดิจิตอลก็ยังไม่สามารถเข้าไปมีบทบาทมากนักในบางเรื่องเพราะไม่สามารถเปลี่ยนประสบการณ์การให้บริการหรือแก้ pain point ที่ใหญ่กว่า
การบริการด้านการแพทย์เป็นอีกหนึ่งบริการที่คนยังเชื่อมั่นในการไปพบแพทย์ด้วยตนเองมากกว่าการคุยกับแพทย์ผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ
Telemedicine และ Telehealth คือ ระบบการปรึกษาและให้บริการทางการแพทย์ผ่านวิดีโอคอล โทร หรือแชท ผ่านเครื่องมือและระบบที่มีการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล
แม้ที่ผ่านมา Telemedicine จะมีการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการทั่วโลก จาก 3 แสนคนในปี 2013 เป็น 7 ล้านคนในปี 2018 แต่ก็ยังเป็นจำนวนที่น้อยมากหาเทียบกับปริมาณการพบแพทย์ทั่วโลก (ข้อมูลจาก Statista)
วิกฤตไวรัสโควิด-19 ทำให้คนหันมาเริ่มทดลองใช้บริการปรึกษาแพทย์ผ่าน Telemedicine มากขึ้น
ช่วงวิกฤตการโควิด-19 เริ่มระบาด ในบ้านเราจะเห็นปัญหาที่คนจำนวนมากต้องการหรือจำเป็นต้องได้รับการตรวจระบาดโลก ทำให้โรงพยาบาลต่างๆ ไม่สามารถรองรับปริมาณคนจำนวนมากทั้งในด้านสถานที่ บุคคลากร และเครื่องมือในการให้บริการ กว่าที่โรงพยาบาลจะปรับตัวให้รองรับคนได้เพิ่มขึ้นแต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการที่เกิดขึ้นจากปัญหาการระบาดได้
ผู้ที่ได้รับผลกระทบในการไปพบแพทย์ ไม่มีเพียงแค่ผู้ที่ไม่สามารถได้รับการตรวจไวรัส-19 ที่เกินความสามารถรองรับของโรงพยาบาล ยังมีผลกระทบไปถึงผู้ป่วยอื่นๆ ที่จะต้องไปใช้บริการที่โรงพยาบาลด้วย ซึ่งเราก็คงได้ยินได้เห็นข่าวที่มีแพทย์บางท่านพูดถึงเรื่องนี้ และรวมไปถึงกลุ่มบุคคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลก็ต้องมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ จะถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นโอกาสของการให้บริการผ่านระบบดิจิตอลอย่างไร?
บนวิกฤตมีโอกาสเสมอ การระบาดของไวรัสโควิด-19 เปิดโอกาสให้กับระบบทางไกลให้ถูกนำไปใช้ ทั้งระบบการเรียนทางไกล ระบบประชุมทางไกล ผ่านโปรแกรม และ application ต่างๆ รวมไปถึงระบบ Telemedicine หรือ ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล ที่ถูกนำมาใช้เพื่อไม่ให้เราต้องเดินทางไปอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง และยังสามารถได้รับการตรวจรักษาที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง
Credit ตามภาพ
บริษัท Telemedicine รายใหญ่ในประเทศจีน คือ Ping An Good Doctor ได้ให้ข้อมูลว่ายอดการใช้งานการปรึกษาแพทย์ผ่านระบบของ Ping An นั้น เพิ่มสูงขึ้นถึง 900% จากยอดผู้ใช้งานเดิม
บริษัทที่ให้บริการด้าน Telemedicine อื่นๆ ก็ได้ให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลกในช่วงการระบาดนี้
Credit ตามภาพ
การที่ผู้ป่วยหันไปใช้บริการ Telemedine มาก มีผลดี เช่น
- ช่วยเพิ่มการตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มเสี่ยงได้มากขึ้น รวดเร็วขึ้น รวมไปถึงการเกิดโรคระบาดในอนาคต
- ช่วยในการคัดกรองกลุ่มคนที่เสี่ยงน้อยเพื่อไม่ต้องเคลื่อนย้ายตัวเองจากที่อยู่โดยไม่จำเป็น ลดความเสี่ยงในการรับเชื้ออื่นๆ
- ช่วยคนไข้ในขณะ self-quarantine 14 วันให้มีที่พึ่งพา
- ช่วยคลายความกังวลจากความเครียดจากข้อมูลข่าวสาร
- ช่วยลดภาระหน้างานให้แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้สามารถเพิ่มเวลาการดูแลกับเคสที่ติดเชื้อหรือเสี่ยงสูงจริงๆ
Credit ตามภาพ
เมื่อคนเลี่ยงการไปใช้บริการที่โรงพยาบาล และหันมาเริ่มลองใช้ Telemedine มากขึ้น จะมีการใช้บริการเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับการใช้บริการ Mobile Banking ที่ช่วงแรก ๆ คนไม่เชื่อมั่นแต่เมื่อใช้ไปสักพักจะกลายเป็นความเคยชินจนหันมาใช้บริการผ่านระบบดิจิตอลมากขึ้นๆ เกิดการลดลงของผู้ใช้บริการที่สาขา
ในระยะยาวเมื่อคนหันมาใช้บริการ Telemedicine มากขึ้น จะทำให้รูปแบบการให้บริการของโรงพยาบาลเปลี่ยนไปในอีกหลายด้าน เช่น
1. เพิ่มความสะดวกในการใช้บริการทางการแพทย์ ด้วย application ที่โรงพยาบาลพัฒนาขึ้นมา ตั้งแต่การเลือกแพทย์ การนัดหมาย การฟังผล และการจ่ายค่ารักษาพยาบาล
Credit : ตามภาพ
2. เกิดการเชื่อมต่อกับพันธมิตรด้านต่างๆ เช่น บริษัทประกันสุขภาพ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การเชื่อมต่อเหล่านี้จะทำให้บริการบางอย่างถูกผลักออกไปนอกโรงพยาบาล โรงพยาบาลไม่จำเป็นต้องให้บริการเหล่านี้เองแต่สามารถส่งให้กับ Lab ภายนอก ที่เชื่อมต่อระบบไว้
Lab ต่างๆ จะมีปริมาณงานมากขึ้น คุ้มค่าในการลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น โรงพยาบาลก็ไม่ต้องลงทุนกับการขยายอาคารและเครื่องมือทางการแพทย์ราคาแพงที่ไม่มีการใช้งานบ่อยคุ้มราคา
Credit : bangkoklife.com
3. เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความร่วมมือทางการแพทย์มากขึ้น ปัจจุบันโรงพยาบาลหลายแห่ง ให้บริการด้านการปรึกษาแนวทางการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยนอกประเทศซึ่งมีบริษัทประกันสุขภาพหลายแห่งในต่างประเทศเลือกที่จะส่งเคสมาทำการรักษาในประเทศไทยที่มีคุณภาพทางการแพทย์และต้นทุนการรักษาที่เหมาะสมกว่า ระบบ Telemedicine จะเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพของโรงพยาบาลในด้านนี้ได้เป็นอย่างดี
4. โรงพยาบาลจะหันมาให้บริการเพื่อสุขภาพในช่วงก่อนการเจ็บป่วยและหลังการเจ็บป่วยมากขึ้น ปัจจุบันโรงพยาบาลหลายแห่งเริ่มให้บริการเหล่านี้แล้ว
ในอนาคตบริการเหล่านี้จะมีความสำคัญมากขึ้นต่อธุรกิจโรงพยาบาลที่ให้การบริการแบบเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น รวมทั้งรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยของไทยในอีกไม่นานนัก
Telehealth ก้าวต่อของ Telemedicine เป็นโอกาสที่แท้จริง
การให้บริการด้วย Telehealth ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างมีข้อจำกัดจากต้นทุนของอุปกรณ์ติดตามตัว และความเคยชินในการรับบริการทางการแพทย์ เมื่อ Telehealth ถูกพัฒนาควบคู่ไปกับการใช้บริการ Telemedicine ที่เติบโตขึ้น อุปกรณ์เชื่อมโยงต่างๆ ที่จะมีต้นทุนลดลง จะส่งผลให้คนใช้ Telehealth เพิ่มขึ้นด้วย และจะเป็นโอกาสใหม่ของบริการทางการแพทย์ในอนาคต
ปัจจุบันเราเริ่มเห็นโอกาสของ Telehealth ที่มีมากขึ้น Apple Inc ที่มี Iphone และ Apple watch อยู๋ในปัจจุบัน ก็เริ่มพัฒนาเครื่องมือรองรับ application ทางการแพทย์บนระบบ IOS ระบบ Smart watch ต่างๆ จะทำให้สามารถเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานเพื่อเป็นฐานในการดูแลสุขภาพของตัวเอง
Telehealth ที่มีการให้บริการเต็มรูปแบบแล้วก็คือ เครื่องมือติดตามตรวจวัดระดับน้ำตาลของผู้ที่เป็นเบาหวาน ซึ่งจะช่วยให้ได้รับการดูแลทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดโดยไม่ต้องเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
Credit ตามภาพ
การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกในครั้งนี้ อาจจะเป็นโอกาสสำคัญท่ามกลางวิกฤตการ ที่จะพลิกรูปแบบการให้บริการทางการแพทย์ จากความเคยชินที่ต้องไปพบแพทย์ในห้องตรวจโรค เป็นการพบแพทย์ทางไกลผ่านระบบสื่อสารที่พัฒนาขึ้น
และส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนด้านต่างๆ ในการให้บริการรักษาพยาบาล ซึ่งจะเป็นการยกระดับการรักษาพยาบาลยิ่งขึ้นกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีทางการรักษาพยาบาลเพียงอย่างเดียว
หากแนวโน้มเหล่านี้เกิดขึ้นในอนาคต เราเองก็ควรจะวางแผนการด้านสุขภาพของเราไว้ด้วย
บริษัทประกันสุขภาพหลายแห่งได้เข้าร่วมกับโรงพยาบาลและ startup ในการบริการ Telemedicine แล้ว แต่ข้อจำกัดที่ยังมีอยู่คือ ผู้เอาประกันจะต้องมีความคุ้มครองการรักษาแบบผู้ป่วยนอกประกอบด้วย ซึ่งความคุ้มครองนี้ในปัจจุบันยังมีผู้ทำประกันไม่สูงนัก
ฉะนั้นจึงเป็นโอกาสสำหรับบริษัทประกันสุขภาพที่จะพัฒนาแบบประกันที่รองรับบริการเหล่านี้ออกมา และก็เป็นสิ่งที่เราควรพิจารณาถึงความเหมาะสมในการมีความคุ้มครองสุขภาพด้านต่างๆ
และสำหรับผู้ที่ให้ความสนใจในการลงทุนระยะยาวก็อาจจะลองศึกษาโอกาสและศักยภาพในเรื่องเหล่านี้เพื่อดูความคุ้มค่าในการลงทุนในระยะยาวเช่นกัน
ข้อมูลประกอบเกี่ยวกับจำนวนผู้ใช้บริการ Telemedicine จาก
โฆษณา