27 เม.ย. 2020 เวลา 09:45 • ธุรกิจ
“CPTPP” คืออะไร ไทยจะได้หรือเสียประโยชน์หากเข้าร่วม
สรุปในโพสต์เดียวอย่างเข้าใจง่าย
“CPTPP”เป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ
แผนที่แสดง TPP เดิม และจะกลายเป็น CPTPP เมื่อตัดสหรัฐออก
มีประเทศสมาชิก 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม เป็นการปรับโฉมจากความตกลง TPP (Trans-Pacific Partnership) หลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกไป ซึ่งทำให้โอกาสการเข้าถึงตลาดสหรัฐที่เป็นตลาดใหญ่ที่ไทยยังไม่มี FTA หดหายไปด้วย
ความตกลงนี้ริเริ่มกันมาตั้งแต่ปี 2006 มีชื่อเดิมว่า TPP (Trans-Pacific Partnership) และมีสมาชิกทั้งหมด 12 ประเทศ แต่หลังจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ในตอนนั้นถอนตัวออกไปเมื่อต้นปี 2017 ประเทศสมาชิกที่เหลือก็ตัดสินใจเดินหน้าความตกลงต่อโดยใช้ชื่อใหม่ว่า “CPTPP”
สหรัฐถอนตัวไปมีผลอย่างไร
การถอนตัวของสหรัฐก็ทำให้ภาพของความเป็น Mega FTA ลดลง ซึ่งหากดูจากตัวเลขกรณีมีสหรัฐอยู่ด้วยจะมี GDP 38 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP โลก แต่เมื่อสหรัฐถอนตัวออกไป ขนาด GDP ลดลงเหลือ 13.4 เปอร์เซ็นต์ จำนวนประชากรจาก 11 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก ลดเหลือ 6.7 เปอร์เซ็นต์ การส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการจากเดิมมีขนาด 1 ใน 4 ของโลก ลดลงเหลือประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ตลาดที่ไทยจะได้เพิ่มหากเป็นสมาชิก คือประเทศเม็กซิโกและแคนาดาเท่านั้น ขณะที่อีก 9 ประเทศสมาชิกที่เหลือนั้น ไทยมีข้อตกลงการการค้าเสรี FTA แล้วทั้งหมด
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
สืบเนื่องจาก สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ผู้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เตรียมเสนอเรื่องหนังสือแสดงเจตจำนงเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (CPTPP) ในวันอังคารที่ 28 เมษายน 2563
แจงว่า หากไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP คาดว่าจีดีพีจะเพิ่มขึ้น 0.12% (13,320ล้านบาท) การลงทุนขยายตัว 5.14% (148,240ล้านบาท) ซึ่งคิดเป็นมูลค่าน้อยมาก เทียบกับการเข้าเป็นสมาชิกครั้งอื่นๆ
1
หากไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ “CPTPP” แล้วละก็ผลกระทบที่ตามมาก็คือ ผมจะขอสรุปประเด็นที่สำคัญเพราะว่ารายละเอียดปลีกย่อยเยอะมาก
1 ผลกระทบ CPTTP ต่อยาและสุขภาพ
มีผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชน ได้ยากขึ้น และทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์
ด้านสิทธิบัตรและยาการใช้สิทธิบัตร CL มีขอบเขตลดลง สุ่มเสี่ยงถูกฟ้องกระทบการเข้ายาของประชาชน,ไทยไม่ได้ประโยชน์ด้านราคายาที่ลดลง,ไทยต้องนำเข้ายาและไม่สามารถพึ่งตนเองด้านยาได้เมื่อเกิดวิกฤติด้านสาธารณสุข
ยาที่แพงขึ้น ทำให้ประชาชนไม่เข้าถึงยา
2 ผลกระทบของ CPTPP ต่อภาคการเกษตรกรรม
CPTPP มีเงื่อนไขสำคัญคือ ถ้าประเทศใดเข้าร่วมเป็นสมาชิกจะต้องเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV 1991 อย่างไม่มีข้อหลีกเลี่ยง ซึ่งที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรก็มีความพยายามแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2542 ให้สอดคล้องกับ UPOV 1991 และหากเป็นไปตามนั้นจะเกิดผลกระทบคือเกษตรกรจะไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อได้ หากละเมิดจะมีโทษอาญาจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 แสนบาท
UPOV 1991 (International Union for the Protection of New Varieties of Plants) ที่จะเปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถนำพันธุ์พืชพื้นเมืองไทยไปทำการวิจัยเพื่อสร้างพันธุ์พืชใหม่แล้วจดสิทธิบัตรได้ ข้อนี้ส่งผลเสียต่อเกษตรกรไทยโดยตรง เพราะถ้านำพันธุ์พืชใหม่นี้มาปลูกแล้ว จะไม่สามารถเก็บเมล็ดไปปลูกต่อได้เหมือนเมื่อก่อน ต้องซื้อเมล็ดใหม่เท่านั้น ทำให้ต้นทุนการเกษตรยิ่งสูงขึ้น
นอกจากนี้ สิ่งที่จะเกิดตามมาคือมีการขยายการผูกขาดเมล็ดพันธุ์มากขึ้น มีบริษัทพัฒนาเมล็ดพันธุ์มากขึ้น กฎหมายนี้กว้างครอบคลุมตั้งแต่ส่วนขยายพันธุ์ ผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากผลผลิตนั้นๆ อีกทั้งเป็นการเปิดช่องให้โจรสลัดชีวภาพในการใช้พันธุ์พืชท้องถิ่นโดยไม่ต้องแบ่งปันผลประโยชน์
3 ผลกระทบของ CPTPP ต่อทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา
ในความตกลงหุ้นส่วนฯ มาตรา 18.6 ระบุว่า สมาชิกมีสิทธิ์ที่จะกำหนดข้อยกเว้นที่สำคัญที่จะไม่ต้องปฏิบัติตามบทนี้ (ได้แก่ สถานการณ์ฉุกเฉินระดับชาติ กรณีจำเป็นเร่งด่วนยิ่งยวด วิกฤตด้านสาธารณสุข) ซึ่งจะทำให้ไทยได้รับผลกระทบ ดังนี้
ขอบเขตการใช้ CL ลดลง (ไม่มีข้อยกเว้นกรณี for public non-commercial use .ซึ่งแตกต่างจาก TRIPS)
การใช้ CL อาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องได้
4 การจัดซื้อจัดจ้าง
มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยา และวัสดุวิทยาศาสตร์ เครื่องมือแพทย์ในประเทศ ในด้านการแข่งขัน ซึ่งภาครัฐจะไม่สามารถสงวนสิทธิประโยชน์บางประการได้ (เพราะต้องเปิดการแข่งขันให้กับยาสามัญจากผู้จัดจำหน่ายของประเทศอื่น ในขณะที่ยาที่มีสิทธิบัตรก็มีผู้จัดจำหน่ายได้เพียงรายเดียวซึ่งเกือบทั้งหมดคือยาของบริษัทต่างชาติ)
และข้อเสียอื่นๆอีกมายมาย
เช่น เรื่องของยาสูบ แอลกอฮอล์ เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
หากดูรายละเอียดที่กล่าวมาข้างต้นแล้วไทยจะเสียเปรียบหลายด้านเช่น การผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืช ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ต้นทุนทางการเกษตรกรมากขึ้น ความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงทางด้านยา รวมถึงนักลงทุนต่างชาติ สามารถฟ้องรัฐบาลไทยได้ผ่านกระบวนการ อนุญาโตตุลาการ
จะเห็นได้ว่าจะมีการเอื้อต่อนายทุนเป็นอย่างมากเนื่องจากการผูกขาดเมล็ดพันธ์มากถึงหลายปี ถ้าจะมีการซื้อเมล็ดพันธ์หรือจะปลูกเมล็ดพันธ์ต้องเข้าหานายทุนหรือบริษัทเมล็ดพันธ์
ถือเป็นสิ่งที่ลำบากมากๆสำหรับเกษตรกร เพราะเมล็ดพันธ์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเกษตรกรแล้วแต่จะขึ้นอยู่กับนายทุน ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรสูงขึ้น
สิ่งที่น่ากังวลคือ รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 มีช่องโหว่ที่เอื้อให้รัฐบาลมีอำนาจทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศได้ โดยขาดการตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ และตัดการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งอาจส่งผลให้ประเทศไทยเสียเปรียบในทุกกรณี อาทิ ผลกระทบต่อภาคการเกษตรที่ถูกต่างชาติผูกขาดเมล็ดพันธุ์ และในด้านการสาธารณสุข ไทยต้องเสียงบประมาณการจัดซื้อยาแพงขึ้น ทำให้ประชาชนเข้าไม่ถึงยา
สาระอัปเดตตลอดเวลา
การกดไลค์ 👍🏻กดแชร์ กดติดตาม
จะเป็นกำลังใจดีๆ สำหรับผู้เขียนให้มีกำลังใจต่อไปครับ
ทางเพจอะไรดีมีเพจFacebook สามารถเข้าไปให้กำลังใจและติดตามได้นะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา