27 เม.ย. 2020 เวลา 15:02 • การศึกษา
หมวด 4 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
มาตรา 40 เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพมี 3 ประเภทได้แก่
1 เด็กที่ถูกทารุณกรรม
2 เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
3 เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
การจำ = ทารุณ เสี่ยง คุ้มครอง
มาตรา 41 ผู้ใดพบเห็นหรือประสบพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็กให้รีบแจ้งหรือรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
มาตรา 42 การดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
1 ต้องรีบจัดให้มีการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจทันที
2 พนักงานเจ้าหน้าที่สืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับเด็กและครอบครัวเพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสม อาจส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับก่อนได้
3 ถ้าจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้รีบส่งเด็กไปยังสถานพัฒนาและฟื้นฟู การส่งเด็กไปสถานแรกรับ สถานพัฒนาและฟื้นฟูหรือสถานที่อื่นใด สืบเสาะและพินิจเพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมให้กระทำได้ไม่เกิน 7 วัน
4 ในกรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร เพื่อประโยชน์ของเด็ก พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานอัยการจะยื่นร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งขยายเวลาออกไปรวมแล้วไม่เกิน 30 วันก็ได้
มาตรา 43 ศาลเห็นว่ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองเด็ก มีให้ถูกกระทำทารุณกรรมอีกให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งจับกุมผู้ที่เชื่อว่าจะกระทำทารุณกรรมเด็ก มากักขังไว้ มีกำหนดครั้งละไม่เกิน 30 วัน
หมวด 5 ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
มาตรา 48 ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าสมควรแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กเพื่อกำกับดูแลเด็กคนใด ให้ยื่นคำขอต่อปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กให้มีระยะเวลาคราวละไม่เกิน 2 ปี
มาตรา 49 ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1 เยี่ยมเยียนให้คำปรึกษาแนะนำและตักเตือนเกี่ยวกับเรื่องความประพฤติ การศึกษา และการประกอบอาชีพแก่เด็กที่อยู่ในการกำกับดูแล
2 เยี่ยมเยียน ให้คำแนะนำ คำปรึกษา แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องการอบรมสั่งสอนและเลี้ยงดูเด็กที่อยู่ในการกำกับดูแล
3 จัดทำรายงานและความเห็นเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของเด็กและของผู้ปกครองเสนอต่อปลัดกระทรวงผู้ว่าราชการจังหวัด พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ปกครองสวัสดิภาพ คณะกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพฯหรือคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดแล้วแต่กรณีเพื่อดำเนินการต่อไป
หมวด 6 สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพและสถานพัฒนาและฟื้นฟู
มาตรา 51 ปลัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีอำนาจจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู ได้ทั่วราชอาณาจักร และผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจจัดตั้ง ภายในเขตจังหวัดนั้น
มาตรา 52 ผู้ใดจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู ต้องขอรับใบอนุญาตต่อปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี
มาตรา 54 ในสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู จะต้องไม่ดำเนินกิจการในลักษณะแสวงหากำไรในทางธุรกิจ และต้องมีผู้ปกครองสวัสดิภาพเป็นผู้ปกครองดูแลและบังคับบัญชา
หมวด 7 การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
มาตรา 63 โรงเรียนและสถานศึกษา ต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม แล้วความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา
มาตรา 64 ให้นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษา
มาตรา 65 นักเรียนหรือนักศึกษา ผู้ใดฝ่าฝืนให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดและมีอำนาจ.
นำตัวไปมอบแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น เพื่อดำเนินการสอบถามและอบรมสั่งสอนหรือลงโทษตามระเบียบ
หมวด 8 กองทุนคุ้มครองเด็ก
มาตรา 68 ให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดตั้งกองทุน เรียกว่า กองทุนคุ้มครองเด็ก ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัวและครอบครัวอุปถัมภ์ของเด็ก
มาตรา 71 ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่งประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
ผู้แทนสำนักงบประมาณผู้แทนกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งไม่เกิน 3 คน
และให้รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา