28 เม.ย. 2020 เวลา 11:25 • ธุรกิจ
5 mins Reading
ไปรู้จัก Data Visualization กับ 20 รูปแบบของกราฟ ! - ตอนที่ 4 (จบ)
เราจะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับ Data Visual Graph ให้มากขึ้นภายใน 5 นาที
เรามาถึงตอนสุดท้ายของซีรีย์นี้กันแล้วน้าเพื่อนๆ กับ 5 แบบสุดท้าย มีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลยยย !!
16. Word Cloud
17 Streamgraph
18 Histogram
19 Bullet Graph
20 Bubble Cloud
16 Word Cloud
ลักษณะเด่น :
- จะไม่มีตัวเลข หรือ แผนภูมิใดๆเลยในนี้ มีแต่คำ หรือ พยางค์ ต่างๆเท่านั้น
- เพื่อนๆรู้หรือไม่ว่า Word cloud จัดว่าเป็น qualitative survey ด้วยนะ เป็นการสำรวจเชิงคุณภาพนั้นเอง เพราะไม่ใช่แค่ตอบ yes/no แต่ต้องใส่เป็นคำตอบมา
- เข้าใจง่ายที่สุดแล้ววละ :)
Word Cloud มองแล้วเข้าใจง่ายกันไม๊เอ่ยย ?
ข้อมูลที่สามารถใช้ร่วมกับกราฟนี้ได้ดี :
- เราแนะนำเป็นพวกการไฮไลท์ผลโหวตต่างๆ
- อาจจะเป็นคำถามนำแบบสอบถาม How do you feel ? ที่เราเจอเยอะๆก็ Employee sentiment poll ไรงี้
- สาขาอาชีพที่จะได้ใช้เทคนิคนี้เยอะคืออ Non-profit org, นักการตลาด, นักวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นสัมภาษณ์, นักการเมืองหรือนักเขียนข่าว/บทความ
ตัวอย่างการใช้งานของกราฟนี้ (เป็นไอเดียให้เพื่อนๆ) :
- จริงๆเพื่อนคงมีคำถามเนอะ อันนี้มันดูเหมือนง่ายแต่ทำยาก แล้วชั้นจะใช้อะไรทำ ?
อ่าฮ๊า เราขอแนะนำเจ้าแอพตัวนี้ชื่อว่า Sli.do (สไลโด)
Sli.do คืออะไรน้า ? แอพนี้เหมือนเค้าเป็นแอพที่ให้ถามคำถาม Real time ตามหัวข้อการประชุมหรือการสัมนา โดยมากจะใช้ในองค์กรบริษัท
ทีนี้ มันจะมี Function ให้เราโหวตด้วย หรือ พิมคำตอบได้ ซึ่ง คำตอบที่พิม (เน้นเป็นคำสั้นๆ) ยิ่งมีปริมาณที่ซ้ำกันเยอะ เจ้าตัว word ก็จะใหญ่ ก็คือเป็นการใช้Word Cloud นี่เองงง
วิธีการใช้งาน Word Cloud Poll ใน Sli.do ?
1. เพื่อนๆ สามารถโหลดแอพมาได้เลย หรือจะเข้าไปที่ Site ก็ได้นะ อันนี้ ฟรีจ้าาา
หน้าตาทางเข้าเวป Sli.do
2. เพื่อนๆพิมรหัส Event code ซึ่ง ผู้จัดทำแบบสอบถามเนี่ย ต้องเป็นคนสร้างมา ซึ่งวิธีสร้างเนี่ยไม่ยากเลย เพื่อน Sign up เสร็จแล้ว เดี๋ยวก็จะเจอปุ่มเองง :)
3. จากนั้น เราเลือกหัวข้อ Poll ได้เลย รุปแบบของการแสดงผลเค้าก็จะมีให้เลือก Poll wordcloud
เราแนะนำให้ผู้ตอบ หรือ Audience ในห้องประชุมเนี่ย ตอบเป็นข้อความสั้นๆ แต่คำถามต้องเป็นคำถามปลายปิด Close question ให้เค้าด้วยนะ ตัวอย่างเช่น
คุณคิดว่าอะไรคือสิ่งที่แข็งแกร่งขององค์กรเรา ?
จากนั้น ผู้ฟังหรือผู้เข้าร่วมประชุมเนี่ย ก็จะพิมใส่มา คำไหนที่มีการพิมพ์ซ้ำก็จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ (นั้นละ...เราเลยแนะนำว่า ควรจะเป็นคำ หรือ พยางค์ สั้นๆแต่มีความหมาย) เช่นข้างล่างภาพนี้ Communication จะเป็นคำที่ผู้เข้าร่วมตอบมากที่สุด แถมยังเข้าใจง่ายด้วยนะ แบบที่ผู้พูดเนี่ย อาจไม่ต้องพูดเลย
17 Streamgraph
ลักษณะเด่น :
- เหมือนรุปคลื่นที่ซ้อนๆกันไปมา
- ใช่แล้ว เพราะกราฟรูปแบบเค้าก็เป็นแบบ Stack ด้วย เหมือนเอาไว้ดูพวกการพัฒนาการ หรือตัวเลขการเติบโตตามช่วงระยะเวลา
- ดูยากมากกกกก เผลอๆน่าจะยากที่สุด ยากยังไง ไปดูกัน T^T
Streamgraph - บอกการเติบโต สีเข้มๆเนียแสดงถึงผลที่เยอะที่สุด แต่ละสีก็คือเป็นแต่ะประเภท
Streamgraph - บอกเป็น % Proportion ดูแล้วงงไม๊เพื่อนๆ ?
ข้อมูลที่สามารถใช้ร่วมกับกราฟนี้ได้ดี :
- ถ้าเพื่อนๆต้องการแสดงเทรนด์ในระยะเวลาหลายปีมากๆ เช่น 100 ปีที่ผ่านมา โอเคร เราไม่แนะนำให้ใช้ Line or Area graph ให้ใช้ Streamgraph เพราะมันจะเห็นเส้นทางการเติบโตโดยรวม ขึ้นลงชัดที่สุด
ตัวอย่างการใช้งานของกราฟนี้ (เป็นไอเดียให้เพื่อนๆ) :
- ระยะเวลา หรือความถี่ที่ใช้เป็นข้อมูลตัวตั้งในแกน X เนี่ย อาจะเป็นการเวลา (Time stamp) ก็ได้น้้ะ เช่น 2 ภาพข้างล่าง เลยยย
Streamgraph - โชว์ช่วงเวลาของคนดูรายการทีวี
Streamgraph ของคนเสิช Twitter ในช่วงเวลาต่างๆ
18 Histogram
ลักษณะเด่น :
- อันนี้ เพื่อนๆทุกคนต้องเคยเจออย่างแน่นอน ที่แน่ๆก็สมัยเรียน ม.ปลาย ละล่ะ เพื่อนๆ กราฟที่ดูเหมือนยาก แต่อ่านง่ายมากกกก
- เป็นกราฟที่ใช้บอกความถี่นี่เองงงงงง
- เพื่อนๆคุ้นๆ กราฟข้างล่างไม๊ ที่ชอบออกข้อสอบว่า ช่วงอายุไหน มีการใช้งานความถี่เท่าไรบ้าง 5555 (สมัย ม.ปลาย นั้นก็นานมากๆแล้วสำหรับเราา)
- ลักษณะเค้าจะเหมือน Bar Graph มาก แต่เพื่อนๆรู้ไม๊ว่าอะไรทำให้ต่าง ?
 >> คือ เจ้า Histogram เค้าจะบอกเป็นความถี่น้าาา Relative of Frequency
>> และใช้สำหรับบอกเชิงความน่าจะเป็นด้วยนะ (Probability)
ตัวอย่างการใช้งานของกราฟนี้ (เป็นไอเดียให้เพื่อนๆ) :
ภาพที่ 1 - อันนี้เป็นไอเดียที่ดีคือ เพื่อนๆสามารถใช้ 2 ประเภทมาเปรี่ยบเทียบได้ด้วยนะ บางทีเราอาจนึกถึงแค่กราฟแท่งเดียว
ภาพที่ 2 - อันนี้เราว่าก็ค่อนข้างดี อย่างอภาพแรกเค้าจะค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกัน อย่างอันนี้ค่อนข้างแยกออกมาให้ชัดเจน แถมยังมีเส้น Line graph วาดมาให้เห็นเทรนด์ง่ายขึ้นอีก
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
19 Bullet Graph
ลักษณะเด่น :
- ตามชื่อเลย เค้าจะมีสักษณะคล้ายๆลูกกระสุน หรือจะเรียกว่า meter หรือ gauge ก็ได้น้า
- จุดประสงค์หลักๆคือ เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลหลายๆตัวแปรสำคัญในในหัวข้อเดียวกัน
เดี๋ยวเราสอนอ่านให้เบาๆนะเพื่อนๆ ไม่ยากกก
จากกราฟข้างบน เราจะพอสังเกตจุดหลักๆได้ 3 อย่างเนอะ คือ
1. กราฟแท่งใหญ่สีฟ้า Qualitative bands - ให้เพื่อนๆนึกถึงค่าสูงสุดที่จะเป็นไปได้ หื้มมม ... อธิบายไงดี เช่น สมมุติว่า Internet ความแรงสูงสุด 100GB ! แต่จริงๆแล้วอาจจะไม่ถึง แต่เหมือนเป็นจุดที่สูงสุดหรือไกลสุด
2. เส้น "-" สีแดง Target Marker - อันนี้ง่ายๆ เลย คือเป้าหมายที่เราตั้ง เช่นสมมุติยอดขายสามารถทำได้สูงสุดคือ 100,000 บาทต่อเดือน แต๋โอเคร หัวหน้า set เป้าหมายให้เราทำเพียงแค่ 90,000 บาท ก็ถือว่าสำเร็จ
3. กราฟแท่งด้านในสีดำ Actual value - ฮ่าๆ อันนี้ชัดเลย คือ ผลลัพธ์ ณ ปัจจุบัน หรือที่เราทำได้นี้เอง เช่น เป้า 90,000 บาท ทำได้แค่ 70,000 งะ นั้นคือไม่ถึงเป้านั้นเอง 555
ข้อมูลที่สามารถใช้ร่วมกับกราฟนี้ได้ดี :
- ถ้าเพื่อนๆต้องการวัดผล performance ต่างๆละก็ อันนี้เห็นชัดมากกก หรือพวกยอดขาย
ตัวอย่างการใช้งานของกราฟนี้ (เป็นไอเดียให้เพื่อนๆ) :
ภาพที่ 1 - อันนี้อย่างที่ได้ยกตัวอย่างไป การแสดงการวัดผลงาน ถ้าเพื่อนๆทำเป็นสีเนี่ย ก็จะน่าดูมากกขึ้นน
ภาพที่ 2 - ถ้าเราเอาหัวข้อต่างๆ มาวัดและมาเทียบกันเนี่ย เราก็จะเห็นข้อมูลเชิงลึก และสังเคราะห์ได้มากขึ้นน
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2 - ดูมีอะไรดีเนอะะ
20 Bubble Cloud
ลักษณะเด่น :
- เจ้านี่จะมีความคล้ายย wordcloud มากๆ
- แต่ความต่างคือออ Bubble เนี่ยเป็นวงกลม ที่แสดงผลคล้ายกับ Scatter plot เลยยย แทนที่เราจะ จุดจุดจุด เราก็ใส่เป็นวงกลมแล้วตามด้วยสี วงกลมเนี่ยก็เอาไอเดียมาจาก Word cloud ยิ่งจำนวนเยอะ ก็ยิ่งใหญ่
หรืออย่างกราฟข้างล่างเนี่ย
สามารถโชว์เป็นประเทศได้อีกนะ
ตัวอย่างการใช้งานของกราฟนี้ (เป็นไอเดียให้เพื่อนๆ) :
ไหนๆเราก็พูดถึงประเทศ เรามีตัวอย่างมาให้ๆ
- ภาพข้างล่างนี้ก็บอกง่ายๆเลยคือ แบ่งกลุ่มทวีปเป็นแม่สีหลักๆ (ก็ไม่เชิงแม่สี 4 สีนะ แต่ไม่รู้จะเรียกว่าไรดีงะ)
ข้างในเราก็ใช้ Bubble เป็นการแชร์แสดงข้อมูลล ก็ดูเป็นระเบียบ และดูง่าย
สรุปทิ้งท้าย
 - เพื่อนๆจะเห็นได้ว่า จริงๆแล้วเรามีหลายวิธีมากๆๆ ในการนำเสนอข้อมูลให้ผู้อ่านเนี่ยเข้าใจง่าย โดยเฉพาะการใช้ รูปภาพ หรือ Visual เนี่ย เพราะว่า การเขียนเป็นตัวหนังสือ หรือการพูดอย่างเดียว สมัยนี้อาจไม่ดึงดูดพอแล้ว อาจจะสร้างความจำเจเข้าไปอีกเนอะ
- กราฟทั้งหมด 20 แบบที่เรามาให้เพื่อนๆอ่านสนุกๆกันเนี่ย มันจะไม่ใช้ Info Graphic น้าาา (จริงอยู่ที่ Info grap เป็น Data visual) แต่ๆ Info คือต้องมี ข้อมูลมีตัวหนังสือ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเนี่ย เข้าใจและอ่านง่ายยย เดี๋ยวเรากำลังจะเริ่มทำสนุกๆต่อ อิอิ นี่แอบ Tie-in
ขอบคุณที่ตามอ่านซีรีย์นี้จนจบน้าาาเพื่อนๆ ไว้เจอกันต่อบทความน้า เป็นเรื่องสาระความรู้อะไร มาดูกันนน (เรากำลังศึกษาและเขียนอยู่นะ คิดว่าอาจจะหยิบเรื่อง Psychology of colour และก็ เล่นข้อมูล Info graphic สรุปเรื่องราวๆข้อมูลต่างๆลงเป็นภาพ(ทำเป็นซีรี่ย์สนุกๆให้)
โฆษณา