27 เม.ย. 2020 เวลา 17:04 • ธุรกิจ
5 mins Reading
ไปรู้จัก Data Visualization กับ 20 รูปแบบของกราฟ ! - ตอนที่ 3
เราจะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับ Data Visual Graph ให้มากขึ้นภายใน 5 นาที
เอาละ มาต่อกันนะเพื่อนๆ ! ต่อไปก็ รุปแบบที่ 11-20 แล้วน้า แต่ขอเขียนถึงอันที่ 11-15 ก่อนน้า
11. Treemaps
12. Cartogram
13. Gantt Chart
14 Dot Distribution Map
15 Radial Tree
16 Word Cloud
17 Streamgraph
18 Histogram
19 Bullet Graph
20 Bubble Cloud
11. Tree maps
ลักษณะเด่น :
- จะเป็นลักษณะของสีเหลี่ยม โดยที่ช่องที่ใหญ่สุดคือจำนวนหรือแชร์ที่เยอะที่สุด
- จริงๆเพื่อนบางคนอาจจะคิดถึงแผนภูมิต้นไม้ที่ค่อยๆย่อยลงมาๆ แต่ไม่ใช่เสมอไปน้า ส่วนใหญ่เวลาเราพูดถึง Tree maps โดยทั่วไปเค้าจะนึกถึงเป็นช่องๆ แบบภาพข้างล่างกันน
ข้อมูลที่สามารถใช้ร่วมกับกราฟนี้ได้ดี :
- จริงๆไม่จำกัดประเภทของข้อมูลหรืองานเลยนะ
- แต่จริงๆควรจำกัด node ของเค้าหน่อย ให้เป็นการแสดงผลสัก 2 หัวข้อ เดี๋ยวไปดูตัวอย่างภาพข้างล่างน่าจะชัดและง่ายขึ้นเนอะ
ข้อมูลแบบไหนที่เราไม่แนะนำให้ใช้กราฟนี้นา :
 - เนื่องจากกราฟอันนี้เนี่ย การแสดงข้อมูลมีความจำกัดค่อนข้างสูง เพื่อนๆ จะสังเกตจากภาพด้านบนเนี่ย แค่ 10-12 อันก็เต็มพื้นที่แล้ว มากกว่านี้คงจะอ่านยากหน่อย
ตัวอย่างการใช้งานของกราฟนี้ (เป็นไอเดียให้เพื่อนๆ) :
ภาพ 1 - เพื่อนๆจะเห็นเค้าได้มีการแบ่งเพียงแค่ 2 หัวข้อ (ส่วนใหญ่จะเรียกว่า 2 node) คือ
1 ร้านขายสัตว์เลี้ยง
2 ชนิดของสัตว์เลี้ยงที่ขายได้ดี หรือป็อปปูล่าในแต่ะชนิด ก็จะเป็นช่องที่ใหญ่ที่สุด ไล่ลงมา
ภาพ 1
ภาพ 2 - อันนี้คล้ายๆ ภาพ 1 เบย เป็นประเภทของรถมอเตอร์ไซด์ แต่จะมี Layer ที่ซ้อนมากขึ้นเช่น อันดับของรถในแต่ละประเภทที่ไล่จาก 1 ลงไปเนอะ แล้วก้อ ขนาดของสี่เหลี่ยมเนี่ย ก็อาจจะสามารถบอกได้เป็นแชร์ของยอดขายจริงๆ และสุดท้ายการเล่นสี เช่น สีเขียวคือ อัตราการเติบโตเยอะที่สุด เป็นต้น อันนี้เป็นตัวอย่างน้า
12. Cartogram
ลักษณะเด่น :
- ที่ชัดเจนเลยคือ เป็นแผนที่เลยจ้า แต่ดาต้าที่แสดงผลเนี่ย จะไม่ได้ลึกเท่ากราฟอื่นๆ มันเป็นการแสดงภาพโดยรวมเช่น ประชากรในพื้นที่นี้ หรือ ประเทศนี้ มีคนใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้มากเท่าไร เค้าก็จะมีเป็น Legend บอกให้เห็นอยู่
- จริงๆหลักๆเลย เจ้ากราฟนี้เนี่ยเค้าพยายามที่ลดมุมมองในหลายๆมุมที่ละเอียดจนเกินไป เพื่อที่จะได้เห็นภาพผลรวมคร่าวๆ อะ เป็นไงไปดูกันน
เทียบกันเลยยย อันนี้ยกตัวอย่างจากทวีปแอฟริกา
จากภาพข้างบนอะ ความแตกต่างคือ ภาพซ้ายเนียเค้าจะแบบค่อนข้างละเอียดและลึกสมจริง แต่ในขณะที่ Cartogram ด้านขวาเนี่ย เพื่อนๆจะสังเกตว่า ดาต้าข้อมูลเหมือนกันแต่การแสดงผลเนี่ยอาจจะไม่ได้แบบโอว Realistic ด้านขนาดของประเทศ
เพื่ออะไร ? ก็เพื่อให้เราเข้าใจดาต้าได้ง่ายขึ้นนั้นนเองงงงงงง
เดี๋ยวมีตัวอย่างภาพข้างล่าง เพื่อนๆจะร้อง อ้อ ! เลยว่า ทำไมเค้าถึงมีการคิดกราฟแบบ Cartogram
เป็นกราฟการแสดงข้อมูลแบบ choropleth map หรือการบอกข้อมูลเชิงตัวเลขสัมพัทธ์กับความจริง
โอเค จากภาพข้างบน เป็นตัวอย่างของ choropleth map ซึ่งรายละเอียดเค้าจะเยอะมากกก อ้ะเรามีคำถาม มาชวนเพื่อนๆคิดเล่นๆ ?
- จากดาต้าภาพบน เพื่อนๆพอจะบอกเราได้ไม๊ว่า จังหวัดไหน หรือโซนใดของฝรั่งเศสตอนใต้ที่มีร้านอาหรเยอะที่สุด ?
อ๊าาาฮ๊าา ! เราว่าเพื่อนๆสายดาต้าเนี่ย ก็คงตอบได้ 5555 แต่เพื่อนๆลองนึกถึงหัวอกผู้ังหรือผู้อ่านที่เค้าไม่ถนัดเรื่องดาต้าหรือกราฟนะ.... นี่คือความทรมานดีๆเลย T^T
*เพราะงั้น เค้ามี Cartogram ซึ่งสามารถบอกคร่าวๆให้เห็นแบบกว้างๆและชัดๆได้ จะเน้นเป็นผลรวม
ตัวอย่างการใช้งานของกราฟนี้ (เป็นไอเดียให้เพื่อนๆ) :
- เช่นเราสามารถเขียนการแสดงผลในลักษณะของ รัฐไหนในอเมริการที่บริโภคกาแฟสตาร์บัคมากที่สุด ?
และ เพื่อนๆสังเกตไม๊ว่า เราแทบจะไม่รุเลยว่า อเมริการัฐเล็กๆย่อยๆนี้มีอะไรบ้าง (ถ้าไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องภูมิศาสตร์) แต่ด้วย Cartogram เนี่ย เพื่อนๆพอที่จะเข้าใจได้ว่า ทางตะวันตกของอเมริกาเนี่ย บริโภคสตาร์บัคมากที่สุด และ พอจะคาดเดาได้ว่าหลักๆน่าจะเป็นรัฐ Califonia, Nevada
13. Gantt Chart
ลักษณะเด่น :
- อันนี้ง่ายมาก เพื่อนๆที่ผ่านการทำโปรเจคมาน่าคุ้นเคย อิอิ
- คือเจ้าน้องกราฟอันนี้เป็นการบอกระยะเวลาของโปรเจคหรือ Process ต่างๆ แบบง่ายๆ เหมือนเวลาที่เรา พรีเซ้นหัวหน้า หรือ อาจารย์ ในะระยะเวลาการทำโครงงานนั้นเอง
- เราคิดว่าภาพตัวอย่างด้านล่างน่าจะอธิบายได้ดีที่สุด ^^"
Gantt Chart
ข้อมูลที่สามารถใช้ร่วมกับกราฟนี้ได้ดี :
- เราแทบจะแนะนำให้ทำแผนภาพนี้ทุกครั้งก่อนเริ่มโปรเจค หรือโครงการอะไรเลยละ เพราะเราจะได้เห็นภาพคร่าวๆ รวมถึงพรีเซ้นให้หัวหน้า หรือ หุ้นส่วนเราได้เช่นกัน
ตัวอย่างการใช้งานของกราฟนี้ (เป็นไอเดียให้เพื่อนๆ) :
- ที่เราชอบคือ อย่างเราเองก็ใช้แชร์ระยะเวลาร่วมกับเพื่อนๆทีมอื่นๆ เพื่อที่จะได้ดูว่า เอ...ระยะเวลาการทำงานในหัวข้อนั้นๆของแต่ละทีมเป็นยังไง นั้นคือเวลาเราแพลนที่จะทำงานร่วมกันเนี่ย จะง่ายมากกกๆขึ้นเลยละะ
ภาพข้างล่างน่าจะพูดถึงตรงนี้ได้ชัดเจนน
การใช้ Gantt Chart ร่วมกับทีมอื่น
14. Dot Distribution Map
ลักษณะเด่น :
- สำหรับบอกความหนาแน่นของประชากร หรือจำนวน ลงบนแผนที่ ซึ่งอาจจะ ลึกลงมากจากระดับประเทศเป็นจังหวัด เขต ก็ได้
- เพื่อนๆจะเห็นเยอะตามข่าวต่างๆเนอะ
- เช่น ภาพข้างล่างนี้จะบอกถึง จำนวนความหนาแน่นของประชากรในอเมริกานั้นเอง
ข้อมูลที่สามารถใช้ร่วมกับกราฟนี้ได้ดี :
- เช่นจังหวัดไหนของประเทศที่ส่งออกสินค้าชนิดไหนดีที่สุด ?
- OTOP ที่เด่นๆของประเทศไทยในแต่ละจังหวัด ?
- จำนวนความหนาแน่นของผู้ติดเชื้อ Covid ในแต่ละจังหวัด
นอกจาจะโชว์เป็นจุดจุดแดงๆ ก็จะโชว์เปนภาพของผลิตภัณฑ์นั้นๆบนจังหวัด ในแผนภาพเนอะ
15. Radial Tree
ลักษณะเด่น :
- อันนี้นะตามชื่อเลย แผนภูมิต้นไม้ แต่มันไม่ใช่แค่ต้นไม้ธรรมดาๆนะสิ อะ ไปดูกัน
Radial Tree ดูงงมะ?
ถ้าเป็นแค่แผนภูมิต้นไม้ที่เป็นแนวตั้งเนี่ย อาจจะมีพื้นที่จำกัดในการแตกแบ่งแขนงของข้อมูลในหลายๆ หัวข้อ แล้วถ้ามันเป็นวงกลมละ ! ตามรัศมี (Radial) ของเค้าเรามีพื้นที่ในการแบ่งแยกเยอะ และไม่พอนะ เรายังแสดงความสัมพันธ์ของแต่ละหัวข้อได้อีก
ละใช้ทำงานอะไรได้บ้าง ?
- เช่น แผนภูมิกรอบความคิด
- การแสดงถึงตัวแรกความน่าจะเป็นต่างๆ (Probability)
- หรือเพื่อนๆอาจจะมีหัวข้อความคิดมาสัก 1 อย่างแล้ว ลงลึกไปที่ ความเป็นไปได้ (Possibilities) ของตัวเลือก ใช่ หรือ ไม่ อาจจะลงลึกในแต่ละขั้นของลงกลมด้วยคำถาม what if ?
เท่านี้ เพื่อนๆก็จะได้แผนภูมิความคิดสุดเจ๋ง เป็นเครื่องมือรีดไอเดียที่ดีมากเลย
แต่จริงๆจะบอกว่าเจ้าแผนภูมินี้ ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ พวกไอทีค่อนข้างเยอะเลยละ แต่ว่าเราอยากยกตัวอย่างที่มันสามารถประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริงๆมากกว่า
สุดท้าย เพื่อนๆว่ากราฟแผนภูมินี้คล้ายๆกับอะไรสักอย่างม้ะ ?
- ทาด๊าาาาาาาาา มันก็คือ วงบอกอายุของต้นไม้ไง ! ก็ Radial Tree เนอะ 555 สารภาพว่าตอนแรกเราลืมนึกไปเลย ศึกษาไปๆมาๆ ก็เลยเจอภาพนี้เข้าแล้วก็เลย อ้อออ!
จบแว้วเพื่อนๆ รุปแแบบที่ 11-15
เราหวังว่าน่าจะไม่ยาวจนเกินไปน้าาาาา ^^"
หวังว่าเพื่อนๆจะสนุกกันการอ่านกัน ! แล้วมาพบกันใหม่กับ Part 4 ตอนสุดท้ายของซีรี่ย์นี้นะ เย่เย่ ! :)
โฆษณา