28 เม.ย. 2020 เวลา 08:55 • ประวัติศาสตร์
รู้จักกับ 'โคโคลิซต์ลี' โรคมรณะจากยุโรปที่ทำให้แอซเทคสูญสิ้นอาณาจักร
หากพูดถึง คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ทุกคนคงคิดถึงภาพของนักสำรวจและนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ ที่ได้เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจากทวีปยุโรปมุ่งตรงสู่ทวีปอเมริกาเป็นครั้งแรก ที่ภายหลังได้ถูกเรียกว่า ‘โลกใหม่’ และได้เริ่มตั้งถิ่นฐานและอาณานิคมตามเกาะแก่งต่าง ๆ เพื่อทำการค้าอีกด้วย
WIKIPEDIA PD
โดยชาวยุโรปได้ทำการตั้งอาณานิคมบาเกาะฮิสปานิโอลา ที่ตั้งอยู่บนทะเลแคริบเบียน โดยคาดว่าบนเกาะแห่งนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ถึง 400,000 คน ก่อนที่โคลัมบัสและคณะนักสำรวจชาวยุโรปจะเข้ามา หลังจากการค้นพบทวีปอเมริกาของโคลัมบัส ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาได้ล้มป่วยลงด้วยโรคระบาดที่ติดมากับคนผิวขาวที่มาติดต่อสื่อสารและค้าขายกัน เนื่องจากชนพื้นเมืองเหล่านี้ไม่ได้มีภูมิคุ้มกันเหมือนคนผิวขาวผู้มาเยือน ส่งผลให้มีประชากรล้มตายเป็นจำนวนมากจนเหลืออยู่ราว 26,000 คน
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
2
ผลจากการติดต่อสื่อสารและค้าขายระหว่างสองทวีป ได้ทำให้ชนพื้นเมืองในฝั่งทวีปอเมริกาเหนือและใต้ต่างล้มป่วยลงด้วยโรคระบาด บ้างก็ถูกสังหารจากการต่อสู่กับเหล่าบรรดานักล่าอาณานิคมจากตะวันตก โดยเฉพาะอาณาจักรแอซเทคที่ตั้งอยู่บริเวณอเมริกากลาง (เม็กซิโกในปัจจุบัน) ที่เคยรุ่งเรืองมาก่อนหน้าที่ชาวยุโรปจะเข้ามา โดยดินแดนแถบนี้เป็นทำเลทองสำหรับชาวยุโรป ที่มีวิทยาการสูงส่งกว่า ทำให้ชาวยุโรปบางส่วนก็หวังสร้างชื่อและสร้างเกียรติยศให้กับตัวเองด้วยการรุกรานชนพื้นเมืองดั้งเดิม
WIKIPEDIA PD
เช่นเดียวกับอาณาจักรแอซเทค ที่ได้ล่มสลายไปในปี ค.ศ.1521 จากการรุกรานของชาวตะวันตก ดินแดนของอาณาจักรแอซเทคก็ถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิสเปน แต่นั่นยังไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของการล่มสลายของอาณาจักรแอซเทค เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีนักวิทยาศาสตร์จากยุโรปได้ทำการสำรวจหลุมศพของชาวแอซเทค และได้ตรวจพบเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา (Salmonella) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้ไทฟอยด์ขึ้นมา โดยนักวิทยาศาสตร์ลงความเห็นว่า ชาวแอซเทคได้ล้มตายลงราว 5-8 ล้านคน ด้วยโรคไข้ทรพิษที่มาพร้อมกับการปรากฏตัวของชาวยุโรปแทบจะในทันที โดยชาวแอซเทคเรียกโรคระบาดพวกนี้ว่า ‘โคโคลิซต์ลี’ (Cocoliztli) หรือโรคระบาดมรณะ
ในปี 1545 ชาวแอซเทคได้ล้มตายลงด้วยอาการป่วย มีไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ มีเลือดออกทางปาก จมูก และดวงตา และพากันเสียชีวิตลงในเวลาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น หากนับยอดจำนวนผู้เสียชีวิตแล้ว กล่าวได้ว่าโคโคลิซต์ลี หรือโรคระบาดมรณะนั้นมีความร้ายแรงเป็นรองเพียงแค่กาฬมรณะที่เคยระบาดในทวีปยุโรปมาแล้วก่อนหน้า
WIKIPEDIA PD
สำหรับชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกากลาง ถือว่าโรคระบาดครั้งนี้มีความรุนแรงมาก เพราะได้ส่งผลให้หลาย ๆ อาณาจักรในดินแดนแถบนี้ล่มสลาย ส่วนหนึ่งมาจากการถูกรุกรานโดยชาวยุโรป ที่ไม่ได้มาพร้อมกับอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพ แต่ยังนำโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาด้วย ซึ่งชนพื้นเมืองเหล่านี้ไม่ได้มีภูมิคุ้มต่อเชื้อโรคที่มากับชาวยุโรป ขณะที่ชาวเอเชียและแอฟริกา แทบไม่ได้รับผลกระทบอะไร เพราะในอดีตทวีปยุโรปได้มีการติดต่อค้าขายกับสองทวีปมาก่อน จึงทำให้ชาวแอฟริกาและชาวเอเชียมีภูมิคุ้มกันไปแล้วนั่นเอง
1
โฆษณา