Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่าน ฟัง สอบครูผู้ช่วย
•
ติดตาม
29 เม.ย. 2020 เวลา 11:37 • การศึกษา
การลา ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลา พ.ศ 2555
การลาแบ่งออกเป็น 11 ประเภท
1 ลาป่วย
2 ลาคลอดบุตร
3 ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
4 ลากิจส่วนตัว
5 ลาพักผ่อน
6 ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์
7 ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
8 ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน
9 ลาไปปฏิบัติงานในองค์การต่างประเทศ
10 ลาติดตามคู่สมรส
11 ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ. ศ. 2555 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ผู้มีอำนาจการลาไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ หากมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนให้เสนอใบลาต่อผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปพิจารณา การลาในช่วงก่อนและหลังวันหยุดราชการ ประจำสัปดาห์หรือวันหยุดราชการประจำปี เพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกัน ให้ผู้มีอำนาจใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสม
การลาป่วย
-เสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ยกเว้นจำเป็น เสนอวันแรกที่กลับมาปฏิบัติราชการ
-ข้าราชการผู้ ขอลามีอาการป่วย จนไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ให้ผู้อื่นลาแทนได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้ ให้เสนอใบลาโดยเร็ว
-การลาป่วย 30 วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์
-การลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นสมควร ให้เสนอใบรับรองแพทย์ประกอบการลาหรือสั่งให้ไปตรวจร่างกายประกอบการพิจารณาอนุญาตได้
การลาคลอดบุตร
-ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
-เสนอใบลาก่อนหรือในวันลา ผู้อื่นลาแทนได้ ลงชื่อเมื่อสามารถลงชื่อได้ ส่งใบลาโดยเร็ว
-ลาได้วันที่คลอดก่อนหรือหลังคลอดก็ได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 90 วัน
-ลาไปแล้วยังไม่คลอด ยกเลิกวันลาคลอดบุตรได้ ให้นับวันหยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจ
-การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตร ได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่ได้รับเงินเดือน
-การลาคลอดบุตร คาบเกี่ยวการลาประเภทอื่น ให้ถือว่าวันลานั้นสิ้นสุดลงและนับเป็นวันลาคลอดบุตร นับแต่วันลาคลอดบุตร
การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมาย
-เสนอใบลาก่อนหรือในวันลาภายใน 90 วันนับแต่วันที่คลอดบุตร
-ลาครั้งหนึ่งติดต่อกันไม่เกิน 15 วันทำการ
-ผู้มีอำนาจอาจให้แสดงหลักฐานประกอบการพิจารณาได้
การลากิจส่วนตัว
-เสนอใบลาจนถึง ผู้มีอำนาจอนุญาต ได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้
-ถ้ามีเหตุจำเป็นเสนอแล้วระบุสาเหตุ แล้วหยุดราชการไปก่อน แต่ต้องรีบชี้แจงโดยเร็ว
-ถ้าไม่สามารถเสนอใบลาได้ ให้ส่งใบลาพร้อมเหตุผลความจำเป็น ในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
-ลาต่อเนื่องจากลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ
-ลาโดยได้รับเงินเดือนปีละไม่เกิน 45 วันทำการ
-ในระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัว ยังไม่ครบกำหนดหากมีราชการจำเป็นเกิดขึ้นผู้บังคับบัญชาจะเรียกตัวกลับมาปฏิบัติราชการก็ได้ ยกเว้นลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร
การลาพักผ่อน
-เสนอใบลาจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต ได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้
-ลาได้ปีงบประมาณละ 10 วันทำการ
-ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง 6 เดือนไม่มีสิทธิ์ลาพักผ่อนประจำปีในปีที่บรรจุ
-ปีใดที่ไม่ได้ลาหรือลาแต่ไม่ครบ 10 วัน ให้สะสมวันที่ยังไม่ได้ลารวมกับปีต่อๆไปได้ แต่รวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันแล้วไม่เกิน 20 วันทำการ ถ้ารับราชการไม่น้อยกว่า 10 ปี สะสมไม่เกิน 30 วันทำการ
เช่น
-ปีแรก ลาพักผ่อน 5 วัน เหลือ 5 วัน
-ปีที่ 2 สิทธิ์ลา 10 วัน สะสม 5 วัน รวม 15 วัน ลาพักผ่อน 4 วัน เหลือ 11 วัน
-ปีที่ 3 สิทธิ์ลา 10 วัน สะสม 11 วัน รับราชการไม่ถึง 10 ปี รวม 20 วัน สะสม 11 วัน รับราชการไม่น้อยกว่า 10 ปี รวม 21 วัน
ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในโรงเรียน มีวันหยุดภาคเรียน หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษา เกินกว่าลาพักผ่อน 10 วันทำการ ไม่มีสิทธิ์ลาพักผ่อนได้
หากไม่ได้หยุดภาคเรียน หรือข้าราชการช่วยราชการเขตพื้นที่การศึกษา มีสิทธิ์ลาพักผ่อนได้
การลาไปอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์
-เสนอใบลาก่อนวันอุปสมบทหรือวันเดินทางไม่น้อยกว่า 60 วัน ถ้าไม่ทันให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต
-ต้องอุปสมบทหรือเดินทางภายใน 10 วัน นับแต่วันเริ่มลา และรายงานตัวภายใน 5 วัน นับแต่วันที่ลาสิกขา หรือวันเดินทางกลับถึงประเทศไทย ทั้งนี้ นับรวมอยู่ในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตการลา
-ถ้ามีอุปสรรค ยกเลิกวันลาและให้นับวันหยุดราชการไปแล้วเป็นลากิจส่วนตัว
-ลาอุปสมบทลาได้ไม่เกิน 120 วันแต่ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือ เข้ารับการเตรียมพล
- การเข้ารับการตรวจเลือก หมายถึง การเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อรับราชการทหารเป็นทหารกองประจำการ
- การเข้ารับการเตรียมพล หมายถึง เข้ารับการระดม เข้ารับการตรวจสอบพล เข้ารับการฝึกวิชาทหารหรือเข้ารับการทดลองความพร้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้ารับราชการทหาร
- หมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือก ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง
- หมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ภายใน 48 ชั่วโมงนับแต่เวลารับหมายเรียก
- รายงานลาแล้วไปเข้ารับการตรวจเลือกโดย ไม่ต้องรออนุญาต ผู้บังคับบัญชารายงานผล รายงานตัวกลับเข้ารับราชการภายใน 7 วัน กรณีจำเป็น ผู้มีอำนาจอาจขยายเวลาให้ได้แต่รวมแล้วไม่เกิน 15 วัน
การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-เสนอใบลาตามลำดับจนถึงอธิบดี เพื่อพิจารณาอนุญาต แล้วรายงานปลัดกระทรวงทราบ
-ศึกษาต่อในประเทศ ให้ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุญาต
-ศึกษาต่อต่างประเทศ ให้ เลขา สพฐ. อนุญาต
การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
เสนอใบลาตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาการอนุญาต นับเวลาเต็มเวลาราชการ ลาไม่เกิน 1 ปีรายงานตัวภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนด เวลา และรายงานผลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กลับมาปฏิบัติราชการ
การลาติดตามคู่สมรส
-หมายถึง การติดตามคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ หรือทางราชการสั่งให้ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศตามความต้องการของ ราชการ ให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่ไม่รวมถึงกรณีคู่สมรส ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศ
-เสนอใบลาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงเพื่อพิจารณาอนุญาต
-ลาได้ไม่เกิน 2 ปี จำเป็นลาต่อได้อีก 2 ปี รวมแล้ว ต้องไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกิน 4 ปีให้ลาออก
การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
- ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยเหตุปฏิบัติหน้าที่ราชการจนทุพพลภาพหรือพิการ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือจำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
- ลาได้ครั้งหนึ่งตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน 12 เดือน
- ได้รับอันตรายเพราะเหตุอื่นจนทุพพลภาพหรือพิการ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ เห็นว่ายังรับราชการได้ สามารถลาไปอบรมหลักสูตรที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้แต่ไม่เกิน 12 เดือน
- ต้องเป็นหลักสูตรที่ส่วนราชการ หน่วยงานอื่นของรัฐ องค์กรการกุศลที่เป็นสาธารณะ สถาบันที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของทางราชการเป็นผู้จัดหรือร่วมจัด
- เสนอใบลาพร้อมหลักฐานเกี่ยวกับหลักสูตรที่จะลา เอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะหยุดราชการเพื่อไปฟื้นฟูได้ อธิบดีอนุญาตได้ไม่เกิน 6 เดือน ปลัดกระทรวง รัฐมนตรี ไม่เกิน 12 เดือน
ผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาตการลาของผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้
1 ลาป่วย ครั้งหนึ่งไม่เกิน 60 วัน
2 ลาคลอด ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วัน
3 ลากิจส่วนตัว ครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 วัน
การนับวันลา
- ให้นับวันลาตามปีงบประมาณ 1 ตุลาคมถึง 30 กันยายน
- การนับวันลา ที่นับเฉพาะวันทำการคือ ลาป่วยธรรมดา การลาไปช่วยเหลือภริยาคลอดบุตร ลากิจส่วนตัว ลาพักผ่อน
การนับวันลาตามปีงบประมาณ
1 การนับวันลาให้นับต่อเนื่องกันรวมวันหยุดราชการที่อยู่ระหว่างวันลาประเภทเดียวกัน ยกเว้น ลาป่วย ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ลากิจส่วนตัว ลาพักผ่อน ให้นับเฉพาะวันทำการ
ป่วย ช่วย กิจ ผ่อน นับเฉพาะวันทำการ
2 การลาป่วยหรือลากิจส่วนตัวต่อเนื่องกันในปีงบประมาณเดียวกันหรือไม่ก็ตาม นับเป็นหนึ่งครั้ง 1 ครั้ง
3 การลาไปช่วยเหลือภรรยา ลากิจส่วนตัว ไม่ใช่ลากิจเลี้ยงดูบุตร ลาพักผ่อน หากมีราชการจำเป็น ผู้บังคับบัญชามีอำนาจเรียกกลับมาปฏิบัติราชการระหว่างลาได้ และถือว่าให้สิ้นสุดวันลา ก่อนวันกลับมาปฏิบัติราชการ แต่ถ้าผู้มีอำนาจเห็นว่าการเดินทางต้องใช้เวลา ให้ถือว่าสิ้นสุดก่อนวันเดินทางกลับ
4 การลาครึ่งวันเช้าบ่าย นับเป็นการลาครึ่งวัน
5 การยกเลิกวันลา การลาสิ้นสุดก่อนวันมาปฏิบัติราชการ
6 การควบคุมการลา ให้ จัดทำบัญชีลงเวลาปฏิบัติราชการ เครื่องบันทึกเวลาปฏิบัติราชการ หรือ แบบอื่นตามที่เห็นสมควร
7 การลาต้องใช้ใบลาตามแบบที่กำหนด เว้นกรณีเร่งด่วนจำเป็นใช้วิธีการอื่นได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
8 การไปต่างประเทศระหว่างการลาหรือวันหยุดราชการ ให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการแล้วให้รายงานปลัดกระทรวงทราบ
9 การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุญาตได้ไม่เกิน 7 วัน ในอำเภอท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อประเทศนั้นอนุญาตได้ไม่เกิน 3 วัน
10 ข้าราชการที่ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษ ให้รีบรายงานพฤติการณ์ ปัญหา อุปสรรค ต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ ทันที ในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการแล้ว ไม่ต้องนับเป็นวันลา แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นพฤติการณ์พิเศษ ให้ถือวันที่ไม่มาเป็นวันลากิจส่วนตัว
หลักเกณฑ์การลาบ่อยครั้งและมาทำงานสาย
1 บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความรอบรู้ (กฎหมายการศึกษา)
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย