29 เม.ย. 2020 เวลา 13:55 • ประวัติศาสตร์
ประชาชนสามารถมองพระมหากษัตริย์ได้ตั้งแต่เมื่อใด?
พระองค์ทรงตรัสว่า "พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงเป็นมนุษย์" และทรงเริ่มเปิดให้สาธารณะชนได้มองพระองค์โดยไม่มีความผิด
1
โบราณนานมาแล้วตั้งแต่เริ่มมีระบบสมบูรณาญาสิทธิ์ราชย์ในการปกครองอาณาจักร กษัตริย์จึงเปรียบเสมือนองค์สมมุติเทพและยิ่งใหญ่จนมีกฏข้อห้ามต่างๆเอาไว้มากมาย
หนึ่งในนั้น คือ การมองไปที่พระวรกายของพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด ถูกละไว้เพียงแต่ในกลุ่มขุนนางและข้าราชบริพารผู้รับใช้ใกล้ชิดเท่านั้น
วันนี้เจาะเวลาหาอดีตจะพาท่านผู้อ่านไปดูวิวัฒนาการในเรื่องนี้กัน
ย้อนไปในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงกฏและธรรมเนียมไว้อย่างเด็ดขาด หากผู้ใดมองมาที่พระวรกายของพระมหากษัตริย์จะมีโทษทันที
ครั้งหนึ่งขณะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมีทหารอารักขาพลธนูนำหน้าขบวนเสด็จ คอยโก่งธนูห้ามไปที่ฝูงชนมิให้มองพระวรกาย
ทันใดนั้นมีหญิงคนหนึ่งพลาดชะเง้อมองโดยมิได้ตั้งใจ พลธนูเมื่อเห็นเข้าจึงพุ่งศรใส่ทันที แต่เคราะห์ดีที่ไม่มีการสูญเสียเกิดขึ้น
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมิได้คาดโทษแต่ได้รับสั่งให้ทำการลดบทบาทของพลธนูลง ให้จำกัดไว้เพียงแต่เพื่อการข่มขู่กับประชาชนที่กระด้างกระเดื่องเท่านั้น
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้ยกเลิกพลธนูไปในที่สุด และเริ่มให้ประชาชนได้เห็นการประกอบพิธีของทางราชสำนัก ตลอดจนการเสด็จประพาสตามหัวเมืองต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ยุคใหม่ ทรงรับวิถีการปฏิบัติของตะวันตกมาปรับใช้เพื่อความยั่งยืนของราชวงศ์จักรี ทรงเลิกทาส ทรงยกเลิกระบบวังหน้า และโปรดให้ชำระกฏมณเฑียร โดยอิงตามความเหมาะสมด้วยการส่งพระราชโอรสไปศึกษากฏหมายที่ต่างประเทศ
ในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงโปรดปรานการถ่ายรูปเป็นอันมาก พระองค์ทรงแสดงพระองค์กับพสกนิกรในพิธีกรรมอย่างอลังการ ทรงโปรดให้ฉาย ให้วาดและปั้นพระบรมรูป รวมทั้งการประทับพระบรมฉายาลักษณ์บนเหรียญ แสตมป์และโปสการ์ด
อีกทั้งยังทรงรับสั่งให้เปิดประทุนรถม้าและรถยนต์พระที่นั่ง และทรงขับไปรอบๆกรุงเทพอีกด้วย
ทั้งนี้การนิยามคำว่า "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" ตั้งแต่รัชกาลที่ 4-5 นั้นจะต่างจากเดิมเนื่องจากอิทธิพลของตะวันเริ่มแผ่เข้ามารวมทั้งความทันสมัยที่กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงเห็นพ้องกันว่าพสกนิกรก็คือ มนุษย์คนหนึ่งเช่นกัน
ดั่งคำตรัสของสมเด็จพระจอมเกล้าที่ว่า
"พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงเป็นมนุษย์....ที่เป็นเจ้าแผ่นดินครั้งนี้ ครั้นจะว่าไปได้เป็นด้วยอำนาจเทวดาก็จะเป็นการลบหลู่บุญคุณของท่านผู้หลักผู้ใหญ่ ที่ต่างพร้อมใจกันอุปถัมภ์ค้ำชูให้เป็นเจ้าแผ่นดิน"
❤️กดไลค์กดแชร์ติดตามเพื่อเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
1
อ้างอิง
- หนังสือ History of Thailand
โดย คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร
เครดิตภาพจากภาพยนตร์
- The Lord of the Ring
โฆษณา