4 พ.ค. 2020 เวลา 05:31
เกิดอะไรขึ้นที่ยะลา
ย้อนกลับไปช่วงต้นเดือนมี.ค. จะเริ่มได้ยินว่าภาคใต้มีเคสเพิ่มขึ้นมา เป็นกลุ่มผู้ไปร่วมพิธีทางศาสนาที่มาเลเซีย ตอนนั้นมาเลเซียจัดว่าเคสไม่เยอะ (คือต้องบอกว่า ไม่รู้ว่ามีเคสแล้ว มากกว่า) คนที่กลับมาก็ไม่ได้ระวังตัวอะไร ไปอยู่ในชุมชน ไม่ได้ strict quarantine (ยังไม่ได้กักตัวนั่นเอง)
จนเจอเคส positive (ผู้ติดเชื้อcovid รายแรกในยะลา) แล้วจึงทำการ tracing กลับไป (การ tracing คือการตามหาว่าเคสที่จิดเชื้อนี้ รับเชื้อมาจากที่ไหน เพื่อพยายามหาต้นตอ เป็นวิธีการทำงานของกรมควบคุมโรคค่ะ)
จึงเจอว่ามาจากมาเลเชีย ซึ่งตอนนั้น จาก timing คิดว่า อาจจะมี generation ที่ 2 ของผู้ติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว
(คือระยะฟักตัวเชื่อ คร่าวๆ 7 วัน ถ้าระยะเวลานานสองสามสัปดาห์ ก็น่าจะเป็น การจืดเชื้อทอดที่สอง )
ซึ่งตรงกับช่วงปลายมี.ค.พอดี ข่าวทั้งหลายพุ่งไปที่สนามมวย กับทองหล่อ เป็นหลัก
จนช่วงนี้ ตรวจเจอมากขึ้น กักตัวมากขึ้น จึงเคสบางตาลง เลยได้ทำ active surveillance หาคนติดเชื้อในชุมชน หรือที่เรียกว่าตรวจปูพรมนั่นเอง
(ตรวจปูพรม ก็คือ ตรวจไปหมด ไม่ได้ตรวจตามความเสี่ยง)
เมื่อวานการทำการตรวจปูพรมเป็นการตรวจในคนเสี่ยงต่ำถึง ปานกลาง ไม่ใช่คนเสี่ยงสูง
ผลที่รายงานเบื้องต้นคือ ทำการตรวจไป 311 ราย พบผู้ติดเชื้อ 40 ราย ซึ่งผิดปกติมากๆ สำหรับการตรวจในกลุ่มเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง
เพราะปกติ เวลาตรวจในกลุ่มเสี่ยงสูง ยังไม่ได้เจอ percent positive มากขนาดนี้ ดังนั้น จึงต้องสำรวจมากๆว่าเกิดอะไรขึ้น
(percent positive คือ ตรวจ 100 คน เจอคนบวกกี่คน โดยคร่าว ตัวเลขของไทย ตรวจในคนเสี่ยงสูง จะอยู่ประมาณ 8%) แต่กรณียะลา บวกถึง สิบกว่าเปอเซนต์ ซึ่งสูงผิดปกติไปมาก
ทีนี้มาเข้าใจการส่งตรวจเป็นปูพรมนิดนึง
คือเราจะไป swab เป็นจำนวนมากๆ ในชุมชน โดยคนที่ทำหน้าที่ตรงนี้ มีอยูไม่กี่คน อาจจะเป็นคน swab คนเดียวด้วยซ้ำ เพื่อลดการปนเปื้อนของบุคคลากรคนอื่น
ประมาณว่า สัปดาห์นี้เวรเอ็ง เอ็งทำไปเลย ถ้าติด เอ็งจะได้กักตัวคนเดียว ประมาณนั้น (แต่นี้เป็นตัวอย่างคร่าวๆนะคะ ในเห็นในหลักการเฉยๆ)
พอเวลามีคนทำคนเดียว ชุดที่ใส่มักใส่ชุดเดียว ทำไปหลายๆคน เปลี่ยนเฉพาะถุงมือที่ตรวจ swab (ซึ่งก็คือการใช้ไม้แหย่เข้าจมูก) เอาเนื้อเยื่อหลังโพลงจมูก กับคอหอย มาตรวจ และคนที่ทำแลป เป็นการทำ PCR ด้วยคนทำ อาจจะมีการ error (ผิดพลาด) ขึ้นมาได้บ้าง จากเครื่องหรือจากคน
ซึ่งทางยะลา ก็รู้ถึงประเด็นนี้ และได้ทำการ swab ใหม่หมดและส่งตรวจไปยัง lab อีกแห่งหนึ่งเพื่อเป็นการ confirm
เพราะมันเป็นสถานะการณ์ที่ไม่ปกติ
พอ confirm ไป ก็พบว่า 40 คนที่บวกตอนแรก ได้ผล negative หมด
ก็คือ "ไม่เป็น"
ทีนี้ก็จะมาตกใจกันอีก ว่าอ่าวววว ที่ผ่านมา เชื่อถือได้มั้ย
1
มาค่ะ จะเล่าตั้งแต่แรกให้ฟัง
ช่วงแรกๆที่ COVID เข้ามาเมืองไทย เราทำการตรวจ confirm 2 lab เสมอ ทั้งๆที่ ห้อง lab เราที่ตรวจได้ตอนนั้นมีจำกัด แต่เราก็ตรวจ confirm เพราะเคสยังไม่มากนัก
จนช่วงปลายกพ. ต้น มี.ค เคสเยอะขึ้นมากมาย
lab ระเบิด ทำไม่ทัน เคสค้างตรวจเยอะมากๆๆๆ บางเคสรอ 4-5 วันกว่าจะรู้ผล
ตอนนั้นเลยเปลี่ยนมาตราการเป็น ตรวจ lab เดี่ยวพอ
จำกันได้มั้ยคะ วันที่ยอดพุ่งสูงสุดเป็น 188 เคสต่อวัน
ตอนนั้นแหละ ที่เปลี่ยนจากต้องรอ confim 2 lab เป็นเอาผลจาก lab เดียวก็พอ
ซึ่งที่ผ่านมา การตรวจของเรา ใช้อาการทางคลีนิก ความเสี่ยงของผู้ป่วย ร่วมกับผลแลป ในการแปลผลอยู่แล้ว
มิได้ใช้เฉพาะผล lab อย่างเดียว
ทีนี้พอช่วงนี้โรคดูสงบ ก็เลยปูพรมตรวจ ซึ่งอาจจะเกิด error ขึ้นมาได้บ้าง แต่จะว่าไปก็ไม่เชิง เพราะยอด 40 เป็น lab error มิใช่เป็นการรายงาน error lab ที่ error นั้น ถูกมนุษย์จับได้ทัน ก่อนรายงาน นั้นเอง
แต่เชื้อว่าก่อนหน้านี้ ไม่ได้มี error แบบนี้หรอกค่ะ แล้วก็การ error แบบนี้ไม่ได้เจอกันบ่อยๆด้วย
โฆษณา