Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อิ่มบุญ
•
ติดตาม
7 พ.ค. 2020 เวลา 23:00
#พระเจ้าอโศกมหาราชกับพระอุปคุต
1
“ พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระอุปคุตเป็นคู่บุญคู่บารมี ที่เคยช่วยกันขยายพุทธอาณาจักรออกไปทั่วทุกมุมโลก
และได้กลับชาติมาเกิดเป็นหลวงพ่อลี ธัมมธโร อีกครั้งในชาติปัจจุบัน
หากจะเอ่ยชื่อลูกศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สักองค์หนึ่ง เชื่อแน่ว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก ท่านพ่อลี ธัมมธโร ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่า
1
พระเจ้าอโศกมหาราชนั้นกลับชาติมาเกิดเป็นหลวงพ่อลีในชาติปัจจุบันนี้
ท่านพ่อลีจึงสร้างวัดขึ้น
ที่ จ.สมุทรปราการ และให้ชื่อว่า
”วัดอโศการาม” ซึ่งก็เป็นพระนามพ้องกับพระเจ้าอโศกมหาราชนั่นเอง
ปี 2500 ท่านพ่อลีจึงได้จัดงานฉลองกึ่งพุทธกาลขึ้นที่วัดอโศการาม ได้มีพิธีใหญ่โตหลายประการ อาทิเช่น การจัดให้มีการบวชพระ 2,500 รูป บวชชีพราห์ม 2,500 คน โดยที่ทางวัดเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ปรากฏว่า มีศรัทธาชาวพุทธหลั่งไหลเข้ามาขอบวช มาปฏิบัติธรรม มาฟังเทศน์ มาบริจาคทรัพย์ทำทานสนั่นหวั่นไหว เป็นเวลา 15 วัน 15 คืน
ผู้คนหลั่งไหลกันมาชุมนุมนับหมื่น ๆ คน เฉพาะผ้าที่นำมาตัดเป็นผ้าไตร ผ้าขาวนั้น เป็นจำนวน พัน ๆ ม้วน คนที่ตัดผ้าตัดกันจนแทบเป็นลม โรงทานเลื้ยงไม่อั้น ข้าวปลาอาหารขนกันมามากมาย ขนาดต้องใช้รถสิบล้อขนมา
ทุกอย่างในงานฟรีหมด หมดเงินค่าบวชพระ บวชเณร เฉพาะงานนั้นเป็นสิบล้าน นั่นคือ 60 ปีที่ผ่านมา ถ้าหากเรานับในสมัยนี้ก็คงจะไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท
พระภิกษุสายหลวงปู่มั่นต่างก็หลั่งไหลเข้ามาในงานนี้เนืองแน่น ที่พิเศษสุดก็คือ พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธ 25 ศตวรรษ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สวดพุทธาภิเษก 15 วัน 15 คืน
สวดมนต์กันสนั่นทั้งวัดอโศการาม แต่ก่อนที่จะจัดงานพิธีนี้ขึ้นมา ท่านพ่อลีก็ทราบด้วยญาณว่าการจัดงานครั้งนี้จะต้องมีผู้ที่มาคอยกลั่นแกล้งขัดขวางจนเกิดอุปสรรคต่างๆแน่นอน
ท่านพ่อลีจึงได้กำหนดจิตพิจารณาว่าจะมีวิธีใดบ้างหนอ ที่จะมาช่วยให้การจัดงานครั้งนี้ไม่มีอุปสรรค
ต่อมาท่านก็ทราบด้วยญาณวิถีแห่งท่านว่าจะต้องทำอย่างไร...!
เมื่อก่อนถึงวันงานการฉลองพิธีจะเริ่มขึ้น ท่านก็สั่งให้พระจัดเตรียมอาสนะที่นั่งสำหรับครูบาอาจารย์และพระภิกษุที่จะมาร่วมงาน พร้อมทั้งได้จัดเตรียมอาสนะที่นั่งพิเศษไว้อีกที่หนึ่ง ซึ่งอยู่ด้านหน้าติดกับโต๊ะหมู่บูชา
1
เมื่อถึงเวลา ทั้งครูบาอาจารย์และพระภิกษุสงฆ์จำนวนมากมายต่างก็หลั่งไหลเดินทางเข้ามาในงาน และนั่งประจำที่ของตนเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปสักพักใหญ่ หลายคนต่างก็อดสงสัยกันไม่ได้ว่า...ทำไมท่านพ่อลีไม่เริ่มสวดมนต์หรือเริ่มพิธีสักที
จากนั้นมานานสักเท่าใดก็มิอาจจะทราบได้ ก็ปรากฏว่าจู่ๆก็มีพระภิกษุชราผอมๆองค์หนึ่งมาจากไหนก็ไม่ทราบ ถือใบบัวใบใหญ่ปิดศีรษะคล้ายเป็นร่มกันแดด เดินเข้ามาในงานแล้วตรงเข้ามานั่งยังที่อาสนะพิเศษ ที่ท่านพ่อลีสั่งให้พระเตรียมเอาไว้เป็นการเฉพาะตั้งแต่แรกแล้ว
เมื่อพระภิกษุชรานั่งประจำที่ของตนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การเจริญพุทธมนต์ก็เริ่มขึ้นจนจบ หลังจากเสร็จสิ้นการเจริญพระพุทธมนต์แล้ว พระภิกษุชรารูปนั้นก็ลุกขึ้นเดินออกไปจากงานทันที
ในขณะที่หลายคนหลายสายตาต่างก็จดจ้อง(เฉพาะผู้ที่มีตาดีเท่านั้น)ไปที่ท่านพระภิกษุชรารูปนี้ ว่าท่านเป็นใครมาจากไหนและกำลังจะกลับวัดหรือไปไหนกันแน่
ปรากฏว่าท่านเดินลงไปทางทะเล ขณะนั้นน้ำทะเลก็ปรากฎแหวกเป็นเส้นทางตรง ให้ท่านเดินเหยียบนผืนทรายลงไปในทะเลอย่างง่ายดาย แล้วก็หายตัวไปในที่สุด
เมื่อมาถึงตรงนี้หลายคนที่ได้เห็นเหตุการณ์ ต่างก็รู้สึกตื่นเต้นตกใจและเกิดความอัศจรรย์ใจอย่างบอกไม่ถูก
จึงมุ่งเข้าไปกราบหลวงพ่อลีแล้วต่างก็แย่งกันถามถึงเหตุการณ์เมื่อสักครู่ ว่าพระภิกษุชรานั้นเป็นใครมาจากไหน..
แล้วสามารถเดินลงไปในทะเลได้อย่างไร..!
เมื่อลูกศิษย์รบเร้าเอาคำตอบมากๆเข้า ท่านพ่อลีจึงกล่าวว่า “พระภิกษุชราผอมๆที่คุณโยมทั้งหลายเห็นกันนั้น ไม่ใช่ใครอื่นไกลหรอก ท่านเป็นอาจารย์ของอาตมาเอง ท่านก็คือพระอุปคุตมหาเถระนั่นแหละโยม
ปัจจุบันนี้ท่านนั้นยังมีชีวิตอยู่น่ะ มักจะชอบเข้าสมาธิอยู่ในเรือนแก้วกลางมหาสมุทรสะดือทะเลตลอดเวลา จนกว่าพระพุทธศาสนาครบ 5,000 ปี
พระอุปคุตท่านเต็มใจเสมอเมื่อมีการอาราธนานิมนต์ให้ขึ้นมาช่วยงานพระศาสนา เพราะเหตุนี้อาตมาจึงนิมนต์ท่านให้มาช่วยปกป้องคุ้มครองงานพิธีพุทธาภิเษกกี่งพุทธกาลในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและปลอดพ้นจากอุปสรรคอย่างไรกันหล่ะโยม"
เมื่อท่านพ่อลีเล่าจบ ทุกคนที่อยู่ในที่นั้นก็กล่าวเปล่งเสียงดังๆว่า
สาธุ สาธุ สาธุ !!!
นี่คือประสบการณ์และความทรงจำอันสำคัญยิ่ง
ในช่วงงานพิธีพุทธาภิเษกกึ่งพุทธกาลของวัดอโศการาม สำหรับหลายๆท่านที่อยู่ในเหตุการณ์วันนั้นอย่างมิรู้ลืม “
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
Cr :มูลนิธิธรรมดี
และ Cr : รูปจาก Google.
4 บันทึก
55
25
9
4
55
25
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย