9 พ.ค. 2020 เวลา 03:22 • ไลฟ์สไตล์
กินเยี่ยงภิกษุ สุขเยี่ยงภิกษุ
ถั่วเขียวต้มน้ำตาลถุงเดียว.. เขียนซะยาว
เมื่อวานหยิบถั่วเขียวต้มน้ำตาลมาดูหลังเที่ยงแล้วนึกขึ้นได้ ถ้าเป็นพระภิกษุเรากินได้ไหมนะ? เลยต้องหยิบมือถือมาเขี่ยดูเสียหน่อยว่าเป็นอย่างไร
กินเยี่ยงภิกษุ
ภิกษุฉันอาหารได้ตามพระธรรมวินับกำหนด คือ
กาลิก เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ
๑. ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น
เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ
๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่
ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต
๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน
ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕ คือ
สัปปิ เนยใส
นวนีตะ เนยข้น
เตละ น้ำมัน
มธุ น้ำผึ้ง
ผาณิต น้ำอ้อย
๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา
ได้แก่ ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น ยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน
ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก
ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น
๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี
ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ
๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล
๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้
น้ำปานะที่ไม่สมควรตามหลักพระวินัย ได้แก่ น้ำแห่งธัญชาติ (ข้าว) ๗ ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้
น้ำแห่งมหาผล (ผลไม้ใหญ่) ๙ ชนิด คือ ผลตาล มะพร้าว ขนุน สาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไทย แตงโม และฟักทอง
1
น้ำแห่งอปรัณณชาติ ได้แก่ ถั่วชนิดต่างๆ มีถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ และงาเป็นต้น แม้จะต้มจะกรอง ทำเป็นเครื่องดื่มชนิดต่างๆ เช่น น้ำนมถั่วเหลืองชนิดกล่อง หรือชนิดขวดที่วางขายตามท้องตลาด และน้ำนมข้าว เป็นต้น จัดเป็นน้ำปานะที่ไม่สมควรทั้งนั้น
จบกัน... กินไม่ได้
พิจารณาจากอาหารที่ภิกษุฉันได้แล้วคือ หากเราจะกินตามแบบภิกษุ คือกินก่อนเที่ยง หลังเที่ยงก็ดื่มน้ำปานะ หรือน้ำอัฏฐบาน เพื่อดับหิว ถ้าป่วยก็กินยา ถือเป็นอันจบกระบวนการกินของเรา
มาค้นตามไปอีก ทำไมภิกษุฉันได้แค่นั้น?
ที่ภิกษุฉันได้เพียงแค่นั้น เพราะ
1 ไม่เบียดเบียนผู้อื่นมากเกินไป
2 ลดกำหนัดที่มีในตน
3 ได้ใกล้ชิดผู้มีธรรม(ห้ามฉันกระเทียมยกเว้นป่วย)
ข้อ 1 และ 3พอเข้าใจ แต่ข้อ2 กำหนัด คือการหลงไหลในกามคุณทั้ง 5 คือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไปกันใหญ่เลยทีนี้
ได้ถึงบางอ้อตรงที่พระท่านบอกว่า ผลไม้ใหญ่ มีเอ็นไซน์ที่ทำให้เกิดกำหนัดเยอะเยอะกว่าผลไม้เล็ก พอไม่ฉันผลไม้ใหญ่ ก็จะลดกำหนัดไปโดยปริยาย ช่างคิดได้ดีแท้
เห็นควรกินเยี่ยงพระภิกษุเสียจริง
สุขเยี่ยงภิกษุ
สุขอย่างภิกษุท่านสุขจากการรักษาศึล ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง สุขจากการห่างจากกาม สุขจากการปฏิบัติธรรมที่เป็นไปเพื่อสมาธิ สุขที่แท้จริง
เราเป็นปุถุชนธรรมดาคิดจะสุขเยี่ยงภิกษุดูบ้างจากการกินแบบภิกษุโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นมากเกินควร ก็เห็นจะดี
การกินน้อยมื้อถือเป็นการประหยัดดี กินอิ่มก่อนเที่ยงก็พอแล้ว
สายมาถ้าเกิดหิว ฝึกขันติได้อีก ฝึกไปฝึกไปๆๆๆๆ จนแล้วจนรอด ไม่ไหวแล้ว ทุกข์เกิดแล้ว หิวมากเกินทนได้ ก็หยิบน้ำปานะหรือน้ำอัฏฐบานมาดื่มเสีย
หรือถ้าไม่มี ก็กินเสียเล็กน้อยให้หายหิว เรายังไม่ใช่พระ ไม่ต้องเบียดเบียนตัวเองและผู้อื่นแสวงหามาตามตำราวุ่นวาย และเมื่อเราฝึกบ่อยๆ กินมื้อเดียว กับดื่มน้ำแก้กระหายก็อยู่ได้แล้ว
แถมกินน้อยโรคก็น้อย ป่วยก็กินยารักษาตามอาการไป สุขกันตามอัตภาพ ไม่ต้องเสียค่าหมอค่ายามากมาย
กินน้อยกำหนัดเกิดน้อย เราก็ห่างจากกามโดยอัตโนมัติกันเลย การหลงไหลได้ปลื้มกับรูป รส กลิ่น เสียง ก็ลดลง ห่างจากกามออกมาได้ จิตก็ยกสูงขึ้นไป สมาธิก็มีแนวโน้มเกิดขึ้นได้โดยง่าย
สุขจากการไม่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเองสุขจากการห่างกาม สุขจากธรรมที่เป็นไปเพื่อสมาธิเกิด กิจการงานใดก็ทำได้ตามประสงค์แน่นอน
ที่มา
ตามประสงค์แน่นอน
ที่มา
โฆษณา