9 พ.ค. 2020 เวลา 09:00 • การศึกษา
คุณธรรมที่ครูควรรู้และนำมาปฏิบัติ
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานไว้เมื่อ 5 เมษายน 2525 เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงเทพฯมีอายุครบ 200 ปี
1 การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
2 การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น
3 การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริต ไม่ว่าจะด้วยประการใด
4 การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต แล้วรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
คุณธรรมหลัก 4 ประการ ของอริสโตเติล
1 ความรอบคอบ คือ รู้ว่าอะไรควรประพฤติปฏิบัติ อะไรไม่ควรประพฤติปฏิบัติ
2 ความกล้าหาญ คือ ความกล้าเผชิญต่อความเป็นจริง
3 การรู้จักประมาณ คือ รู้จักควบคุมความต้องการและการกระทำให้เหมาะสมกับสภาพและฐานะของตน
4 ความยุติธรรม คือ การให้แก่ทุกคนตามความเหมาะสม
ทศพิธราชธรรม ธรรมของผู้ปกครอง
คือ ธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้พระราชอำนาจในการปกครองและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร์ มี 10 ประการดังนี้
1 ทาน หมายถึง การให้ การเสียสละ สิ่งของ น้ำใจ แก่ผู้อื่น
2 ศีล หมายถึง ความประพฤติที่ดีงาม ทั้งกาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา
3 ปริจาคะ หมายถึง การบริจาค การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม
4 อาชวะ หมายถึง ความซื่อตรง ในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
5 มัททวะ หมายถึง ความอ่อนโยน มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส และอ่อนโยนต่อบุคคลที่เสมอกันและต่ำกว่า
6 ตปะ หมายถึง ความเพียร อุตสาหะ ในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
7 อักโกธะ หมายถึง ความไม่โกรธ ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏเห็น แม้จะลงโทษผู้ทำผิด ก็ทำตามเหตุผล
8 อวิหิงสา หมายถึง ความไม่เบียดเบียน บีบคั้น ไม่ก่อทุกข์ หรือเบียดเบียนผู้อื่น
9 ขันติ หมายถึง ความอดทน ต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย
10 อวิโรธนะ หมายถึง ความเที่ยงธรรม ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียง หวั่นไหวต่อคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ มีความเสมอต้นเสมอปลาย
โฆษณา