9 พ.ค. 2020 เวลา 10:37 • การศึกษา
คุณธรรมสำหรับครู
ความหมายของคำว่า ครู
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. 2554 ครู คือ ผู้สั่งสอนศิษย์ ครู มีรากศัพท์เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ครุ (คะรุ) ซึ่งแปลว่า หนักแน่น และ สันสกฤต ว่า คุรุ ซึ่งแปลว่า ผู้ชี้แสงสว่าง
แต่โดยความหมายในภาษาไทยก็คือ ครูผู้สอนประสิทธิ์ประสาทความรู้ อบรมบ่มนิสัยศิษย์ ให้เป็นคนดี ยกระดับจิตวิญญาณ ความรู้ดีรู้ชั่ว แยกแยะความดีความชั่ว แล้วรู้จักการดำรงชีวิต ในแนวทางที่ถูกต้อง มีคุณธรรม จะมี 2 คำ คือ คำว่า คุ ซึ่งแปลว่า แสงสว่าง เป็นผู้ชี้ทางแสงสว่าง และคำว่า รุ แปลว่า ความมืดมน เป็นผู้ขจัดความเขลาที่มืดมน
คุณธรรมสำหรับครู
กัลยาณมิตรธรรม 7
หลักธรรมที่ครูควรยึดถือในการปฏิบัติหน้าที่ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน มิตรที่ดีคือครูที่ดี 7 ประการ
1 ปิโย น่ารัก ใกล้ชิด สนิทสนม
2 ครุ น่าเคารพ เป็นแบบอย่าง
3 ภาวนีโย น่ายกย่อง รู้อย่างแท้จริง ภูมิรู้
4 วัตตา รู้จักพูด รู้จักเหตุผล
5 วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ
6 คัมภีรัญจะ กถังกัตตา เปล่าเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่าย
7 โน จักฏฐาเน นิโยชเย ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
กัลยาณมิตรธรรม 7 ประการนี้ เมื่อนำมาบูรณาการเข้ากับความเป็นครูและวิชาชีพครู ซึ่งเป็นวิชาชีพครูที่มีจรรยาบรรณเป็นแนวทางในการปฏิบัติวิชาชีพ เช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นตามหลักของวัฒนธรรมไทย ถือว่าครูที่ดีจะต้องมี หลักธรรม 3 สุ นั่นก็คือ
1 สุวิชาโน คือ เป็นผู้มีความรู้ดี
2 สุสาสโน คือ เป็นผู้สอนดี รู้จักชี้แจง ชักจูง ปลุกใจ ให้เกิดความเพลิดเพลินในการเรียน
3 สุปฏิปันโน คือ เป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติตนดี เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และบุคคลอื่น
พรหมวิหาร 4
หลักธรรมประจำใจของครู สอดคล้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพครู
เมตตา อยากเห็นลูกศิษย์มีความสุข
กรุณา อยากเห็นลูกศิษย์พ้นทุกข์
มุทิตา ยินดีที่เห็นลูกศิษย์ได้ดี
อุเบกขา เข้าใจในธรรมชาติของสิทธิ์
อิทธิบาท 4
ธรรมแห่งความสำเร็จ
ฉันทะ ความพอใจไปรักไปหาความรู้และใฝ่สร้างสรรค์ เป็นพื้นฐานแห่งความสำเร็จสำคัญที่สุด
วิริยะ ความเพียรพยายามมีความอดทนไม่ท้อถอย
จิตตะ ความเอาใจใส่และตั้งใจแน่วแน่ในการทำงาน
วิมังสา ความหมั่นใช้ปัญญาและสติในการตรวจตราและคิดไตร่ตรอง
สังคหวัตถุ 4
ธรรมแห่งความสามัคคี ธรรมแห่งการบริการ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคน โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ชุมชน วางตนพอดี
ทาน ความเสียสละ การช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ปิยวาจา การเจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
อัตถจริยา การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน
สมานัตตตา การวางตนเหมาะสมเป็นปกติเสมอต้นเสมอปลาย
อริยสัจ 4
ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ
แนวคิดเหมือนหลักวิทยาศาสตร์
ทุกข์ ความทุกข์ ความที่กายและใจทนสภาพบีบคั้นได้ยาก
สมุทัย เหตุที่เกิดทุกข์ คือตัณหา ที่กระตุ้นจิตใจ อารมณ์ที่ปรารถนาอยากได้อยากมี อยากเป็น และอยากพ้นไปจากภาวะไม่ปรารถนา
นิโรธ ความดับทุกข์ คือภาวะที่เป็นผลจากการดับตัณหา และสามารถพ้นจากทุกข์ได้เด็ดขาด เป็นภาวะที่ต้องทำให้ประจักษ์แจ้ง
มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ แนวทางการดับทุกข์
ฆราวาสธรรม 4
ธรรมของผู้ครองเรือน แนวทางแห่งการดำเนินชีวิต
สัจจะ ความซื่อสัตย์
ทมะ การฝึกตน
ขันติ ความอดทน
จาคะ ความเสียสละ
พละ 5
ธรรมอันเป็นกำลัง 5 อย่าง
สัทธา ความเชื่อ
วิริยะ ความเพียร
สติ ความระลึกได้
สมาธิ ความตั้งจิตมั่น
ปัญญา ความรอบรู้
ศีล 5 หรือเบญจศีล ศีล แปลว่าปกติ
1 ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่าสัตว์ มีชีวิต
2 อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้
3 กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4 มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการกล่าวเท็จ
5 สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มน้ำเมา
เบญจธรรม
หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ 5 ประการ
1 เมตตากรุณา ความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
2 สัมมาอาชีวะ การประกอบสัมมาชีพ
3 กามสังวร การสำรวมในกาม
4 สัจจะ การพูดความจริง
5 สติสัมปชัญญะ ความระลึกได้และความรู้ตัว
ทิศ 6
การปฏิบัติตนต่อผู้มีพระคุณ
1 ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่บิดามารดา
2 ทักขิณทิส ทิศเบื้องขวา ได้แก่ครูอาจารย์
3 ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่สามีภรรยา
4 อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่มิตรสหาย
5 อุปริมทิส ทิศเบื้องบน ได้แก่พระสงฆ์สมณะพราหมณ์
6 เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ลูกจ้างกับนายจ้าง
สัปปุริสธรรม 7
ธรรมของคนดี ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ บุคคลที่น่านับถือ สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีเหตุผลมีภูมิคุ้มกัน
1 ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ
2 อัตถัญญุตา รู้จักผล
3 อัตตัญญุตา รู้จักตน
4 มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
5 กาลัญญุตา รู้จักกาล
6 ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
7 ปุคคลปโรปรัญญุตา รู้จักบุคคล
โลกธรรม 8
ทำที่ครอบงำสัตว์โลก
มีลาภ - เสื่อมลาภ
มียศ -เสื่อมยศ
สรรเสริญ - นินทา
สุข - ทุกข์
มรรค 8
ธรรมแห่งการดำเนินชีวิต
1 สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ
2 สัมมาสังกัปปะ ใฝ่ใจชอบ
3 สัมมาวาจา วาจาชอบ
4 สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
5 สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ
6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ
7 สัมมาสติ การระลึกชอบ
8 สัมมาสมาธิการตั้งจิตมั่นชอบ
หลักกาลามสูตร 10
พระพุทธองค์ทรงตรัสไม่เชื่อ 10 ประการ
1 อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
2 อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบกันมา
3 อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
4 อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
5 อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
6 อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
7 อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
8 อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่า ต้องกับความเห็นของตน
9 อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
10 อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา
หลักธรรมกับหลักการบริหาร
1 นิคัญเห นิคคัญหารหัง แปลว่า ข่มคนที่ควรข่ม
2 ปัคคัญเห ปัคคัญหารหัง แปลว่า ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
3 ทิฏฐานุคติ แปลว่า ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
ขันติโสรัจจะ
ธรรมอันทำให้งาม เป็นหลักธรรมอันทำให้บุคคลเป็นผู้งาม
1 ขันติ ความอดทน
2 โสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงออก ใจแช่มชื่นแม้ดุด่ายังยิ้มได้
หิริโอตัปปะ
ความละอายเกรงกลัวต่อบาป โลกบาลธรรม ทำอันคุ้มครองโลก
1 หิริ ความละอายบาป
2 โอตัปปะ ความเกรงกลัวบาป
ไตรลักษณ์
ธรรมที่เป็นลักษณะสามัญของสรรพสิ่งทั้งปวง
1 อนิจจา ความเป็นของไม่เที่ยง
2 ทุกขตา ความเป็นทุกข์
3 อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน
ไตรสิกขา
1 ศีล เป็นเครื่องสนับสนุนให้กายสะอาด
2 สมาธิ เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้ใจสงบ
3 ปัญญา เป็นเครื่องทำให้ใจสว่างรู้ถูกรู้ผิด
สติสัมปชัญญะ
ธรรมที่มีอุปการะมาก เป็นหลักธรรมอันอำนวยประโยชน์แก่ผู้ประพฤติเป็นอันมาก
1 สติ ความระลึกได้ ก่อนทำพูดคิด
2 สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ในเวลากำลังทำกำลังพูดกำลังคิด
การเข้าถึงพระพุทธศาสนา 3 ประการ
1 ปริยัติธรรม การศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกให้เข้าใจ
2 ปฏิปัตติธรรม การปฏิบัติธรรมตามที่ได้ศึกษามาจากปริยัติแล้วมี 3 อย่างคือปฏิบัติด้วย
3 ปฏิเวธธรรม ขั้นได้รับผล คือได้รับในมรรคผลนิพพาน
อคติ 4
ความลำเอียง
1 ฉันทาคติ ลําเอียงเพราะรัก
2 โทสาคติ ลำเอียงเพราะเกลียด
3 โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
4 ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
อบายมุข 4
ทางแห่งความเสื่อม
1 เป็นนักเลงหญิง
2 เป็นนักเลงสุรา
3 เป็นนักเลงการพนัน
4 คบคนชั่วเป็นมิตร
อบายมุข 6
1 การติดสุราและของมึนเมา
2 การชอบเที่ยวกลางคืน
3 การชอบเที่ยวดูการละเล่น
4 การติดการพนัน
5 การคบคนชั่วเป็นมิตร
6 การเกียจคร้านในหน้าที่การงาน
สรุป การนําหลักธรรมที่ประเสริฐมาปฏิบัติ ย่อมจักนำความเจริญ ตลอดจนความสุขกาย สบายใจ ให้บังเกิดแก่ผู้ประพฤติทั้งสิ้น สมดังพุทธะสุภาษิต ที่ว่า ธัมโม หเวรักขติ ธัมมจาริง ธรรมะย่อมคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติธรรม
วัฒนธรรมไทย แบ่งออกเป็น 4 อย่าง
1 คติธรรม วัฒนธรรมที่เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตคำสั่งสอน
2 เนติธรรม วัฒนธรรมที่เป็นระเบียบแบบแผน
3 วัตถุธรรม วัตถุต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตเกี่ยวกับปัจจัย 4
4 สหธรรม วัฒนธรรมทางสังคมหรือวัฒนธรรมในการติดต่อเกี่ยวข้องกับกลุ่มชนเป็นมารยาทในสังคม เช่นการมีมารยาทในการพูด การใช้ภาษา จารีต ประเพณี
ประกาศคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เรื่องค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ
1 การพึ่งตนเอง
2 การประหยัดและอดออม
3 การมีระเบียบวินัย
4 การปฏิบัติตามคุณธรรม
5 การรักชาติ ศาสน์กษัตริย์
อุดมการณ์ของความเป็นครู>>>
โฆษณา