11 พ.ค. 2020 เวลา 06:30 • ไลฟ์สไตล์
Asian American คลื่นพลังลูกใหม่ที่กำลังมีอิทธิพลในสังคมอเมริกา
กลุ่มคนเอเชียสัญชาติอเมริกา จำนวนกว่า 20.5 ล้านคน กำลังกลายเป็นกลุ่มคนน่าจับตามองที่มีความสำคัญและอิทธิพลต่อสหรัฐอเมริกามากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่วงการอาหาร ดนตรีความบันเทิง จนถึงผู้สมัครชิงประธานาธิบดีสหรัฐ 2020
บทความโดย มยุรา ยะทา I กรุงเทพธุรกิจ
Asian American คลื่นพลังลูกใหม่ที่กำลังมีอิทธิพลในสังคมอเมริกา
ถ้าหากใครยังจำการแข่งขันโอลิมปิกคณิตศาสตร์สากลครั้งที่ 56 ที่ผ่านมาได้ ทุกคนคงจะจำไวรัลบนโซเชียลมีเดียที่พูดถึงผู้ชนะในปีนั้นอย่างทีมจากประเทศสหรัฐอเมริกาได้เช่นกัน
เพราะทีมผู้ชนะอย่างสหรัฐอเมริกานั้น ครึ่งหนึ่งของผู้แข่งขันในทีมล้วนมีหน้าตาที่เป็นชาวเอเชีย จนสำนักข่าว People's Daily Online ของจีนพาดหัวข่าวว่า "Who beat China in International Mathematical Olympiad?" แปลว่า “ใครกันแน่ที่ล้มแชมป์แข่งขันโอลิมปิกคณิตศาสตร์สากลในปีนี้?"
เพราะนอกจากธงชาติอเมริกาที่ติดบนอกเสื้อแล้ว แทบไม่มีส่วนไหนที่บ่งบอกว่าพวกเขาคือชาวอเมริกัน!
หลังจากเหตุการแห่งเหน็บแนมของสำนักข่าวจบลง ทำให้ผู้คนหันมาสนใจและทำความเข้าใจถึงกลุ่มเหล่านี้ที่เรียกว่า Asian Americn กันมากขึ้น
และในปี 2020 นี้ ความน่าสนใจของชาวเอเชียน-อเมริกัน ยิ่งเพิ่มมากขึ้น เพราะพวกเขาเริ่มมีบทบาทที่ถูกจับตามอง ตั้งแต่เป็นหนึ่งในตัวแทนสมัครชิงประธานาธิบดีสหรัฐ เป็นเชฟผู้สร้างวัฒนธรรมอาหารสมัยใหม่ และ ค่ายเพลงรุ่นใหม่ที่มียอดสตรีมมิ่งไม่แพ้ค่ายยักษ์ใหญ่ระดับโลก
Asian American คือใคร
Asian American คือ กลุ่มคนที่มีเชื้อชาติจากฝั่งทวีปเอเชีย เช่น จีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทยเป็นต้น และมีสัญชาติอเมริกันพ่วงท้าย
รายงานจำนวนประชากรของกลุ่มคนเอเชียสัญชาติอเมริกันในอเมริกา พบว่า ในปี 2019 ที่ผ่านมามีจำนวนมาก ถึง 25.7 ล้านคน มากขึ้นจากการสำรวจในปี 2014 ถึง 25%
สรุปง่ายๆ ว่า ณ ปัจุบันในประเทศสหรัฐอเมริกามีคนเอเชียสัญชาติอเมริกันคิดเป็นร้อยละ 40
ทั้งนี้กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือกลุ่มเชื้อสายจีน รองลงมาคืออเมริกันอินเดียน และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ โดยรายงานเว็บไซต์ Marketing Chart ระบุว่าปัจจัยหลักๆ ของกลุ่มคนเอเชียน-อเมริกัน เพิ่มขึ้นนั้นยังคงมาจากการย้ายถิ่นฐาน และ เด็กเอเชียเชื้อสายอเมริกันเกือบ 86% เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเด็นเรื่องเชื้อชาติและสัญชาติของชาวเอเชียน-อเมริกันถือเป็นประเด็นที่อ่อนไหวอยู่พอสมควร (เช่นเดียวกับชาวแอฟริกันอเมริกันหรืออื่นๆ) โดยเฉพาะตั้งแต่ที่ประธานาธิบดีสหรัฐ "โดนัลด์ ทรัมป์" มีนโยบายที่ส่งเสริมวาทกรรมการปฏิปักษ์ของคนเชื้อชาติอื่นๆ ต่ออเมริกา
แต่แม้จะมีการออกนโยบาย “ซื้อของอเมริกัน-จ้างคนอเมริกัน” และกีดกันแรงงานจากต่างประเทศ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ความน่าสนใจของคนเอเชียน-อเมริกัน ในสายตาของนักลงทุนลดน้อยลงเท่าไหรนัก เพราะคนกลุ่มนี้กำลังจะกลายเป็นกำลังซื้อสำคัญของประเทศ
"ลมใต้ปีก" แห่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐ
1
ความน่าสนใจของกลุ่มคนเอเชียน-อเมริกันนั้นถูกจับตามองในฐานะผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐตั้งแต่ปี 2012
เนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวมีแนวโน้มรายได้สูงกว่าประชากรสหรัฐทั้งหมด โดยมีรายได้เฉลี่ยถึง $41,947 (เทียบกับ $33,315 สำหรับประชากรทั้งหมด)
และ 22% ของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปทำเงินอย่างน้อย $75,000
รายได้ของครัวเรือนชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของรายได้ประชากรสหรัฐอย่างมาก ($85,000 เทียบกับ 60,000 ดอลลาร์) โดย 43% ของครอบครัวชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียมีรายได้ 100,000 ดอลลาร์หรือมากกว่านั้น
1
นอกจากนี้ จากรายงานเรื่อง INFORMED INFLUENCERS AND POWERFUL PURCHASERS ยังให้ข้อมูลอีกว่า ผู้บริโภคชาวเอเชียน-อเมริกันมีการใช้จ่ายมากกว่าค่าเฉลี่ยของครัวเรือนสหรัฐ 21% โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเอเชียน-อเมริกันมีค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตโดยเฉลี่ยสะสมของครัวเรือนที่เหลืออยู่ราว 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
เรียกว่าเป็นกลุ่มที่มีอัตราการซื้อสูง จึงทำให้สำนักวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทั้งเล็กและใหญ่ในสหรัฐหันมาจับตามองกลุ่มคน เอเชียน-อเมริกันกันมากขึ้น
โดยเฉพาะรายงาน Nielsen พบว่ากำลังซื้อและอิทธิพลของผู้หญิงหรือแม่บ้านเอเชียน-อเมริกันกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยรายงานยังระบุว่า ผู้หญิงอเชียน-อเมริกันป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนมากกว่ากลุ่มเชื้อชาติอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้พวกเธอกลายเป็นผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์กลุ่มใหญ่
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จะขอพาไปทำความรู้จัก "คลื่นเอเชียน-อเมริกัน" ที่สะท้อนชัดว่า สหรัฐ กำลังจะเปลี่ยนโฉมไปอย่างน่าสนใจหลังจากนี้
Andrew yang ผู้สมัครชิงประธานาธิบดีสหรัฐ 2020 ผู้ "งัด" กับนโยบาย America Great Again
ไม่ใช่ฝั่งเศรษฐกิจด้านเดียวเท่านั้นที่หันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มคนเอเชียน-อเมริกัน เพราะในปี 2019 ที่ผ่านมา แอนดรูว์ หยาง (Andrew yang) ชายชาวเอเชียน-อเมริกัน ได้ประกาศว่าเขาจะลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2020 หลังจากนั้นเพียงข้ามคืนชื่อของเขาก็ได้อยู่ในหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับของเช้าวันต่อมา
“ผม แอนดรูว์ หยาง ผมลงสมัครรับเลือกเป็นประธานาธิบดีในนามพรรคเดโมแครต ปี 2020 เพราะผมกังวลต่ออนาคตของประเทศเรา เทคโนโลยี ทั้ง หุ่นยนต์ ซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ ส่งผลประทบต่อการจ้างงานไปแล้วกว่า 4 ล้านตำแหน่ง และในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ก็จะยิ่งส่งผลต่อการทำงานอีกหลายล้านตำแหน่ง 1 ใน 3 ของแรงงานชาวอเมริกันมีความเสี่ยงที่จะไม่มีการจ้างงานอย่างถาวร และเมื่อถึงเวลานั้น ก็จะไม่มีงานกลับมาให้ทำแล้ว”
ข้อความด้านบนเป็นการแนะนำตัวเองของ แอนดรูว์ หยาง ในย่อหน้าแรกของเว็บไซต์ yang2020 ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นช่องทางสื่อสารกับพลเมืองอเมริกัน ตั้งแต่ประวัติ นโยบาย และแคมเปญรณรงค์สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2020
นโยบายเด่นของ แอนดรูว์ หยาง มีแนวคิดเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่หัวก้าวหน้า และการประกันรายได้ขั้นต่ำ (Universal Basic Income หรือ UBI) ที่รัฐจะให้เงินเดือนกับประชาชนทุกคนโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในยุคที่ AI หรือเครื่องจักรอัตโนมัติกำลังจะเข้ามาทดแทนคนและทำให้คนตกงาน นโยบายประกันรายได้ขั้นต่ำของ Yang มีชื่อเรียกว่า Freedom Dividend โดยจะมอบเงินให้กับชาวอเมริกันทุกคน 1,000 ดอลลาร์ต่อเดือน
ข่าวทุกสำนักต่างลงความเห็นว่า แอนดรูว์ หยาง คือคนกลุ่มเอเชียน-อเมริกัน ที่จะมาเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของการเมืองอเมริกา และมีความน่าสนใจในมิติอื่นๆ เป็นอย่างมาก
88 rising ค่ายเพลงแห่งความหลากหลาย
88 rising ค่ายเพลงที่ผลิตเพลงติดหูคนทั้งโลกอย่าง Midsummer Madness และเป็นต้นสังกัดนักร้องมากความสามารถหลากเชื้อชาติ ในแบบเอเชียน -อเมริกัน ทั้ง Joji Rich Brian Hight Brother หรือ August08 เพราะจุดยืนของค่าย 88 rising คือการเป็นพื้นที่โปรโมทศิลปินเอเชีย
จุดเริ่มต้นของค่ายเพลงก่อตั้งขึ้นในปี 2015 โดยตั้งแต่แรกเริ่มค่ายนี้เน้นไปที่โปรโมทความสามารถของศิลปินเอเชีย โดยเป้าหมายคือ “เป็นกลุ่ม (Crew) ที่โดดเด่นที่สุด” ซึ่งในช่วงแรกนั้นเอง ค่ายก็ได้เน้นไปที่ศิลปินฮิปฮอปอย่าง แร็ปเปอร์อเมริกัน-เกาหลี Dumbfoundead หรือ แร็ปเปอร์เกาหลี Keith Ape
มิยาชิโน (Miyashino) ผู้ก่อตั้งค่ายเพลง 88 rising ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ matter.co ว่า เขาเริ่มต้นก่อตั้งค่ายจากการที่เห็นว่า มีศิลปินเอเชียที่มีความสามารถจำนวนมาก แต่ในวงการเพลงไม่ค่อยมีพื้นที่ในการโปรโมทศิลปินเอเชีย จึงทำให้เขาคิดว่าต้องสร้างแพลตฟอร์มตรงนี้ขึ้นมาเอง
“ผมสังเกตเห็นว่า มีศิลปินที่น่าทึ่งมากมายจากเอเชีย แต่ไม่มีแพลตฟอร์มระดับโลกสำหรับพวกเขา ผมรู้สึกว่า เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีพื้นที่ที่จะแสดงให้โลกได้เห็นว่า ชาวเอเชียก็มีความสามารถ และเท่เช่นกัน เราไม่เคยมีตัวแทนศิลปินแบบนี้มาก่อน”
โดยศิลปินส่วนใหญ่จะกลุ่มคนเอเชียน-อเมริกัน และชื่อ 88rising นี้ ก็มาจากเรื่องที่ว่า ตัวเลข ‘88’ ถือเป็นเลขนำโชคในหลายๆ วัฒนธรรมของเอเชีย และยังเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความสุข
โฆษณา